วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทำบุญตักบาตร

เรื่องของการทำบุญตักบาตรพระนั้นตามธรรมเนียมที่ถูกต้อง  ที่ทำแล้วได้บุญกุศลจริง ๆ ก็คือ  การเลือกสรรอาหารหรือการดูแลอาหารที่ดีสักหน่อย  ตามคำในพระไตรปิฏกที่เคยมีกล่าวไว้ถึงเรื่องการตักบาตรว่า  ถ้าเรากิรอย่างไรเราก็ใส่อย่างนั้น  หรือเรากินอย่างไรตักบาตรพระให้ดีกว่านั้น  มิใช่ว่าเรากินอย่างไรแล้วทำบุญทำทานในสิ่งที่แย่กว่าที่เรากินอยู่หรือเป็นอยู่
ควรจะจัดเตรียมดูแลเรื่องอาหารให้ดี  ถ้าทำอาหารเองที่บ้านก็ต้องเลือกคัดสรรผักที่สะอาดสวยงามไม่ใช่ผักเก่า ๆ เหี่ยว ๆ เลือกเนื้อสัตว์ที่ดี  ไม่ใช่เนื้อสัตว์ที่ใกล้หมดอายุแล้ว  ปรุงอาหารด้วยความสะอาด  ปรุงอาหารให้สุกและร้อน ๆ จัดเตรียมให้เรียบร้อยทั้งของหวานและคาว  ควรมีผลไม้หรือขนมหวานด้วย  แต่ถ้าไม่สะดวกในการทำกับข้าวเอง  การที่จะออกไปซื้อที่ตลาดก็สะดวกดี  แต่ควรจะเลือกอาหารด้วย  ไม่ใช่เห็นเขาเตรียมใส่ถาดให้เราอย่างไร  เราก็ซื้อใส่บาตรไปอย่างนั้น  การเลือกสรรสักนิดก็เป็นการทำบุญอันประณีต  ผลบุญที่ได้ย่อมประณีตไปด้วย  อย่าถือเอาแต่ความง่ายและความสะดวกเป็นสำคัญเลย
แม่ค้าที่ทำอาหารสำหรับตักบาตรเจ้านั้นก็มีความพิถีพิถัน  รู้จักที่จะเปลี่ยนกับข้าว  เปลี่ยนเมนูต่าง ๆ ในแต่ละวัน  แต่บางเจ้าก็เอาง่ายเข้าว่าเช่น  ถ้ามีกับข้าวเมนูนี้ก็มีอยู่ทุกวัน  ลองคิดดูสิว่าเป็นตัวเรา  เรายังจะเบื่อกับข้าวซ้ำ ๆ พระท่านก็ต้องเบื่อเช่นกัน  พยายามเลือกสรรอาหารเมนูใหม่ ๆ กับข้าวที่น่ากินไปถวาย  และทำบุญพระสงฆ์บ้าง  ทีตัวเรายังเลือกกินได้แต่ไฉนเวลาตักบาตรจึงหยิบอะไรก็ได้ตักบาตรให้พระท่านไปเช่นนั้น  ที่จริงแล้วการทำบุญน่าจะประณีตกว่าการเลือกสรรของให้ตนเองด้วยซ้ำ
อย่าลืมเรื่องของดอกไม้ธูปเทียนควรจะมีถวาย
เรื่องของการถวายน้ำเปล่านี่ก็เป็นเรื่องสำคัญ  บางคนคิดว่าหากตักบาตรแล้วไม่ถวายน้ำเปล่าสักหนึ่งขวด  จะเป็นเรื่องผิดบาปกลัวว่าเราตายไปแล้วจะต้องเป็นวิญญานหิวโหยกระหายน้ำ  ที่จริงแล้วการถวายน้ำพระสงฆ์นั้นก็เป็นสิ่งที่ควร  แต่การถวายน้ำคนละขวด ๆ นั้นพระท่านก็จะเป็นภาระตต้องหิ้วน้ำอันหนักอึ้งกลับวัดเป็นสิบ ๆขวด  เพราะพระสงฆ์บางรูปไม่ได้มีลูกศิษย์ลูกหาคอยเดินหิ้วของให้ตามหลัง  ดังนั้นเราควรจะพิจารณาให้ดี  ถ้าเราตักบาตรนอกบ้าน  ตักบาตรที่ตลาดยามเช้าไม่จำเป็นจะต้องถวายน้ำขวดท่านทุกครั้ง  ถ้าพระสงฆ์บางรูปท่านมารูปเดียว  จะต้องหิ้วน้ำขวดเป็นสิบ ๆ ขวดกลับวัดก็คงลำบากกระไรอยู่  อย่าคิดแต่ว่าจะห่วงแต่บุญกุศลที่ตนจะได้  เราต้องทำบุญเพื่อให้ได้กุศลด้วยจิตอันบริสุทธิ์  และมิคาดหวังผลบุญอย่างนั้นถึงจะได้กุศล  อย่าคิดแต่ว่าจะต้องตักบาตรด้วยน้ำ  ถ้าไม่ใส่แล้วเดี๋ยวเราจะเป็นวิญญานที่อดน้ำ  นั้นแสดงว่าเราทำบุญด้วยการเห็นแก่ตัว  เพราะคิดถึงแต่ตัวเราเป้นสำคัญ  ทำบุญอย่างนี้ย่อมไม่ได้มหากุศลกลับคืนมาแน่แท้  แต่จะไ้บุญแค่ความอิ่มเอิบใจ  ได้ความพองฟูในหัวใจเท่านั้น  สรุปแล้วเรื่องของน้ำนี่สามารถถวายน้ำได้แต่ขอให้ดูความเหมาะสมบางสถานการณ์เป็นสำคัญ  ถ้าพระสงฆ์ท่านเดินมาคนเดียวไม่มีลูกศิษย์ก็ไม่จำเป็นต้องใส่น้ำขวดด้วยทุกครั้ง  นอกจากเรื่องของการถวายน้ำเปล่าเป้นขวด ๆแล้ว  เราสามารถที่จะลองไปหาซื้อน้ำผลไม้หรือนมกล่องถวายตักบาตรให้ท่านบ้างก็ได้
ส่วนเรื่องการปฏิบัติตนในขณะตักบาตร  ถ้าสามารถสะดวกก็ให้ถอดรองเท้าแล้วเหยียบบนรองเท้าของเราก็ได้ถ้าพื้นตรงนั้นมันสกปรกมาก  แต่บางคนสวมถุงเท้ารองเท้าเรียบร้อย  ในกรณีผุ้ชายที่เตรียมจะไปทำงานหรือบางคนอาจจะใส่ถุงเท้ารองเท้าผ้าใบ  ถ้าไม่สะดวกจะถอดก็ไม่เป็นไร  ถ้าสะดวกจะถอดก็สามารถจะถอดรองเท้าแล้วยืนด้วยเท้าเปล่าเหยียบบนรองเท้าของเราอีกทีหนึ่งก็ได้
การจะตักบาตรให้ถูกธรรมเนียมพิธีของไทยแต่โบราณนั้นจะต้องกล่าวคาถาคำตักบาตรพระในใจไปด้วย
พระคาถาขณะตักบาตรพระ
" อิทัง  ทานัง  สีละวัน  ตานัง  ภิกขุนัง  นิยาเทมิ  สุทินนัง  วะตะ  เม  ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง  นิพานะปัจจโย  โหตุ "
คำแปล   ข้าพเจ้า  ขอน้อมถวายของตักบาตรเหล่านี้  แด่พระสงฆ์  ผู้มีศีลทั้งหลาย  ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้  จงเป็นปัจจัย  ให้ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ
เมื่อตักบาตรแล้วกลับมาที่บ้านให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล  ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรหรือญาติที่ล่วงลับไปแล้ว  เพื่อเป็นการแบ่งปันอุทิศส่วนกุศลด้วยไม่ใช่เก็บบุญไว้เป็นของตนไว้เพียงผุ้เดียว
แลธรรมเนียมการตักบาตรพระนั้นควรจะใส่บ่อย ๆ เป็นประจำสม่ำเสมอ  บางคนสะดวกที่จะตักบาตรพระทุกเช้าได้ก็เป็นบุญกุศลอันดีแก่ตนหรืออาจจะเลือกตักบาตรเฉพาะทุกวันพระ  หรือทุกวันเกิดตน  เช่น เกิดวันจันทร์ ก็ตักบาตรทุกวันจันทร์ก็ได้  หรือไม่ต้องถือวาระโอกาสใด  สะดวกเมื่อไรก็ตักบาตรอาทิตย์ละ ๓-๔ ครั้งได้จะยิ่งเป็นการสั่งสมบุญกุศลที่ดี
คำถวายดอกไม้ธูปเทียนเพื่อบูชา
อิมานิ  มะยัง  ภันเต  ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ  ระตะนัตตะยัสเสวะ  อะภิปูเชมะ  อัมหากัง  ระตะนัตยัสสะ  ปูชา  ทีฆะรัตตัง  หิตะสุขาวะหา  โหตุ  อาสะวักขะยัปปัตติยา
คำแปล
ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลายผู้เจริญข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาธูปเทียนและดอกไม้อันประเสริฐเหล่านี้  แก่พระรัตนตรัย  กิริยาที่บูชาแก่พระรัตนตรัยนี้จงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนาน  จงเป้นไปเพื่อให้ถึงซึ่งพระนิพพาน  เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะกิเลส  เทอญ ฯ
บุญ  คือเครื่องชำระล้างจิตใจให้สะอาด  เกิดจากการกระทำความดี  หากผู้ใดปรารถนาที่จะได้บุญแล้วละก็  จักต้องเร่งสร้างบุญ  สร้างกุศลเสียตั้งแต่ตอนนี้  เพื่อกักเก็บเป้นเสบียงแห่งความดี  เป็นเกราะป้องกันเหตุเภทภัยให้แคล้วคลาด
ข้าวผัดสับปะรด ข้าวผัดสับปะรด ข้าวผัดสับปะรด
ส่วนประกอบ
ข้าวสวย ๑ ถ้วย           สับปะรด ๑/๒ ถ้วย     หมูสับ ๑/๒      ลูกเกด ๑ ช้อนโต๊ะ   ต้นหอมซอย ๒ ช้อนโต๊ะ  ซีอิ๊วขาว  ๒ ช้อนโต๊ะ  น้ำตาลทราย  ๑ ช้อนชา   น้ำมันพืช    ซอสหอย ๑ ช้อนโต๊ะ   เมล็ดมะม่วงหิมพานต์  หรือถั่วชนิดต่าง ๆ ๒ ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
๑.  นำกระทะตั้งไฟใส่น้ำมันลงไป  พอร้อนแล้วจึงค่อยใส่หมูสับลงไป ผัดให้หมูสุก
๒.  พอหมูสุกจึงค่อยปรุงรสด้วยซอสหอย  ซีอิ๊วขาว  น้ำตาลทรายขาว  ผัดอีกครั้งให้เข้ากัน  ชิมรสให้ออกเค็มหวาน
๓.  เมื่อผัดหมูได้ที่แล้วจึงค่อยใส่ข้าวสวยลงไปผัด  คลุกเคล้าให้ข้าวเข้ากับหมูสับที่ผัดเอาไว้
๔.  จากนั้นจึงใส่สับปะรด  ลูกเกด  เมล็ดมะม่วง  หรือถั่วชนิดต่าง ๆ
๕.  ผัดสักพักจนข้าวแห้ง  ชิมรสอีกหนึ่งครั้งว่าอ่อนเค็ม หรืออ่อนหวาน
๖.  เมื่อชิมรสได้ที่แล้วให้โรยด้วยต้นหอมซอย  คลุกเคล้าให้เข้ากันตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ
น้ำเปล่า ๆ ใส่น้ำยาอุทัยตราหมอมี ใส่น้ำแข็ง หอมเย็นชื่นใจ คลายร้อน ผ่อนกระหาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น