วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หมูสับนึ่งปลาเค็ม, เทียนหอมกันยุง

ส่วนประกอบ

ปลาอินทรีเค็ม 1 ชิ้น   หมูสับ 1 ถ้วย   กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ   พริกไทยป่น 1 ช้อนชา    ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา   ไข่ไก่ 1 ฟอง   แป้งมัน 1  ช้อนชา   พริกชี้ฟ้าหั่นเส้น 1 ช้อนโต๊ะ  ขิงเส้น 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1.  นำปลาเค็ม หมูสับ ไข่ไก่ แป้งมัน กระเทียมสับ พริกไทยป่น ใส่ลงในภาชนะสำหรับผสม
2.  ขยี้เนื้อปลาเค็มให้ละเอียด  และคลุกเคล้าให้ส่วนผสมต่างๆ เข้ากัน  ถ้ากลัวว่าจะไม่เค็มให้เติมซีอิ๊วขาวลงไปเล็กน้อย
3.  นำส่วนผสมที่คลุกเคล้าดีแล้วใส่ลงไปในภาชนะสำหรับนึ่ง  โดยภาชนะนั้นจะต้องเป็นชาม  หรือจานที่มีก้นลึก  เพราะเวลานึ่งเสร็จจะมีน้ำซุปออกมา
4.  ตกแต่งด้วยขิงหั่นเส้น  และพริกชี้ฟ้าหั่นเส้น
5.  นำลังถึงใส่น้ำ  ตั้งไฟรอให้เดือด  เมื่อน้ำเดือดแล้วจึงนำหมูสับและปลาเค็มที่เตรียมไว้ลงไปนึ่ง
6.  นึ่งประมาณ 10 นาที หรือจนหมูสุก  พร้อมเสิร์ฟ  หรืออาจะเสิร์ฟโดยโรยหน้าด้วยหอมแดงซอย  หรือว่่าจะเป็นพริกขี้หนูซอย  และน้ำมะนาวนิดหน่อยก็ได้

เทียนหอมกันยุง

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้

- หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
- หม้อสองชั้นสำหรับตุ๋นเทียน
- ถาดขนมอะลูมิเนียม
- แม่พิมพ์
- เหล็กคีบ
- กะละมังสเตนเลสใบเล็ก
- ทัพพีกลมสำหรับตักน้ำเทียน
- กรรไกร
- เหล็กแหลม
- พาราฟินแวกซ์ หรือโพลีเอ
- ช้อน
- สเตอร์
- เอสเตอร์รีน  มีลักษณะเป็นเกล็ด
- สเตียริคเอซิค
- ไมโครแวกซ์
- ไส้เทียน
- ไส้เทียน
- สีผสมเทียน
- น้ำมันตะไคร้หอม

วิธีทำ

1.  ขั้นแรกนำแผ่นพาราฟินแวกซ์ที่เตรียมเอาไว้มาหั่นเป็นท่อนๆ จากนั้นนำไปต้มในหม้อด้วยความร้อนปานกลาง  เมื่อละลายแล้วก็ให้ใส่สีลงไป  แต่ให้ใส่ทีละน้อย  เพื่อให้สีเท่ากันทั้งหมด
2.  ใส่หัวน้ำมันตะไคร้หอม  โดยใช้ 3-4 หยดต่อเทียน 6 ขีด
3.  นำเทียนที่ได้ไปหยดใส่พิมพ์  หรือภาชนะสวยๆ ต่างๆ
4.  พอเทียนแข็งตัว  ก็ให้แกะพิมพ์ออกมา  แล้วตกแต่งให้สวยงาม

คำแทนชื่อของพระบวชใหม่

คำแทนชื่อของพระบวชใหม่ที่ตัวเองเคยใช้ว่า " ผม " ว่า " ฉัน " จะต้องเปลี่ยนเป็นใช้ " อาตมา " หรือ " อาตมภาพ "  คำที่ใช้ว่า " ครับผม " หรือ " ครับ " ก็ต้องเปลี่ยนเป้น " ขอเจริญพร " หรือ " เจริญพร " ตามสมควรแก่สถานะของบุคคล
คำใช้เรียกแทนชื่อของผุ้อื่น  คำที่ใช้กันมากก็คือ " โยม " เช่น " โยมพี่ " และคำว่า "คุณโยม " เช่น คุณโยมมารดา คุณโยมป้า หรือจะใช้ " คุณ " หรือ " ท่าน " กับคนสามัญก็ได้
สำหรับภิกษุด้วยกัน พึงใช้อย่างที่ใช้ในเวลาเป็นคฤหัสถ์นั้นเองคือ "ผม " หรือ "เกล้ากระผม " และคำรับว่า " ครับ " หรือ "ครับผม " หรือ " ขอรับผม "  ส่วนคำใช้เรียกแทนชื่อท่านก็ใช้คำว่า " ท่าน " " ใต้เท้า " " พระเดชพระคุณ " " หลวงพี่ " " หลวงพ่อ " หรือ " หลวงปู่ " หรือ " หลวงตา " อย่างใดอย่างหนึ่งตามสมควรแก่สถานะของภิกษุนั้น ๆ

 

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ไก่ต้มขมิ้น

ส่วนประกอบ

โคนปีกไก่ และปีกไก่ 2 ถ้วย  ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ  ข่าซอย 1 ช้อนโต๊ะ   ขมิ้นทุบ 1 ช้อนโต๊ะ  พริกไทยดำ 1 ช้อนโต๊ะ  หอมแดงทุบ 3 หัว  พริกขี้หนูทุบ 5-8 เม็ด  เกลือ 1 ช้อนชา

วิธีทำ

1. นำน้ำใส่หม้อประมาณ 1/3 ของหม้อ  ใส่ตะไคร้ซอย  ข่าซอย  ขมิ้นทุบ  พริกไทยดำ  และหอมแดงทุบลงไปต้ม
2. เมื่อน้ำเริ่มเดือดจึงค่อยใส่ไก่ลงไปต้ม ต้มจนกว่าไก่จะสุก
3. เมื่อไก่สุกแล้วให้ปรุงรสด้วยเกลือ ชิมให้เค็มนิดหน่อยรสชาติเหมือนต้มจืดโดยทั่วไป
4. เมื่อชิมรสได้ที่แล้ว ก่อนที่จะเสิร์ฟก็อาจจะใส่พริกขี้หนูทุบลงไปประมาณ 2-3 เม็ด เพื่อเพิ่มรสชาติที่เผ็ดร้อน

" ถ้ายิ่งต้มได้ไฟอ่อนนานๆ ก็จะยิ่งเพิ่มความอร่อยมากยิ่งขึ้น"

คำวัด เสนอคำว่า  " อาราม  อาวาส "

อาราม แปลว่า ที่เป็นที่มายินดี  หมายถึง  สวนต้นไม้,  สถานที่ร่มเย็น,  สถานที่น่ารื่นรมย์
อาวาส แปลว่า ที่เป็นที่มาอยู่  หมายถึง  สถานที่อยู่อาศัย
อาราม  อาวาส  สองคำนี้ถูกนำมาใช้ในความหมายว่า " วัด " ในพระพุทธศาสนา  หรือ มักถูกนำมาต่อท้ายชื่อของวัดเพื่อแสดงความเป็นวัดซึ่งเป็นสถานที่ร่มเย็นและเป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์  เช่น  วัดอรุณราชวราราม  วัดราชโอรสาราม  วัดพุทธาวาส

วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความหมายของบทสวดทำวัตรเย็น

การทีพระภิกษุสามเณรประชุมกันทำวัตรเย็น ประจำทุกวันนั้น บทสวดมีความหมายแยกออกได้เป็น ๓ ตอน คือ
ข้อความตอนต้น เป้นการกล่าวนอบน้อมพระรัตนตรัย และกล่าวสดุดีสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ต่อจากนั้นก็เป้นการกล่าวปฏิญาณตนเป้นผุ้รับใช้พระศาสนาและกล่าวยืนยัน ตนมีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ เป้นสรณะที่พึ่งที่ระลึก ไม่มีสรณะอื่นยิ่งกว่า
และได้กล่าวอธิษฐานว่า โดยอ้างถึงการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าเจริญรุ่งเรืองในพระศาสนธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา และด้วยเดชะบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ขวนขวายในพระศาสนานี้ ขออันตรายทั้งหลายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าเลย
เมื่อจบการกล่าวสดุดีสรรเสริยพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ การปฏิญาณตน และการอธิษฐาน แต่ละตอนแล้ว ก็ได้กล่าวขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัยที่ตนได้ประพฤติล่วงเกิน ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ เพื่อจะได้สังวรระวังต่อไปเช่่นนี้ทุกครั้ง
ตอนกลาง เป้นการสวดพระพุทธมนต์ที่เป็นพระสูตรต่างๆ เพื่อเป็นการซักซ้อมการสวดพระพุทธมนต์ให้พร้อมเพรียงกัน และเพื่อให้เกิดความทรงจำพระสูตรนั้นๆ ได้แม่นยำ
ตอนสุดท้ายแห่งการทำวัตรเช้าและสวดมนต์เย็นแล้วก็สวดบทแผ่ส่วนกุศล แก่สรรสัตว์ทั่วไป
ประโยชน์การทำวัตรเช้า-เย็น
ประโยชน์ที่พระภิกษุสามเณรทั้งหลายจะพึงได้รับจากการทำวัตรเช้า-เย็น เมื่อกล่าวโดยย่อเป็นข้อๆ คงมี ดังต่อไปนี้
๑. เพื่อความสามัคคึพร้อมเพรียงกันแห่งหมู่คณะ
๒. เพื่อเป็นการสรรเสริญพระคุณความดีของพระรัตนตรัยอันเป็นสรณะอันยอดเยี่ยม ที่พระภิกษุสามเณรผู้ตั้งใจประพฤติดีปฏิบัติชอบ จะพึงยึดถือเป็นทิฏฐานุคติประพฤติปฏิบัติทางกาย วาจา ใจ ดำเนินรอยตามพระรัตนตรัย สืบไป
๓. เพื่อเป็นการเจริญภาวนากุศลอบรมจิตใจของตนๆ ให้สงบระงับจากกิเลส อย่างน้อยก็ชั่วระยะเวลาที่ตั้งใจทำวัตรสวดมนต์อยู่นั้น จิตใจย่อมไม่ฟุ้งซ่านซัดส่ายไปในเรื่องฆราวาสวิสัย
๔. เพื่อร่วมประกอบพิธีกรรมประจำวันอันแสดงถึงภาวะความเป็นอยู่ของสมณวิสัย ซึ่งต่างจากภาวะความเป็นอยู่ของฆราวาสวิสัย
๕. เพื่อเป็นการร่วมกันทบทวนซักซ้อมบทพระบาลีที่จะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ให้ทรงจำได้แม่นยำช่ำชอง คล่องปาก ขึ้นใจ
๖. เพื่อเป็นการร่วมกันซักซ้อมทำนองการสวดพระพุทธมนต์พระสูตรต่างๆ ซึ่งจำเป็นจะต้องนำไปใช้สวดในงานมงคลและงานอวมงคล ในการบำเพ็ญกุศลของพระพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ให้ได้ระเบียบเดียวกัน
๗. เพื่อเป็นการร่วมกันแผ่ส่วนกุศลที่ได้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบบำเพ็ญมาในพระพุทธศาสนา ให้แก่ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาและแก่สรรพสัตว์ทั่วไป
๘. เพื่อเป็นการกำจัดโกสัชชะความเกียจคร้านให้ออกไปจากจิตสันดานของตนๆ เป็นประจำทุกๆ วัน อย่างน้อยก็วันละ ๒ ครั้ง
๙. เพื่อเป็นตัวอย่างในการแสดงความเคารพพระรัตนตรัยแก่พุทธศาสนิกชน ชาวบ้านทั้งหลายได้ประพฤติปฏิบัติตาม

ระเบียบปฏิบัติการทำวัตรเช้า

ความหมายของบทสวดทำวัตรเช้า

การที่พระภิกษุสามเณรประชุมกันทำวัตรเช้า ประจำทุกวัน มีความหมาย บทที่สวดนั้นแยกออกได้เป็น ๓ ตอน คือ
ข้อความตอนต้น เป็นการกล่าวนอบน้อมพระรัตนตรัยและเป็นการกล่าวสดุดีสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์
เมื่อกล่างสดุดีสรรเสริญพระรัตนตรัยจบลงแต่ละครั้งแล้ว ก็กล่าวอธิษฐานอ้างถึงอานุภาพแห่งบุยอันเกิดจากการกล่าวนอบน้อมและการกล่าวสดุดีสรรเสริญพระรัตนตรัยดังกล่าวมาแล้วขออุปัททวะ ความขัดข้องทั้งหลาย จงอย่าได้มีแก่ข้าพระเจ้าเลย กล่าวอธิษฐานอย่างนี้ทุกครั้งที่กล่าวสดุดีสรรเสริญพระรัตนตรัยจบลง
ข้อความตรงกลาง เป็นการกล่าวปฏิญาณยืนยันถึงภาวะทีตนรู้ซึ้งถึงพระศาสนธรรมคำสั่งสอนของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงสั่งสอนไว้ว่า
" ความเกิด ความแก่ ความตาย เป้นทุกข์ "
ความโศรกเศร้าพิไรรำพัน  ความทุกข์กาย ความทุกช์ใจ ความคับแค้นใจ ความได้ประสบกับสิ่งไม่น่ารัก ความพลัดพราก จากสิ่งที่รัก ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ล้วนแต่เป็นทุกช์ทั้งนั้น
สรุปรวมความว่า อุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ ได้แก่ สังขาร ร่างกาย เวทนาขันธ์ ได้แก่ความรู้สึกสุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์  สัญญาขันธ์ ได้แก่ ความจำได้หมายรู้ สังขารขันธ์ ได้แก่ ความคิดนึกปรุงแต่งเรื่องราวต่างๆ วิญญาญขันธ์ ได้แก่ ความรู้แจ้ง อารมณ์ต่างๆ
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ที่คนเราเข้าไปยึดถือว่า เป็นเราเป็นของเรา ล้วนเป็นเหตุก่อให้เกิดความทุกข์ทั้งสิ้น
แล้วกล่าวยืนยันต่อไปว่า " ในสมัยที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงมีพระชนม์อยู่ ทรงแนะนำพร่ำสอนพระสาวกทั้งหลายให้กำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อยู่โดยมาก และพระอนุสาสนีของพระองค์ที่ทรงพร่ำสอนพระสาวกทั้งหลาย ส่วนมากก้พร่ำสอนว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ล้วนไม่เที่ยง เป้นทุกข์ เป้นอนัตตา
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจของผู้ใด ใครบังคับไม่ได้
พวกเราเป็นผู้ถูก ชาติ ชรา มรณะ ความโศกเศร้า ความพิไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เข้าครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์คอยดักหน้า เข้าครอบงำ
จะทำไฉน การกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏมีได้
และได้กล่าวอธิษฐานขอให้ถึงความสิ้นสุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลต่อไปว่า " ขอให้การประพฤติพรหมจรรย์ของพวกเราที่พากันสละบ้านเรือนออกบวชอุทิศสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วนาน ได้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามสิกขาและธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมกันของพระภิกษุทั้งหลาย จงเป้นไปเพื่อกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ เทอญ
ข้อความตอนท้ายของบทสวดทำวัตรเช้า เป้นการซักว้อมคำพระบาลี ตังขณืกปัจจเวก  และธาตุปฏิกูลปัจจเวกปาฐะซึ่งพระภิกษุสามเณรทุกรูปจะต้องพิจารณาปัจจัย ๔ ทุกครั้งที่จะบริโภคใช้สอยปัจจัย เพื่อให้เกิดความชำนาย ช่ำชอง คล่องปาก ขึ้นใจ
เมื่อพระภิกษุสามเณรกล่าวสวดบททำวัตรเช้าจบลงแล้วก็นิยมตั้งจิตแผ่สวดกุศลแก่ท่านผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาทั้งหลาย และแก่สรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า