วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สูตรส้มตำไทย,ใส่ปู, ปลาร้า

สูตรส้มตำไทย
- โขลกพริกขี้หนู  และกระเทียมให้แหลก
- เด็ดถั่วฝักยาวสั้น ๆ ใส่ครก  โขลกเบา ๆ พอให้บุบ
- ใส่กุ้งแห้ง  และถั่วลิสง  โขลก ๆ ตำ ๆ ให้แหลกมากสักหน่อย
- ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ  น้ำปลาดี  มะนาว
- เคล้า ๆ ให้เข้ากัน  หั่นมะเขือเทศใส่  โขลกเบา ๆ
- เติมมะละกอ  โขลก ๆ เคล้า ๆ อีกนิดเดียวจึงชิมรสดูให้ออกหวานเปรี้ยวเด่น  จึงจะอร่อยสมกับรสชาติของตำไทย
สูตรส้มตำไทยใส่ปู
- ให้เด็ดปูเค็มใส่ครกโขลกเบา ๆ ในขั้นตอนที่ใส่กุ้งแห้งกับถั่วลิสง
- ถ้าจะใส่ผงชูรสให้ใส่เล็กน้อยในขั้นตอนปรุงรสน้ำปลาน้ำตาล
สูตรส้มตำปลาร้า
- พริกขี้หนู 8-10 เม็ด  กระเทียม 6-7 กลีบโขลกให้แหลก
- หั่นมะเขือเทศใส่ 2-3 ลูก  ฝานมะกอกใส่ 3-4 แว่นบาง ๆ โขลกให้ทั่ว ๆ
- ใส่มะละกอสับ  เติมน้ำปลาดี  น้ำปลาร้าต้มสุก  และตัวปลาร้า  บีบมะนาว  ใส่เปลือกมะนาวลงครกด้วยสัก 2-3 ซีก  โขลกให้ทั่ว ๆ ชิมรสดูให้ออกเผ็ด ๆ เค็ม ๆ
- ส้มตำไม่ว่าตำไทยหรือตำปุ  อาจใส่แครอตสับผสมลงไปด้วยก็ได้
- เส้นมะละกอต้องสดและกรอบ
- ไม่ควรสับมะละกอเป็นเส้นเล็กมากจนเป็นฝอย
- ใช้น้ำมะนาวแท้ จะได้รสอร่อยกว่าน้ำมะนาวเทียมที่ผสมขายเป็นขวด ๆ
น้ำรากบัวสด
การเตรียม
1. รากบัวสด 1 ราก นำมาล้างให้สะอาดและฝานเฉียง ๆ เป็นชิ้นใหญ่พอสมควรประมาณ 7-20 ชิ้น
2 . น้ำตาลทรายแดง พอสมควร
3. เกลือป่น  เล็กน้อย หรือ 1 หยิบมือ
4. น้ำสะอาด 1 ลิตร
วิธีทำ
1. นำรากบัวสดและน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ใส่หม้อตั้งไฟ  ตั้งไฟปานกลาง  เคี่ยวไปเรื่อย ๆ ประมาณครึ่งถึง  1 ชั่วโมง
2. เมื่อตั้งไฟได้เวลาตามต้องการแล้ว  น้ำต้มรากบัวสดจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ ให้เติมน้ำตาลทรายแดง  แล้วตั้งไฟต่อไปสักครู่  เติมเกลือ  แล้วชิมรสหวานตามชอบ  โดยมีรสเค็มแซมนิดหน่อย
3. ปิดไฟ  รับประทานตอนอุ่น ๆ หรือใส่ตู้เย็นรับประทานเย็น ๆ ก็ได้
ส่วนรากบัวที่ต้มนั้นสามารถรับประทานได้ด้วย
วิธีรักษาบาตร
บาตรเมื่อฉันแล้วต้องรักษาให้สะอาด  เช็ดให้แห้งห้ามไม่ให้เอาบาตรไปผึ่งแดดทั้ง ๆที่ยังมีน้ำชุ่มอยู่  เช็ดให้หมาดแล้วเอาไปผึ่งแดดได้  แต่ห้ามไม่ให้ผึ่งแดดจนร้อน  ไม่ให้วางบาตรไว้บนที่สูงหมิ่นเหม่ต่อการตกได้ง่าย  ไม่ให้อ้มบาตร  เปิดประตู ปิดประตู  และวางบาตรไว้บนของแข็งที่จะประทุษร้ายบาตรบุบสลาย  นี้เป็นวิธีรักษาบาตร
บาตรที่เป็นบริขาร  เวลาที่เรากลับมาจากพระอุโบสถแล้ว  พระอาจารย์ท่านจะสอนให้เอามือลูบ  แล้วเปล่งคำอธิษฐานว่า " อิมํ  ปตฺตํ  อธิฏฺฐามิ " ๓ ครั้ง  แปลว่า " ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรนี้ " เมื่ออธิษฐานแล้ว  ก็จัดเป็นบาตรครอง  บาตรคลองนี้  ถ้าใช้บาตรอยู่ในมือ  ห้ามไม่ให้เปิดปิดหน้าต่างประตู  เช่นอุ้มบาตรในมือหนึ่งอีกมือหนึ่งไปทำกิจอย่างอื่น  เช่นนี้ก็ห้ามเหมือนกัน  ห้ามไม่ให้เอาบาตรวางบนกระดานไม้เรียบ  คือกระดานที่เขาวางหัวยื่นรอดออกไป  หรือแม้ว่าบนม้าเล็ก ๆ ที่บาตรอาจจะกลิ้งตกลงไปได้ง่าย  ดังที่กล่าวมานี้เป็นวิธีรักษาบาตร ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น