วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความหมายของบทสวดทำวัตรเย็น

การทีพระภิกษุสามเณรประชุมกันทำวัตรเย็น ประจำทุกวันนั้น บทสวดมีความหมายแยกออกได้เป็น ๓ ตอน คือ
ข้อความตอนต้น เป้นการกล่าวนอบน้อมพระรัตนตรัย และกล่าวสดุดีสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ต่อจากนั้นก็เป้นการกล่าวปฏิญาณตนเป้นผุ้รับใช้พระศาสนาและกล่าวยืนยัน ตนมีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ เป้นสรณะที่พึ่งที่ระลึก ไม่มีสรณะอื่นยิ่งกว่า
และได้กล่าวอธิษฐานว่า โดยอ้างถึงการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าเจริญรุ่งเรืองในพระศาสนธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา และด้วยเดชะบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ขวนขวายในพระศาสนานี้ ขออันตรายทั้งหลายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าเลย
เมื่อจบการกล่าวสดุดีสรรเสริยพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ การปฏิญาณตน และการอธิษฐาน แต่ละตอนแล้ว ก็ได้กล่าวขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัยที่ตนได้ประพฤติล่วงเกิน ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ เพื่อจะได้สังวรระวังต่อไปเช่่นนี้ทุกครั้ง
ตอนกลาง เป้นการสวดพระพุทธมนต์ที่เป็นพระสูตรต่างๆ เพื่อเป็นการซักซ้อมการสวดพระพุทธมนต์ให้พร้อมเพรียงกัน และเพื่อให้เกิดความทรงจำพระสูตรนั้นๆ ได้แม่นยำ
ตอนสุดท้ายแห่งการทำวัตรเช้าและสวดมนต์เย็นแล้วก็สวดบทแผ่ส่วนกุศล แก่สรรสัตว์ทั่วไป
ประโยชน์การทำวัตรเช้า-เย็น
ประโยชน์ที่พระภิกษุสามเณรทั้งหลายจะพึงได้รับจากการทำวัตรเช้า-เย็น เมื่อกล่าวโดยย่อเป็นข้อๆ คงมี ดังต่อไปนี้
๑. เพื่อความสามัคคึพร้อมเพรียงกันแห่งหมู่คณะ
๒. เพื่อเป็นการสรรเสริญพระคุณความดีของพระรัตนตรัยอันเป็นสรณะอันยอดเยี่ยม ที่พระภิกษุสามเณรผู้ตั้งใจประพฤติดีปฏิบัติชอบ จะพึงยึดถือเป็นทิฏฐานุคติประพฤติปฏิบัติทางกาย วาจา ใจ ดำเนินรอยตามพระรัตนตรัย สืบไป
๓. เพื่อเป็นการเจริญภาวนากุศลอบรมจิตใจของตนๆ ให้สงบระงับจากกิเลส อย่างน้อยก็ชั่วระยะเวลาที่ตั้งใจทำวัตรสวดมนต์อยู่นั้น จิตใจย่อมไม่ฟุ้งซ่านซัดส่ายไปในเรื่องฆราวาสวิสัย
๔. เพื่อร่วมประกอบพิธีกรรมประจำวันอันแสดงถึงภาวะความเป็นอยู่ของสมณวิสัย ซึ่งต่างจากภาวะความเป็นอยู่ของฆราวาสวิสัย
๕. เพื่อเป็นการร่วมกันทบทวนซักซ้อมบทพระบาลีที่จะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ให้ทรงจำได้แม่นยำช่ำชอง คล่องปาก ขึ้นใจ
๖. เพื่อเป็นการร่วมกันซักซ้อมทำนองการสวดพระพุทธมนต์พระสูตรต่างๆ ซึ่งจำเป็นจะต้องนำไปใช้สวดในงานมงคลและงานอวมงคล ในการบำเพ็ญกุศลของพระพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ให้ได้ระเบียบเดียวกัน
๗. เพื่อเป็นการร่วมกันแผ่ส่วนกุศลที่ได้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบบำเพ็ญมาในพระพุทธศาสนา ให้แก่ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาและแก่สรรพสัตว์ทั่วไป
๘. เพื่อเป็นการกำจัดโกสัชชะความเกียจคร้านให้ออกไปจากจิตสันดานของตนๆ เป็นประจำทุกๆ วัน อย่างน้อยก็วันละ ๒ ครั้ง
๙. เพื่อเป็นตัวอย่างในการแสดงความเคารพพระรัตนตรัยแก่พุทธศาสนิกชน ชาวบ้านทั้งหลายได้ประพฤติปฏิบัติตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น