วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หมูสับนึ่งปลาเค็ม, เทียนหอมกันยุง

ส่วนประกอบ

ปลาอินทรีเค็ม 1 ชิ้น   หมูสับ 1 ถ้วย   กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ   พริกไทยป่น 1 ช้อนชา    ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา   ไข่ไก่ 1 ฟอง   แป้งมัน 1  ช้อนชา   พริกชี้ฟ้าหั่นเส้น 1 ช้อนโต๊ะ  ขิงเส้น 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1.  นำปลาเค็ม หมูสับ ไข่ไก่ แป้งมัน กระเทียมสับ พริกไทยป่น ใส่ลงในภาชนะสำหรับผสม
2.  ขยี้เนื้อปลาเค็มให้ละเอียด  และคลุกเคล้าให้ส่วนผสมต่างๆ เข้ากัน  ถ้ากลัวว่าจะไม่เค็มให้เติมซีอิ๊วขาวลงไปเล็กน้อย
3.  นำส่วนผสมที่คลุกเคล้าดีแล้วใส่ลงไปในภาชนะสำหรับนึ่ง  โดยภาชนะนั้นจะต้องเป็นชาม  หรือจานที่มีก้นลึก  เพราะเวลานึ่งเสร็จจะมีน้ำซุปออกมา
4.  ตกแต่งด้วยขิงหั่นเส้น  และพริกชี้ฟ้าหั่นเส้น
5.  นำลังถึงใส่น้ำ  ตั้งไฟรอให้เดือด  เมื่อน้ำเดือดแล้วจึงนำหมูสับและปลาเค็มที่เตรียมไว้ลงไปนึ่ง
6.  นึ่งประมาณ 10 นาที หรือจนหมูสุก  พร้อมเสิร์ฟ  หรืออาจะเสิร์ฟโดยโรยหน้าด้วยหอมแดงซอย  หรือว่่าจะเป็นพริกขี้หนูซอย  และน้ำมะนาวนิดหน่อยก็ได้

เทียนหอมกันยุง

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้

- หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
- หม้อสองชั้นสำหรับตุ๋นเทียน
- ถาดขนมอะลูมิเนียม
- แม่พิมพ์
- เหล็กคีบ
- กะละมังสเตนเลสใบเล็ก
- ทัพพีกลมสำหรับตักน้ำเทียน
- กรรไกร
- เหล็กแหลม
- พาราฟินแวกซ์ หรือโพลีเอ
- ช้อน
- สเตอร์
- เอสเตอร์รีน  มีลักษณะเป็นเกล็ด
- สเตียริคเอซิค
- ไมโครแวกซ์
- ไส้เทียน
- ไส้เทียน
- สีผสมเทียน
- น้ำมันตะไคร้หอม

วิธีทำ

1.  ขั้นแรกนำแผ่นพาราฟินแวกซ์ที่เตรียมเอาไว้มาหั่นเป็นท่อนๆ จากนั้นนำไปต้มในหม้อด้วยความร้อนปานกลาง  เมื่อละลายแล้วก็ให้ใส่สีลงไป  แต่ให้ใส่ทีละน้อย  เพื่อให้สีเท่ากันทั้งหมด
2.  ใส่หัวน้ำมันตะไคร้หอม  โดยใช้ 3-4 หยดต่อเทียน 6 ขีด
3.  นำเทียนที่ได้ไปหยดใส่พิมพ์  หรือภาชนะสวยๆ ต่างๆ
4.  พอเทียนแข็งตัว  ก็ให้แกะพิมพ์ออกมา  แล้วตกแต่งให้สวยงาม

คำแทนชื่อของพระบวชใหม่

คำแทนชื่อของพระบวชใหม่ที่ตัวเองเคยใช้ว่า " ผม " ว่า " ฉัน " จะต้องเปลี่ยนเป็นใช้ " อาตมา " หรือ " อาตมภาพ "  คำที่ใช้ว่า " ครับผม " หรือ " ครับ " ก็ต้องเปลี่ยนเป้น " ขอเจริญพร " หรือ " เจริญพร " ตามสมควรแก่สถานะของบุคคล
คำใช้เรียกแทนชื่อของผุ้อื่น  คำที่ใช้กันมากก็คือ " โยม " เช่น " โยมพี่ " และคำว่า "คุณโยม " เช่น คุณโยมมารดา คุณโยมป้า หรือจะใช้ " คุณ " หรือ " ท่าน " กับคนสามัญก็ได้
สำหรับภิกษุด้วยกัน พึงใช้อย่างที่ใช้ในเวลาเป็นคฤหัสถ์นั้นเองคือ "ผม " หรือ "เกล้ากระผม " และคำรับว่า " ครับ " หรือ "ครับผม " หรือ " ขอรับผม "  ส่วนคำใช้เรียกแทนชื่อท่านก็ใช้คำว่า " ท่าน " " ใต้เท้า " " พระเดชพระคุณ " " หลวงพี่ " " หลวงพ่อ " หรือ " หลวงปู่ " หรือ " หลวงตา " อย่างใดอย่างหนึ่งตามสมควรแก่สถานะของภิกษุนั้น ๆ

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น