วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ประทุษร้ายสกุล

ภิกษุประทุษร้ายสกุล คือประจบคฤหัสถ์ สงฆ์ไล่เสียจากวัด กลับว่าติเตียนสงฆ์ ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละต้องสังฆาทิเสส.  
นิทานต้นบัญญัติ เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถึ ครั้งนั้น ภิกษุเลว ๆ ที่ชื่อว่าเป็นพวก พระอัสสชิ และ ปุนัพพสุกะ เป็นภิกษุเจ้าถิ่น อยู่ในชนบท ชื่อว่า กิฏาคิริ เป็นพระอลัชชี ภิกษุเหล่านั้นประพฤติอนาจารมีประการต่่างๆ เช่นการประจบคฤหัสถ์ ทำสิ่งต่างๆ ให้เขา เล่นซนต่างๆ      มีภิกษุรูปหนึ่ง จำพรรษาในแคว้นกาสี ผ่นมาพัก ณ ชนบทนั้น  เพื่อจะเดินทางไปกรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค  ภิกษุนั้นเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านด้วยอาการสำรวม  แต่มนูษย์ทั้งหลายไม่ชอบ เพราะไม่แสดงอาการประจบประแจง  เหมือนภิกษุพวกอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จึงไม่ถวายอาหาร  แต่อุบาสกผู้หนึ่ง( เป็นผู้เข้าใจพระธรรมวินัยถูกต้อง ) เห็นเข้าจึงนิมนต์ภิกษุรูปนั้นไปฉันที่บ้านของตน  สั่งความให้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ภิกษุพวกอัสสชิและพระปนัพพสุกะ ประพฤติตนไม่สมควรต่างๆ     ความทราบถึงพระพุทธเจ้า ทรงตำหนิ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท มีใจความว่า ภิกษุประทุษร้ายสกุล (ประจบคฤหัสถ์ ทอดตนลงให้เขาใช้ ) มีความประพฤติเลวทราม เป็นที่รู้เห็นทั่วไป ภิกษุทั้งหลายพึงว่่ากล่าวและขับเสียจากที่นั้น ถ้าเธอกลับว่าติเตียน ภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศ (เป็นการสงฆ์ ) ให้เธอละเลิกเสีย ถ้าสวดครบ ๓ ครั้ง ยังดื้อดึง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
อธิบาย ประทุษร้ายสกุล คำนี้ว่า ประทุษร้ายสกุล  นี้  หมายความว่า  เป็นผูประจบเขาด้วยกิริยาทำตนอย่างคฤหัสถ์  ยอมตนให้เขาใช้สอย  หรือด้วยอาการเอาเปรียบโดยเชิงใก้สิ่งของเล็กน้อยด้วยหวังได้มาก ทำอย่างนี้เรียกว่าประทุษร้ายสกุล เพราะทำให้เขาเสียศรัทธาเลื่อมใสอันเป็นมูลเหตุแห่งกุศลสมบัติ.    วินัยมุข เล่ม ๑ ฉบับมาตรฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น