วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

การรักษาของสงฆ์

พระภิกษุผู้ได้รับมอบหมายให้เข้าอยู่อาศัยประจำกุฏิหลังใด  ห้องใด  ภายในกุฏินั้น  มีถาวรวัตถุของสงฆ์อยู่เท่าใด  นิยมรักษาถาวรวัตถุของสงฆืนั้น ๆ ให้คงมีอยู่  เท่าเดิม  หรือหามาเพิ่มให้มีมากขึ้น
ไม่นิยมนำถาวรวัตถุของสงฆ์นั้นเคลื่อนย้ายไปที่อื่น  ก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาส  หรือหัวหน้าหมู่คณะที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาส
นิยมบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุของสงฆ์นั้นที่ชำรุดอยู่ก่อนแล้ว  หรือเกิดชำรุดขึ้นในภายหลัง  ให้กลับมีสภาพดีอย่างเดิม  หรือดีกว่าเดิม
นิยมบอกขออนุญาตเจ้าอาวาสก่อนที่จะทำการก่อสร้างเพิ่มเติม  ขยายกุฏิที่อยู่นั้นทั้งภายในและภายนอก  ไม่นิยมทำก่อนแล้วจึงแจ้งให้ทราบภายหลัง
ไม่นิยมทำกุฏิที่อยู่อาศัยนั้นให้เกิดความเสียหาย  เช่น ตอกตะปูฝาผนังโดยไม่จำเป็น  หรือทำลายจิตรกรรมฝาผนังให้เสียหายเป็นต้น
เมื่อจะย้ายออกไปจากกุฏินั้น  นิยมไม่นำเคลื่อนย้ายเอาถาวรวัตถุของสงฆ์ไปเป็นสมบัติของตน  เพราะผิดพระวินัย  และไม่นิยมรื่อถอนถาวรวัตถุที่ตนก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นภายหลัง  เพราะการทำเช่นนั้นเป็นลักษณะของคนเห็นแก่ตัวไม่มีความเสียสละ  ไม่เห็นแก่ส่วนรวม  คนประเภทนี้เอาดีได้ยาก
การรักษาความสะอาด  พระภิกษุผู้ไดรับหมอบหมายให้อยู่กุฏิใด  นิยมไม่นิ่งดูดาย  หมั่นรักษากุฏินั้นทั้งภายในกุฏิ  ภายใต้กุฏิ  และบริเวณรอบนอกกุฏิ  ให้สะอาดหมดจดเรียบร้อยอยู่เสมอ
ไม่นิยมสะสมเชื้อเพลิงไว้ภายในกุฏิ  ทำให้สกปรกรุงรัง  คล้ายบ้านตาแก่  ยายแก่  เป้นการทำลายความเป้นระเบียบร้อยของส่วนรวม  และเป็นบ่อเกิดแห่งอัคคีภัยอีกด้วย
ภานในกุฏิที่อยู่อาศัย  นิยมจัดตั้งเสนาสนะและสมณบริขารเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ไว้เป็นสัดส่วน  เป้นพวก  เป้นหมู่  แบบหยิบก็ง่าย  หายก็รู้  ดูก็งามตา
ภายในห้องนอน  ไม่นิยมใช้เป้นโรงครัวสำหรับเก็บอาหาร  จำพวกเครื่องกระป๋อง  เพราะผิดวินัย
การบูรณะปฏิสังขรณ์  นิยมขวนขวายในการบูรณะปฏิสังขรณ์ในเมื่อกุฏิที่อยู่อาศัยนั้น  เกิดความชำรุดทรุดโทรม  ไม่นิยมนื่งดูดาย  โดยถือว่าธุระไม่ใช่  ไม่นิยมเป้นแต่ผู้อาศัยกุฏิอยู่ฝ่ายเดียว  ควรให้กุฏิได้อาศัยตนอยู่บ้าง
หากประสงค์จะปรับปรุงกุฏิที่อยู่อาศัยนั้นด้วยการกะเทาะปูนเก่าออกถือปูนใหม่ก็ดี  ด้วยการทาสีใหม่ก็ดี  นิยมบอกขออนุญาติ  เจ้าอาวาสเสียก่อนดำเนินการ
การบูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิที่อยู่อาศัย  นิยมรักษาทรวดทรงไว้ตามเดิม  ไม่นิยมเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเดิม  เพราะสถานที่วัดเป็นเรื่องของส่วนรวม  จะทำอะไรต้องได้รับความเห็นชอบของคนหลายฝ่ายด้วยกัน
การรักษาสุขภาพทางกาย  นิยมผลัดเปลี่ยนอริยาบถ  ๔  คือ นั่ง นอน เดิน ยืน  ในรอบ  ๒๔ ชั่วโมงของวันและคืนหนึ่ง ๆ  ให้เป็นไปพอสมดุลกันพอทัดเทียมกัน  จะเป็นเหตุทำให้สังขารร่างกายไม่ทรุดโทรมเร็ว ไม่แก่เร็ว ไม่เป้นบ่อเกิดแห่งโรคภัยไข้เจ็บและไม่ตายเร็ว  นิยมคอยระวังไม่นั่งรับแขกมากเกินไป  หรือนอนพักผ่อนมากเกินไป
เมื่อมีอายุล่วงกาลผ่านวันไปถึงปัจฉิมวัยแล้ว  จะทำกิจการใด ๆ  ที่ต้องใช้กำลังกาย  นิยมมีความกตัญญูต่อสังขารอยู่เสมอ  อย่าเข้าใจผิดคิดว่า  ร่างกายของเราวันนี้  ยังคงมีสมรรถภาพดีเหมือนเมื่อวานนี้
ทุกเวลาเช้า  นิยมออกกายบริหาร  ด้วยการเดินออกกำลังกาย เช่น ออกบิณฑบาต  เป็นต้น
นิยมเรื่องอาหารการบริโภค  สิ่งใดจะเกิดโทษแก่ร่างกายแม้จะมีรสอร่อยถูกปาก  ก็นิยมงดเว้นสิ่งนั้นเสีย  เห็นแก่สุขภาพของตัว
ไม่นิยมฉันภัตตาหารจนเกินความพอดี  เมื่อรู้สึกตัวว่า  อีกสัก  ๔-๕ คำจะอิ่มนิยมงดเสีย  แล้วฉันน้ำแทน  จะทำให้ร่างกายไม่ถูกถีนมิทธะเข้าครอบงำ  ไม่ง่วงเหงาหาวนอน  ร่างกายไม่อ่อนเพลีย
นิยมระวังการเข้าและการออกของอาหาร ถ้าเข้ามาก  แต่ออกน้อย  หรือถ้าเข้าน้อยแต่ออกมาก  นิยมรีบแก้ไขทันที  ขืนปล่อยไว้ชาตาใกล้จะถึงฆาต  ขืนประมาทไม่ได้แล้ว
การรักษาสุขภาพทางจิตใจ  นิยมหาโอกาสเจริญสมถภาวนา  หรือวิปัสสนาภาวนา  เพื่ออบรมจิตใจให้ปลอดโปร่งแช่มชื่น  และบรรเทาความโลภ  ความโกรธ และความหลงให้เบาบางลง  ตามโอกาสที่จะอำนวยให้ทำได้
นิยมหาเวลาว่างจากภารกิจการงาน  ออกไปจากวัดที่ต้องรับผิดชอบเสียบ้าง  เป็นครั้งคราว  ทุก ๑๕ วัน หรือทุกเดือน จะทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์
นิยมหางานอดิเรกที่ชอบทำบ้าง  เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนอารมณ์  และเพื่อลดความตึงเครียดอันเกิดจากภาระหน้าที่การงานที่ทำอยู่ประจำ
นิยมสร้างเมตตากรุณาธรรม  ความดี ความปรารถนาดี  ความปราณี เอื้อเฝื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น  เป็นธรรมประจำจิตใจ จะทำให้สุขภาพจิตของตนดีมากยิ่ง ๆขึ้น
นิยมลดอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในสัตว์และสังขารธรรมทั้งหลาย  ให้ลดเหลือน้อยลงไป  ตามวัยแห่งอายุสังขารที่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
วิธีการนุ่งสบง  นิยมนุ่งสบงเป็นปริมณฑล  คือชายข้างบนปิดสะดือ  แต่ไม่นิยมนุ่งสูงถึงกระโจมอก  ชายข้างล่างประมาณครึ่งแข้ง  แต่ไม่นิยมนุ่งต่ำ  ถึงกรอมส้นเท้า  และไม่นิยมนุ่งยกสูงขึ้นเลยหัวเข่า
ไม่นิยมนุ่งสบงใต้สะดือ  ปล่อยพุงป่องเป็นนักเลง  ไม่นิยมทำพกให้ใหญ่คล้ายคนลงพุง  หรือคล้ายหญิงมีครรภ์
นิยมนุ่งสบงให้ชายด้านหน้า  กับชายด้านหลังเสมอกันและนิยมใช้ผ้าสบงสีเดียวกับจีวรรวมถึงอังสะด้วย  ก็นิยมสีเดียวกันกับสบงจีวร
วิธีการห่มจีวร   นิยมห่มจีวรเป็นปริมณฑล  คือ ห่มลดไหล่  ชายจีวรข้างบนคลุมไหล่ซ้าย  เปิดไหล่ขวา  ถ้าห่มคลุม  ชายจีวรข้างบนปิดหลุมคอทั้งสอง  ชายข้างล่างต่ำกว่าชายสบง  แต่ไม่นิยมต่ำหรือกรอมส้นเท้า
นิยมห่มจีวรสีเดียวกับสบง  และนิยมห่มเรียบร้อย  ไม่รุ่มร่าม  ไม่เล้อยหน้า เลื้อยหลัง  หรือถลกสูงขึ้นมา  ไม่นิยมถลกจีวรขึ้นพาดบ่า  หรือยกขึ้นคลุมศรีษะ  ขณะนั่งหรือเดิน
ไม่นิยมห่มจีวรแบบจัดกลีบคล้ายกับกระโปรงสตรี  หรือห่มจีวรม้วนจนแน่นรัดตัวมากเกินไป  เป้นเหตุทำให้จีวรแตกตะเข็บขาดเร็วและไม่น่าเลื่อมใส
ถ้าห่มจีวรพาดผ้าสังฆาฏิ นิยมทั้งสบง จีวร และผ้าสังฆาฏิเป็นสีเดียวกันทั้งสามผืน
นิยมใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มสะอาดหมดจด  ไม่ด่าง ไม่ดำ ไม่สกปรก ไม่เหม็นสาบ และไม่หอมกรุ่นด้วยน้ำอบ น้ำปรุง เพราะผิดวิสัยของสมณะ
วิธีการอุ้มบาตร  นิยมอุ้มบาตรประคองด้วยมือทั้งสองให้บาตรอยู่ระดับท้องสูงกว่าประคตเอวขึ้นมา  แต่ไม่นิยมอุ้มชูสูงขึ้นมาจนถึงอก  และนิยมถือบาตรภายในจีวร  โดยดึงริมจีวรด้านขวามือมาปิดบาตร นำออกมาเฉพาะเมื่อจะรับบิณฑบาตรเท่านั้น
ขณะรับบิณฑบาตร  นิยมยืนตรง  ห่างจากผู้ใส่บาตรประมาณ ๑ ก้าว มือซ้ายรองรับบาตร  มือขวาแหวกริมจีวรออกและเปิดฝาบาตรแล้วประคองฝาบาตรเข้ากับข้างบาตร
วิธีการสะพายบาตร  นิยมสะพายให้บาตรห้อยอยู่ข้างตัว  ด้านขวา  มือขวาคอยประคองบาตรไว้ไม่ให้ส่ายไปส่ายมาขณะเดิน
ไม่นิยมไพล่บาตรมาข้างหน้า  เพราะจะทำให้เดินไม่สะดวก และไม่นิยมไพล่บาตรไปข้างหลัง เพราะจะทำให้คล้ายคนหลังโกง
ขณะรับบิณฑบาตร  นิยมยืนตรงห่างจากผู้ใส่บาตรประมาณ ๑ ก้าว มือซ้ายช่วยยกชายจีวรขึ้นแล้วจับสายโยกบาตรไว้  มือขวาเปิดฝาบาตรออกแล้วประคองฝาบาตรเข้ากับข้างบาตร
วิธีการรับบิณฑบาต  นิยมประคองบาตรด้วยมือทั้งสองยื่นออกไปเล็กน้อย ตาทอดมองดูในบาตร  สำรวมจิตพิจารณาด้วยธาตุปฏิกูลปัจจเวกขณปาฐะว่า ( ยถา ปจฺจยํ ปวตฺตมานํ ธาตุมตฺตเมเวตํ ยทิทํ ปิณฺฑปาโต   ฯเปฯ ) จนจบบท  ไม่ส่งใจไปอื่น  ไม่แสดงกิริยาอาการรีบร้อนจะจากไป
ไม่นิยมมองหน้าผู้ใส่บาตร  หรือชวนผูใส่บาตรสนทนาขณะที่กำลังบิณฑบาต  ถ้าผู้ใส่บาตรเตรียมดอกไม้ ธูปเทียน ไว้ถวายด้วย  เมื่อรับบิณฑบาตแล้ว  ผู้ใส่บาตรนั้น  ถ้าเป็นสุภาพสตรีนิยมปิดฝาบาตรแล้วยื่นบาตรเข้าไปรับ  ให้เขาวางถวายบนฝาบาตร ถ้าเป็นสุภาพบุรุษ นิยมรับด้วยมือโดยตรง
เมื่อรับบิณฑบาตเสร็จแล้ว  นิยมถอยหลังออกห่าง ๑ ก้าว แล้วยืนตรง ขณะที่ผู้ใส่บาตรยกมือไหว้ นิยมตั้งจิตอธิษฐานให้พรว่า " เอวํ  โหตุ  ขอจงสำเร็จตามที่ปรารถนาเถิด " หรืออธิษฐานว่า ขอจงมีความสุข ความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปเถิด ดังนี้เป็นต้น  แล้วจึงเดินจากไป
นิยมรับอาหารบิณฑบาตไปตามลำดับผู้รอคอยใส่บาตรและนิยมเข้ารับบิณฑบาตรตามลำดับของพระภิกษุสามเณรที่มาถึงก่อนและหลัง ไม่นิยมลัดคิวตัดหน้าพระภิกษุสามเณรอื่นที่มารออยู่ก่อน
ขณะเดินไปบิณฑบาตร  นิยมมีสมณสารูป สำรวมกิริยาเรียบร้อย  สำรวมกาย สำรวมตา สำรวมปาก ไม่เดินเร็ว หรือเชื่องช้าเกินไป ไม่เหลียวซ้ายแลขวา ล่อกแล่ก ไม่เที่ยวทักคนนี้คนนั้น  อันแสดงถึงความไม่สำรวม หรือไม่นิยมเดินพูดคุยกันระหว่างพระภิกษุสามเณรด้วยกัน
การพาดผ้าสังฆาฏิ ขณะไปในกิจนิมนต์ต่าง ๆ นิยมพับผ้าสังฆาฏิกึ่งกลางเป็นสองทบแล้ววางพาดไว้ที่ไหล่ซ้าย  เอาชายสังฆาฏิไว้ข้างหน้า  ประมาณให้ผ้าสังฆาฏิห้อยลงเสมอกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ขณะร่วมพิธีต่าง ๆ  ถ้าห่มจีวรจีบ  คาดประคตอก  นิยมพาดผ้าสังฆาฏิให้ชายผ้าสังฆาฏิเท่ากับชายจีบของจีวร  ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ถ้าห่มจีวรม้วนลูกบวบ  นิยมพาดผ้าสังฆาฏิให้ชายด้านหน้าและด้านหลังห้อยลงเท่ากัน
(ระเบียบปฏิบัติขอพระสงฆ์ โดยพระธรรมวโรดม บุญมา คุณสมฺปนฺโน ป.ธ. ๙ )
น้ำมะตูม
การเตรียม 
๑. มะตูมแห้ง  ๔-๕ ชิ้น  ล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งทิ้งไว้
๒. น้ำตาลทราย  พอสมควร
๓. เกลือป่น         เล็กน้อย
๔. น้ำสะอาด       ๒ ลิตร
วิธีทำ
๑. นำน้ำตั้งไฟจนเดือด  ใส่มะตูมแห้งที่เตรียมไว้ลงไป
๒. ตั้งทิ้งไว้สักครู่จนน้ำมะตูมออกเป็นสีน้ำตาล
๓. เติมน้ำตาลทราย และเกลือป่นเล็กน้อย ชิมรสหวานตามชอบ
๔. ใช้ดื่มในขณะที่ร้อนหรือใส่น้ำแข็งก็ได้ แต่ถ้าใส่น้ำแข็งให้ใส่น้ำตาลออกรสหวานมากสักหน่อย
( จากหนังสือเครื่องดื่มสมุนไพร รดา พรรณราย )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น