วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ระเบียบปฏิบัติการทำวัตรเช้า

ความหมายของบทสวดทำวัตรเช้า

การที่พระภิกษุสามเณรประชุมกันทำวัตรเช้า ประจำทุกวัน มีความหมาย บทที่สวดนั้นแยกออกได้เป็น ๓ ตอน คือ
ข้อความตอนต้น เป็นการกล่าวนอบน้อมพระรัตนตรัยและเป็นการกล่าวสดุดีสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์
เมื่อกล่างสดุดีสรรเสริญพระรัตนตรัยจบลงแต่ละครั้งแล้ว ก็กล่าวอธิษฐานอ้างถึงอานุภาพแห่งบุยอันเกิดจากการกล่าวนอบน้อมและการกล่าวสดุดีสรรเสริญพระรัตนตรัยดังกล่าวมาแล้วขออุปัททวะ ความขัดข้องทั้งหลาย จงอย่าได้มีแก่ข้าพระเจ้าเลย กล่าวอธิษฐานอย่างนี้ทุกครั้งที่กล่าวสดุดีสรรเสริญพระรัตนตรัยจบลง
ข้อความตรงกลาง เป็นการกล่าวปฏิญาณยืนยันถึงภาวะทีตนรู้ซึ้งถึงพระศาสนธรรมคำสั่งสอนของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงสั่งสอนไว้ว่า
" ความเกิด ความแก่ ความตาย เป้นทุกข์ "
ความโศรกเศร้าพิไรรำพัน  ความทุกข์กาย ความทุกช์ใจ ความคับแค้นใจ ความได้ประสบกับสิ่งไม่น่ารัก ความพลัดพราก จากสิ่งที่รัก ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ล้วนแต่เป็นทุกช์ทั้งนั้น
สรุปรวมความว่า อุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ ได้แก่ สังขาร ร่างกาย เวทนาขันธ์ ได้แก่ความรู้สึกสุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์  สัญญาขันธ์ ได้แก่ ความจำได้หมายรู้ สังขารขันธ์ ได้แก่ ความคิดนึกปรุงแต่งเรื่องราวต่างๆ วิญญาญขันธ์ ได้แก่ ความรู้แจ้ง อารมณ์ต่างๆ
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ที่คนเราเข้าไปยึดถือว่า เป็นเราเป็นของเรา ล้วนเป็นเหตุก่อให้เกิดความทุกข์ทั้งสิ้น
แล้วกล่าวยืนยันต่อไปว่า " ในสมัยที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงมีพระชนม์อยู่ ทรงแนะนำพร่ำสอนพระสาวกทั้งหลายให้กำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อยู่โดยมาก และพระอนุสาสนีของพระองค์ที่ทรงพร่ำสอนพระสาวกทั้งหลาย ส่วนมากก้พร่ำสอนว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ล้วนไม่เที่ยง เป้นทุกข์ เป้นอนัตตา
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจของผู้ใด ใครบังคับไม่ได้
พวกเราเป็นผู้ถูก ชาติ ชรา มรณะ ความโศกเศร้า ความพิไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เข้าครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์คอยดักหน้า เข้าครอบงำ
จะทำไฉน การกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏมีได้
และได้กล่าวอธิษฐานขอให้ถึงความสิ้นสุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลต่อไปว่า " ขอให้การประพฤติพรหมจรรย์ของพวกเราที่พากันสละบ้านเรือนออกบวชอุทิศสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วนาน ได้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามสิกขาและธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมกันของพระภิกษุทั้งหลาย จงเป้นไปเพื่อกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ เทอญ
ข้อความตอนท้ายของบทสวดทำวัตรเช้า เป้นการซักว้อมคำพระบาลี ตังขณืกปัจจเวก  และธาตุปฏิกูลปัจจเวกปาฐะซึ่งพระภิกษุสามเณรทุกรูปจะต้องพิจารณาปัจจัย ๔ ทุกครั้งที่จะบริโภคใช้สอยปัจจัย เพื่อให้เกิดความชำนาย ช่ำชอง คล่องปาก ขึ้นใจ
เมื่อพระภิกษุสามเณรกล่าวสวดบททำวัตรเช้าจบลงแล้วก็นิยมตั้งจิตแผ่สวดกุศลแก่ท่านผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาทั้งหลาย และแก่สรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น