วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เมนูง่าย ๆ สไตล์เด็กหอ

บะหมี่กึ่งผัดไข่
ส่วนประกอบ     บะหมี่กึีสำเร็จนรูปรสหมู 1 ห่อ    ไข่ไก่ 1 ฟอง  หมูย่าง 1 ไม้  ผักต่าง ๆ ตามชอบ  เช่น กะหล่ำปลี   ข้าวโพดอ่อน  มะเขือเทศ  ซีอิ๊วขาว  ซอสพริก   น้ำตาลทราย
วิธีทำ
1 . นำน้ำใส่หม้อสำหรับลวกเส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป  เมื่อน้ำเดือดจึงค่อยนำเส้นบะหมี่ลงไปลวกให้สุก  เมื่อสุกแล้วตักขึ้นคลุกน้ำมันพืชนิดหน่อย
2 . นำน้ำมันใส่ลงในกระทะนิดหน่อย  ตั้งไฟกลางรอจนน้ำมันร้อนใส่หมูย่างลงไปผัดให้พอหอม
3 . เขี่ยหมูไว้ข้างกระทะ  แล้วตอกไข่ใส่ลงไป  ตีให้ไข่ขาวผสมกับไข่แดง  ค่อย ๆ พลิกไข่ให้สุกทีละด้าน  เมื่อไข่สุกแล้วจึงค่อยผัดรวมกับหมุ
4 . ใส่เส้นบะหมี่ที่ลวกแล้วลงไปผัดคลุกเคล้าให้ทั่ว  ปรุงรสด้วย ซีอิ๊วขาว  ซอสพริก  และน้ำตาลทราย  ชิมรสให้เค็มนำ  เปรี้ยวเผ้ดหวานนิดหน่อย
5 . ใส่ผักต่าง ๆ ลงไปผัดให้สุก  คลุกเคล้าให้เข้ากัน  ตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ
น้ำแครอท น้ำแครอท น้ำแครอท น้ำแครอท น้ำแครอท น้ำแครอท น้ำแครอท
การเตรียม
1 แครอท 2 ถ้วยตวง นำมาปอกเปลือก ล้างให้สะอาด หั่นเป็นแว่นตามขวาง
2 น้ำตาลทรายพอสมควร
3 เกลือป่นเล็กน้อย
4 น้ำสะอาด 3 ลิตร
วิธีทำ
1 นำแครอทที่เตรียมไว้ใส่น้ำต้มจนเดือดสักครู่  ลองหยิบแครอทออกมาดูให้แครอทสุกและนิ่ม  ตักออกทิ้งไว้ให้เย็น
2 นำแครอทมาตำหรือปั่นให้ละเอียด  แล้วใส่ไปในน้ำที่ต้มในครั้งแรก
3 ใส่น้ำตาลทรายพอประมาณ  เกลือป่นเล็กน้อย  รอจนเดือดสักครู่  ชิมรสไม่ต้องหวานมาก  ปิดไฟทิ้งไว้ให้เย็น
4 กรองกากออกด้วยผ้าขาวบาง
5 กรอกน้ำแครอทสีส้มสวยใส่ขวดแช่ตู้เย็น  เก็บไว้กินได้หลายวัน  หรือจะทำรสออกหวานเพื่อใส่น้ำแข็งเวลาดื่มก็ได้
ไม่ควรทำครั้งละมาก ๆ เพราะน้ำแครอทเก็บไว้ได้ประมาร 4-5 วัน
คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด
เสนอคำว่า เสนอคำว่า เสนอคำว่า เสนอคำว่า เสนอคำว่า เสนอคำว่า
ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า
คือผ้าทีผู้ถวายนำไปวางผาดไว้บนกิ่งไม้เพื่อให้พระชักเอาไปเอง  โดยไม่กล่าวคำถวายหรือประเคนเหมือนถวายของทั่วไป  ที่ชื่อว่าผ้าป่าเพราะถือคติโบราณ  คือสมัยพุทธกาลผ้าหายาก  พระภิกษุต้องแสวงหาผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามป่าช้าบ้าง  ตามทางเดินในป่าบ้าง  มาทำจีวรนุ่งห่ม  คนใจบุญสมัยนั้นจึงนำผ้าไปแขวนไว้ตามต้นไม้ข้างทางที่พระเดินผ่าน  ทำนองว่าทิ้งแล้ว  พระไปพบเข้าจึงหยิบไปทำจีวรโดยถือว่าเป็นผ้าไม่มีเจ้าของ  ผ้าชนิดนั้นเลยเรียกกันว่า ผ้าป่า
กิริยาที่พระหยิบไปใช้แบบนั้น  เรียกว่า ชักผ้าป่า
ทอดผ้าป่า  คือกิริยาที่ถวายผ้าแบบนั้น และนิยมจัดของใช้เป็นบริวารผ้าป่าเหมือนบริวารกฐินด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น