วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ผัดเผ็ดปลาดุก, น้ำผึ้งผสมมะนาว

ส่วนประกอบ
ปลาดุกสับชิ้นทอด 2 ตัว       พริกแกง 1 ช้อนโต๊ะ
พริกไทยอ่อน 3 ช่อ               กระชายเส้น 1/2 ถ้วย
ใบมะกรูดฉีก 3 ใบ                ใบกะเพราทอดกรอบ 1 ถ้วย
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ               น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
วิธีทำ
1. นำกระทะตั้งไฟ  ใส่น้ำมันพืชลงไปนิดหน่อย  ใส่พริกแกงลงไปผัดให้หอม  เติมน้ำเปล่าลงไปนิดหน่อย  จากนั้นจึงใส่ปลาดุกทอดลงไปผัดให้เข้ากับพริกแกง
2. จากนั้นจึงปรุงรสด้วยน้ำปลา  และน้ำตาลทราย  ชิมรสให้เค็มนำหวานนิดๆ แล้วจึงค่อยใส่กระชาย  พริกไทยอ่อน  ใบมะกรูด  ลงไปผัด
3. เมื่อผัดจนทุกอย่างเข้ากันดีแล้ว  จึงค่อยโรยด้วยใบกระเพราทอดกรอบแล้วคลุกอีกหนึ่งรอบ  จากนั้นค่อยดับไฟ  ตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ
น้ำผึ้งผสมมะนาว
การเตรียม
1. น้ำผึ้งแท้  1 ช้อนโต๊ะ
2. มะนาว     1 ซีก
3. เกลือป่น   เล็กน้อย
4. น้ำสะอาด 1 แก้ว
วิธีทำ
1. ต้มน้ำให้เดือด  ทิ้งไว้ให้อุ่นใส่แก้ว
2. ตักน้ำผึ้งแท้ใส่แก้วน้ำอุ่น  คนให้ละลาย
3. บีบมะนาวครั้งละนืด  ชิมไม่ให้รสออกเปรี้ยวเกินไป
4. เติมเกลือป่นเล็กน้อย
5. ดื่มขณะอุ่นๆ และชงดื่มครั้งต่อตรั้ง  ไม่ควรชงเก็บไว้มากๆ  เพราะจะทำให้ไม่ได้วิตามินเต็มที่
การบวชสมบูรณ์แบบ
คือในความหมายหรือหลักทั่วไปที่จะกล่าวต่อไปนี้
๑. การบวชคือ  การออกไปค้น  ออกไปแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล  นี่ยืมพระดำรัสของพระพุทธเจ้ามากล่าว  เมื่อพระพุทธเจ้า  จะออกบวชท่านได้เล่าเรื่องไว้ว่า ท่านรู้สึกว่าอยู่กันในโลกนี้  อยู่อย่างไม่รู้จักสิ่งที่มีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย  แล้วก็หลงอยู่ในสิ่งที่มีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย  ทำให้มีชีวิตฆราวาสนี้มันคับแคบ เต็มไปด้วยธุลี คือสิ่งสกปรก  ถ้าอย่างไรก็ออกจากเรือนนี้  ออกไปบวชเพื่อแสวงหาอะไรเป็นกุศล
ฉะนั้น  การบวชก็คือการออกไปค้น  ไปแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล  นี่มันเป็นความรู้สึกของคนที่รู้สึกว่า  อยู่ในบ้านเรือนนี้มันอยู่ในท่ามกลางแห่งความโง่  แห่งความหลง
ทุกๆ อย่างที่มีอยู่ในบ้านเรือนนี้มันเป็นอกุศล  เพราะว่ามันอยู่ด้วยความโง่  อยู่ด้วยความหลง  จึงออกไปบวชเพื่อจะแสวงหาอะไรเป็นกุศล  นี้เป็นพระดำรัสของพระพุทธเจ้า
๒.  การบวชคือ  การออกไปอยู่อย่างต่ำต้อยอย่างไม่มีทรัพย์สมบัติอะไร  การบวชทุกอย่าง  ไม่ว่าจะเป็นในพระพุทธศาสนาหรือนอกพุทธศาสนาก็ตามล้วนแต่มีความเป็นอยู่ที่ต่ำต้อยคือระดับขอทาน
การอยู่อย่างนั้นมีความจำเป็นมาก  สำหรับการประพฤติพรหมจรรย์จะบรรลุนิพพาน  คืออยู่อย่างต่ำต้อย  ไม่ยกหูชูหาง  นี่มันก็ดีมากอยู่แล้ว  ถ้าไม่คิดจะอยู่อย่างต่ำต้อย  มันก็คิดจะยกหูชูหาง  จะต้องอยูอย่างไม่มีทรัพย์สมบัติ  มันจึงไม่มีการสะสม  ถ้าอยู่อย่างยกหูชูหางและสะสมทรัพย์สมบัติ  มันก็ไม่เป็นการบวชเลย  ไม่ต้องมีใครมาบอก มาด่า มาว่า มันไม่เป็นของมันเอง  เพราะว่าการบวชนั้นมีหลักเกณฑ์อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น
๓.  การบวชคือการฝึกฝนการบังคับตน  บังคับอินทรีย์  บังคับจิต  บังคับความรู้สึก  ต้องมีการเสียสละของรัก  ของชอบใจ ขั้นสุดยอดในโลกนี้
๔.  การบวชคือความสะดวกในการที่จะเดินทางออกไปนอกโลก  เดินทางออกไปนอกโลกนี้  หมายถึงเดินด้วยจิตใจ  ให้จิตใจวิวัฒนาการขึ้นไปในการที่จะอยู่เหนือการครอบงำของโลก  ออกไปนอกโลกก็หมายความว่า  มันมีจิตใจชนิดที่โลกนี้ทำอะไรไม่ได้  นี่คือการบรรลุคุณธรรมที่สูงขึ้นไปในทางจิตใจ  ตัวอยู่ในโลกแต่ใจอยู่นอกโลก  ปัญหาใดๆ ในโลกนี้ไม่ครอบงำบุคคลนั้นไม่ทำบุคคลนั้นให้ลำบาก
๕.  การบวชคือโอกาสแห่งการได้สิ่งสูงสุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ  คือได้รับความรอดแห่งจิตใจ  ได้รับอมตธรรมคือความไม่ตายแห่งจิตใจ
๖.  การบวชคือ " การอยู่บนหัวคนทุกคน " บวชแล้วก็ถูกสมทบเข้าไปในหมู่พระอริยเจ้า  หมู่พระอริยสงฆ์  เป็นที่เคารพบูชาของสัตว์โลก  ฉะนั้น  การบวชคือการอยู่บนหัวคนทุกคนมันจะยากจนเข็ญใจอะไรมา  พอบวชแล้วทุกคนเขาก็ไหว้  เมื่อยังไม่บวช  ไม่มีใครไหว้เลย  พอบวชแล้วทุกคนเขาไหว้  เจ้าใหญ่นายโต  พระราชามหากษัตริย์  ก็ยอมไหว้  นี่ดูทีว่า  การบวชนี้มันทำให้ไปอยู่บนหัวคนทุกคน  เพราะว่าไปสมทบเข้ากับหมู่สงฆ์หมู่พระอริยเจ้า
มีอะไรดีสำหรับจะอยู่บนหัวคนทุกคน? มันก็มีการบวชจริง  เรียนจริง  ปฏิบัติจริง  ได้ผลจริง  คือเป็นนักบวชจริงแล้วสั่งสอนคนอื่นต่อไปจริง  เท่านั้นแหละ  มันจึงจะมีอะไรดี  ชนิดที่ว่าอยู่บนหัวคนทุกคน, ถ้าไม่อย่างนั้นมันก็เป็นคนหลอกลวง  เป็นคนปล้น  เป้นคนขโมย  อยู่ด้วยความขโมยอย่างยิ่งก็คืออย่างนี้
๗.  การบวชคือการทำประโยชน์ผู้อื่นอย่างมหาศาลหรือสูงสุด
ในพระพุทธศาสนาต้องการให้บำเพ็ญทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น  ผู้บวชเมื่อทำประโยชน์ของตนเสร็จแล้ว  ก็มุ่งหวังที่จะทำประโยชน์ผู้อื่น  จนให้หมดเวลา  หมดเรี่ยว  หมดแรง  หมดความสามารถ  ประโยชน์มหาศาลสูงสุด  คือ
(ก) การเป็นผู้นำในทางวิญญาณให้แก่สัตว์โลก
(ข) ผู้บวชสามารถสืบอายุพระศาสนาไว้ให้คงมีอยู่ในโลก
(ค) การบวชมีโอกาสที่จะทำประโยชน์ผู้อื่นอย่างกุศลสาธารณะ
(ง) การบวชเป็นการดึงบุพพการี  ญาติวงศ์พงศาให้เข้ามาผูกพันอยู่กับศาสนา
๘.  การบวชเป็นการอยู่ในเพศสูงสุด  ทำไมไม่มองให้เป็นของดี  ของวิเศษกันบ้าง  แล้วยินดีที่จะอยู่ในสมณเพสตลอดไป  หรือให้มันนานสักหน่อย  เดี๋ยวนี้บวชกันเพียงเดือนเดียว  มันก็ร้อนเป็นไฟ  มันจะสึก  บางที ๗ วันก็สึก  หรือที่ยังทนอยู่ได้นี่ก็เร่าร้อนเหมือนกับจีวรนั้นมันทำด้วยไฟ  นี่ก็เพราะมองไม่เห็นว่า  การบวชนั้นเป็นเพศอันสูงสุด  คือเพศสำหรับไว้ซึ่งพระอรหันต์  สำหรับทรงไว้ซึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้า  และสำหรับทรงไว้ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ถ้าเรามองเห็นว่า  การบวชเป็นการอยู่ในเพศอันสูงสุด  ก็คงจะพอใจ
( หนังสือ ข้อแนะนำสำหรับพระบวชใหม่ คณาจารย์แห่งโรงพิมพ์เลี่ยงเชียง )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น