วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555

ข้าวมันไก่

ส่วนประกอบ
ไก่ทำแล้ว  ๑/๒ ตัว   ข้าวสาร(หอมมะลิ) ๒ ถ้วย   เกลือป่น  ๑ ช้อนชา    กระเทียมสับ ๑ หัว   น้ำต้มกระดูกไก่ ๒ ถ้วย   มันไก้สับ ๒ ช้อนโต๊ะ   แตงกวา ๒ ผล   ผักชีหั่นหยาบ
วิธีทำ
๑. นำหม้อใส่น้ำต้มไก่พอเดือด เบาไฟให้อ่อน เคี่ยวต่อไปเรื่อยๆ ประมาณ ๒๐ นาที เอาไก่ออกแขวน
๒. นำกระทะขึ้นตั้งบนเตา ใส่มันไก่ลงเจียว พอหอม ใส่ข้าวสารลงผัดด้วยกันและใส่เกลือป่น
๓. นำข้าวสารที่ผัดกับมันไก่และกระเทียมไปหุงในหม้อหุงข้าวกะให้พอดี ปิดฝาหม้อ
ส่วนประกอบน้ำจิ้ม
เต้าเจี้ยวสับละเอียด ๒ ช้อนโต๊ะ  พริกขี้หนูสับละเอียด ๑ช้อนโต๊ะ  ขิงแก่สับละเอียด ๑ ช้อนโต๊ะ  น้ำตาล ๑/๒ ช้อนโต๊ะ  น้ำส้มสายชู ๑/๒ ช้อนโต๊ะ 
วิธีทำ
นำส่วนผสมทั้งหมดผสมกันคนให้ทั่ว ปรุงรสตามชอบใจ
การจัดรับประทาน
ตักข้าวมันไก่ใส่จาน นำไก่มาสับเป็นชิ้น เอาเฉพาะเนื้อไก่วางลงบนข้าว หั่นแตงกวาวางไว้ด้านบนของจาน โรยหน้าด้วยผักชี ส่วนน้ำจิ้มข้ามมันไก่ตักใส่ถ้วยเล็กๆ รับประทานพร้อมกัน
ข้าวต้มปลาหมึก
ส่วนประกอบ  ข้าวสาร ๒ ถ้วย   ปลาหมึกสดตัวเล็ก ๔ ขีด  เนื้อหมู ๒ ขีด  กระเทียมเจียว ๑ ถ้วย  กระเทียม  พริกไทย  ต้นหอม ผักชี ตั่งฉ่าย  รากผักชี  พริกไทยป่น น้ำปลา
วิธีทำ
๑. ซาวข้าวสารล้างให้สะอาด นำไปหุงให้สุก
๒. ลอกหนังปลาหมึก ล้างให้สะอาด ใส่จานไว้
๓. เนื้อหมูล้าง สับให้ละเอียด
๔. โขลกรากผักชี กระเทียม พริกไทยให้ละเอียด นำไปคลุกเคล้ากับเนื้อหมูสับละเอียด ผสมน้ำปลาใส่ไปในตัวปลาหมึก
๕. นำหม้อใส่น้ำต้มให้เดือด ใส่ปลาหมึกยัดไส้ต้มให้สุก เติมน้ำปลา ตักข้าวที่หุงสุกแล้วใส่คนให้เข้ากัน เดือดแล้วยกลง
๖. ตักข้าวต้มใส่ชาม โรยต้นหอม ผักชี ตังฉ่าย กระเทียมเจียว พริกไทยป่น
ระเบียบปฏิบัติการถวายเทียนชนวนแก่พระเถระผู้ใหญ่
การเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้  พระภิษุหรือฆราวาส ผู้เป็นพิธีกร ทำหน้าที่ถวายเทียนชนวนแก่พระเถระผู้ใหญ่ ผู้เป็นประธานพิธีงานนั้น เบื้องต้นจะต้องเตรียมจัดหาอุปกรณ์เครื่องใช้ไว้ให้พรักพร้อม คือ
๑. เชิงเทียนขนาดกลาง ๑ ที่( ควรเป็นเชิงเทียนทองเหลืองเพราะติดเทียนได้มั่นคงดี)
๒. เทียนขี้ผึ้งขนาดใหญ่พอสมควร ๑ เล่ม (ควรหาเทียนที่มีใส้ใหญ๋ ๆ เพื่อไม่ดับง่าย)
๓. น้ำมันยาง หรือน้ำมันก๊าด หรือน้ำมันเบนซิน พร้อมทั้งสำลีสำหรับใช้เป็นชนวนติดไว้ที่ธูป และเทียนที่บูชา เพื่อสะดวกแก่การจุดไฟติดได้เร็ว
วิธีการถือเชิงเทียนชนวน  การถือเชิงเทียนชนวนถวายพระเถระผู้ใหญ่ ผู้เป็นประธานพิธีทั้งหลาย  นิยมถือด้วยมือขวา โดยหงายฝ่ามือนิ้วมือทั้ง ๔ นื้ว รองรับเชิงเทียน หังแม่มือจับอยู่เบื้องบนของเชิงเทียน  ไม่นิยมจับกึ่งกลางของเชิงเทียน เพราะทำให้ผู้ใหญ่รับเชิงเทียนไม่สะดวก หรือทำให้ผูใหญ่บางท่านต้องเสียภูมิ เพราะจับเชิงเทียนภายใต้มือของผู้ส่งให้ แสดงว่าไม่ทราบระเบียบ
วิธีการถวายเชิงเทียน   เมื่อถึงเวลาตามกำหนดแล้ว  พิธีกรจุดเทียนชนวนถือด้วยมือขวา ( มือซ้ายควรถือไม้ขีดไฟ ติดมือไปด้วย เมื่อเทียนชนวนดับจะได้จุดได้ทันท่วงที) เดินเข้าไปหาท่านโดยน้อมตัวลงเล็กน้อย หรือ  เมื่อพิธีกรณ์เริ่มจุดเทียนชนวน พระเถระผู้เป็นประธานพิธีท่านเห็นแล้วลุกจากที่นั่ง เดินไปที่โต๊ะหมู่บูชาเอง ก็เดินตามหลังท่านไป  โดยเดินตามไปทางด้านซ้ายมือของท่าน  เมื่อท่านหยุดยืน  หรือนั่งคุกเข่าที่หน้าบูชาแล้ว พิธีกรนั่งคุกเข่า หรือนั่งชันเข่า ทาวด้านซ้ายมือของท่าน ยื่นมือขวาส่งเทียนชนวนถวายท่าน ส่วนมือซ้ายห้อยอยู่ข้างตัว  เมื่อถวายเทียนชนวนแล้ว  นิยมถอยหลังออกมาให้ห่างจากท่านพอสมควร  เพื่อไม่ขัดขวางทางการถ่ายรูปของช่างภาพ  โดยถอยออกมานั่งคุกเข่า  หรือนั่งชันเข่าตามควรแก่กรณี
วิธีการรับเทียนชนวนจากพระเถระผู้ใหญ่   เมื่อท่านจุดเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว  พิธีกรพึงเข้าไปทางด้านซ้ายมือของท่าน  นั่งคุกเข่า  หรือนั่งชันเข่าอย่างใดอย่างหนึ่ง  คือถ้าท่านนั่งจุด  ก็นั่งคุกเข่ารับเทียนชนวน  ถ้าท่านยืนจุดก็นั่งชันเข่ารับเทียนชนวน   การรับเทียนชนวนจากมือของพระเถระผู้ใหญ่นั้น  นิยมยื่นมือขวาแบมือเข้าไปรองรับเชิงเทียนจากท่าน  เมื่อรับแล้วก็ถอยหลังห่างออกไปเล็กน้อย  แล้วเดินกลับไปได้
ข้อควรสังวรระวัง    อย่าจับเชิงเทียนชนวนเหนือมือพระเถระผู้ใหญ่ที่ท่านจับอยู่  ถือว่าเป็นการแสดงความไม่เคารพท่าน     ขณะส่งเชิงเทียนชนวนถวาย  อย่าถือกึ่งกลางเชิงเทียนชนวนส่งให้ท่าน  เพราะทำให้ท่านรับเชิงเทียนชนวนไม่สะดวก    ต้องเตรียมไม้ขีดไฟ  เป็นต้น  ติดมือไปด้วย  สำหรับจุดได้ทันทีเมื่อเทียนชนวนดับ   ต้องกำหนดดูทิศทางของลมที่พัดมา  โดยเฉพาะคือทิศทางลมที่เกิดจากลมพัด  จะทำให้เทียนชนวนดับ  หรือจะทำให้การจุด  เครื่องสักการะบูชาไม่ติด   ถ้าเป็นงานมงคลมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ถึงมงคลสูตร ( อเสวนา ) พิธีกรจะต้องจุดเทียนชนวนเข้าไปถวายพระเถระผู้ใหญ่ ผู้เป็นประธานพิธีอีกครั้งหนึ่ง  โดยมีวิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว
(จากหนังสือ ระเบียบปฏิบัติของพระสงฆ์ไทย  พระธรรมวโรดม บุญมา คุณสมฺปนฺโน ป.ธ. ๙ )
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น