วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

ผัดเผ็ดรสเด็ดคู่ครัวไทย

ผัดเผ็ดหมูป่าผัดเผ็ดหมูป่าผัดเผ็ดหมูป่าผัดเผ็ด
ส่วนประกอบ
-เนื้อหมูป่า 1 ถ้วย                   -พริกแกง 1 ช้อนโต๊ะ
-พริกชี้ฟ้าซอย 2 ช้อนโต๊ะ       - กระชายซอยเส้น 1/2  ถ้วย
-พริกไทนอ่อน 5 ช่อ               -ใบมะกรูดฉีก 4 ใบ
-ใบโหระพา 1 ถ้วย                 - น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
-น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
วิธีทำ
1.  นำกระทะตั้งไฟอ่อน  ใส่น้ำมันพืชลงไปนิดหน่อย  จากนั้นจึงใส่พริกแกงลงไปผัดให้หอม  ถ้าแห้งเกินไปก็ให้เติมน้ำเปล่าลงไปนิดหน่อย
2. เมื่อพริกแกงแตกตัวดีแล้ว  จึงค่อยใส่เนื้อหมูลงไปผัด  ผัดให้สุกแล้วค่อยปรุงรสด้วยน้ำปลา  น้ำตาลทราย  ชิมรสให้เค็มนำ  หวานนิดหน่อย  ถ้าไม่ชอบหวานก็ไม่ต้องใส่น้ำตาลเลยก็ได้  แต่ควรระวังในการใส่น้ำปลา  เพราะพริกแกงจะมีความเค็มอยู่แล้ว  ก่อนปรุงควรชิมก่อน
3. เมื่อปรุงรสได้ที่แล้วจึงค่อยใส่กระชายซอย  พริกชี้ฟ้าวอย  ใบมะกรูดฉีก  พริกไทยอ่อน  คลุกเคล้าให้เข้ากัน
4. เมื่อคลุกเคล้าจนได้ที่จึงค่อยใส่ใบโหระพา  ผัดแค่พอสลด  แล้วตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า" เราจักนุ่งให้เรียบร้อย"เราจักห่มให้เรียบร้อย"เราจักปิดกายด้วยดีไปในบ้าน"เราจักปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน"เราจักระวังมือเท้าด้วยดีไปในบ้าน"เราจักระวังมือเท้าด้วยดีนั่งในบ้าน"เราจักมีตาทอดลงไปในบ้าน"เราจักมีตาทอดลงนั่งในบ้าน"เราจักไม่เวิกผ้าไปในบ้าน"เราจักไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน"เราจักไม่หัวเราะไปในบ้าน"เราจักไม่หัวเราะนั่งในบ้าน"เราจักไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน"เราจักไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน"เราจักไม่โคลงกายไปในบ้าน"เราจักไม่โคลงกายนั่งในบ้าน"เราจักไม่ไกวแขนไปในบ้าน"เราจักไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน"เราจักไม่สั่นศรีษะไปในบ้าน"เราจักไม่สั่นศรีษะนั่งในบ้าน"เราจักไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน"เราจักไม่ค้ำกายนั่งในบ้าน"เราจักไม่เอาผ้าคลุมศรีษะไปในบ้าน"เราจักไม่เอาผ้าคลุมศรีษะนั่งในบ้าน"เราจักไม่เดินกระโหย่งเท้าไปในบ้าน"เราจักไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน"
คำจบขันข้าวใส่บาตร
ข้าวของข้าพเจ้า  ขาวดังดอกบัว  ยกขึ้นเหนือหัว  ถวายแด่พระสงฆ์  จิตใจจำนง  ตรงต่อพระนิพพาน

คำวัด วันนี้ขอเสนอคำว่า กรวดน้ำ, กลด, โยม

กรวดน้ำ  หมายถึงการรินน้ำจากภาชนะด้วยความตั้งใจปรารถนาอย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น  อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่ทำไปให้แก่ผู้มีพระคุณ  เรียกว่าตรวจน้ำ  ก็มี
กรวดน้ำ   มีวิธีทำดังนี้  เตรียมภาชนะสำหรับกรวดใส่น้ำสะอาดสะอาดไว้  เมื่อพระรูปแรกท่านเริ่มอนุโมทนาด้วยบทว่า  ยถา...  ก็เริ่มกรวดน้ำโดยมือขวาจับภาชนะสำหรับกรวด  มือซ้ายประคองรินน้ำใส่ภาชนะที่รองรับ  พร้อมทั้งตั้งใจนึกอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว  รินไปจนกระทั้งพระรูปแรกว่าจบ  พอรูปที่สองรับ  สัพพี...   ให้เทน้ำให้หมดแล้วประนมมือตั้งใจรับพรพระต่อไป
มีคำพูดเล่น ๆว่า " ยถา  ให้ผี   สัพพี   ให้คน " หมายความว่า  ตอนที่พระท่านว่า  ยถา เป็นการส่วนกุศลแก่คนตาย  ตอนที่ว่า  สัพพี  เป็นการให้พรแก่คนเป็น 
กลด   คือร่มขนาดใหญ่  มีด้ามยาวถอดเก็บได้  ที่ชายร่มมีผ้ามุ้งเย็บติดโดยรอบ  หรือมีมุ้งขนาดใหญ่ครอบต่างหาก
กลด   ใช้เป็นบริขารพิเศษของพระธุดงค์  หรือพระที่เดฺนทางไกลสมัยก่อน  เวลาเดินทาง  หรือเดินธุดงค์ท่านจะถอดด้ามและพับร่มใส่ไว้ในถุงพิเศษแล้วแบกหรือสะพายไป  จึงเมื่อเห็นพระแบกกลดเดินทางหรือปักกลดอยู่ก็รู้กันว่าเป็นพระธุดงค์
ธรรมเนียมการอยู่กลดเป็นอุบายวิธีที่จะกำจัดความเห็นแก่นอนและทำให้กิเลสเบาบางได้อย่างหนึ่ง  ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า  " อยู่กลดหมดทุกข์ " นั้นแล
โยม    เป็นคำที่พระภิกษุสามเณรใช้เรียกบิดามารดาของตน  หรือบุคคลทั่วไปที่มีอายุมากกว่าตน เช่น
"  พรุ่งนี้  โยมจะไปเยี่ยมโยมยายด้วยกันไหม  "
บางครั้งบิดามารคาของพระภิกษุสามเณรก็ใช่คำนี้แทนตัวเองเมื่อพูดกับภิกษุสามเณรลูกชายของตน เช่น
"  พรุ่งนี้โยมไม่ว่าง  ขอไปวันอื่นก็แล้วกัน "
เรียกคนที่อยู่ปฏิบัติพระสงฆ์หรือช่วยทำกิจสงฆ์ในวัดว่า  โยมวัด
เรียกคนที่รับอุปการะพระภิกษุสามเณรเป็นการเจาะจงเฉพาะรูปว่า  โยมอุปัฏฐาก
ข้าวผัดขมิ้น ข้าวผัดขมิ้น ข้าวผัดขมิ้น
ส่วนประกอบ  
ข้าวสวย  1 ถ้วย   เนื้อไก่  1/2  ถ้วย   กระเทียมโขลก  1 ช้อนโต๊ะ  ขมิ้นโขลก  1  ช้อนชา   ต้นหอมซอย 1  ช้อนโต๊ะ   หอมหัวใหญ่ซอยละเอียด  1  ช้อนชา   ซีอิ๊วขาว  2  ช้อนโต๊ะ   น้ำตาลทราย  1  ช้อนชา   น้ำมันพืช  1  ช้อนโต๊ะ   แครอทซอยละเอียด  1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1.  นำกระทะตั้งไฟ  ใส่น้ำมันพืชลงไป  รอจนน้ำมันร้อนแล้วจึงค่อยใส่กระเทียม  และขมิ้นโขลก  ลงไปผัดให้หอม
2.  เมื่อเริ่มมีกลิ่นหอมแล้วจึงค่อยใส่ไก่ลงไปผัดให้สุก
3.  เมื่อไก่สุกดีแล้วจึงค่อยใส่ข้าวสวยลงไปผัด  คลุกเคล้าให้เข้ากันดี
4.  ใส่แครอทและหอมหัวใหญ่ที่เตรียมไว้ลงไป  คลุกเคล้าให้เข้ากันให้อีกที  แล้วจึงค่อยปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว  น้ำตาลทราย  ชิมรสให้เค็มหวานกลมกล่อม
5.  จัดข้าวใส่จาน  โรยด้วยต้นหอมซอย  อาจจะแยกไก่ออกต่างหากก็ได้ แล้วโรยด้วยหอมเจียวเพื่อเพิ่มรสชาติ  และหน้าตาให้ดูน่ากินยิ่งขึ้น
น้ำใบเตย น้ำใบเตย น้ำใบเตย น้ำใบเตย
การเตรียม
๑. ใบเตยสด ๆ  ๑๐ ใบ มาล้างน้ำให้สะอาด บิดจนใบช้ำเล็กน้อย แล้วหั่นเป็นท่อน ๆ
๒. น้ำตาลทรายแดงเพียงเล็กน้อย
๓. เกลือป่น  เล็กน้อย คือถ้าไม่ใส่น้ำตาลก็ไม่ต้องใส่เกลือ  แต่ถ้าต้องการหวานให้ใส่เกลือเพียงเล็กน้อย
๔. น้ำสะอาด  ๒ ลิตร
วิธีทำ
๑.  นำใบเตยที่เตรียมไว้  ใส่น้ำในหม้อตั้งไฟปานกลาง  ตั้งทิ้งไว้ ๑๕ นาที
๒.  จะเห็นน้ำเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน ๆ  ถ้าไม่ต้องการหวานให้ยกลงกรองใบเตยทิ้ง  ใช้ดื่มร้อน ๆ หรือแช่เย็นก็ได้  แต่ถ้าต้องการหวานให้ใส่น้ำตาลทรายแดงเล็กน้อยคนจนละลาย  พอเดือดยกลงแล้วกรองใบเตยและเศษผงออกจนน้ำใส
๓.  ใบเตยที่ต้มแล้วจะมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมาก  ใช่ดื่มขณะร้อนหรือใส่ขวดแช่ตู้เย็นไว้ได้หลายวัน

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิกขาบทที่ ๘, สิกขาบทที่ ๙

ภิกษุรับเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นรับก็ดี ซึ่งทองและเงิน หรือยินดีทองและเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน  ต้องนิสสิคคิยปาจิตตีย์.
นิทานต้นบัญญัติ    เจ้าของบ้านที่พระอุปนันทะ  ศากยบุตร  เข้าไปฉันเป็นนิตย์  เตรียมเนื้อไว้ถวายในเวลาเช้า  แต่เด็กร้องไห้ขอกินในเวลากลางคืน  จึงให้เด็กกินไป  รุ่งเช้าจึงเอากหาปณะ ( เงินตรามีราคา ๔ บาท ) ถวาย  พระอุปนันทะก็รับ  มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบท  ห้ามภิกษุ  รับเอง  ใช้ให้รับทอง เงิน หรือ ยินดีทอง  เงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์  แก่ภิกษุผู้ละเมิด.
ลักษณะทองและเงิน    ทองและเงินนั้น  อันเขาทำเป็นรูปพรรณแล้วหรือมิได้ทำก็ตาม  ยังเป็นแท่งเป็นลิ่มอยู่ก็ตามเป็นรูปิยคือของสำหรับจ่ายก็ตามโดยที่สุดของไม่ใช่ทองและเงินแต่ใช้เป้นรูปิยได้เช่น  ธนบัตร  ก็นับว่าทองและเงิน  ในที่นี้.
วิธีสละทองและเงิน    ทองและเงิน  ที่สละแล้วตามสิกขาบทนี้  ท่านสอนว่า พึงบอกแก่อุบาสกผู้บังเอิญมาถึงเข้า  ถ้าเขาไม่เอา  พึงขอให้เขาช่วยทิ้ง  ถ้าเขาไม่รับ  พึงสมมติภิกษุเป็นผู้ทิ้ง  เลือกผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ  ๕ อย่าง คือ ไม่ถึงอคติ ๔ และรู้จักว่าทำอย่างไร เป็นอันทิ้งหรือไม่  ภิกษุนั้นพึงทิ้งอย่าหมายที่ตก ถ้าหมายที่ตก ต้องทุกกฏ
วิธีปฏิบัติในทองและเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน     อย่าถือเอากรรมสิทธิ์ในทองและเงินนั้น  แต่ถือเอากรรมสิทธิ์ในเป็นอันจะได้ของเป็นกัปปิยะ ( ของที่ควรบริโภคใช้สอย )
ลักษณะแห่งอาบัติ   อาบัติในสิกขาบทนี้  เป็นอจิตตกะ  แม้ไม่มีเจตนา  แต่ยินดีรับและเข้า คงไม่พ้นอาบัติ
คำเสียสละ    ทองและเงินอันเป็นนิสสัคคีย์นั้น  ท่านให้สละในสงฆ์  คำเสียสละว่า " อหํ  ภนฺเต  รูปิยํ  ปฏิคฺคเหสึ  อิทํ  เม  นิสฺสคฺคิยํ  อิมาหํ  สํฆสฺส  นิสฺสชฺชามิ"     แปลว่า  " ข้าพเจ้ารับรูปิยไว้แล้ว  ของนี้เป็นนิสสัคคีย์  ข้าพเจ้าขอสละ  รูปิยนี้แก้สงฆ์ "

สิกขาบทที่๙  ภิกษุทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ  คือ  ของที่เขา  ใช้เป็นทองและเงิน  ต้องนิสัคคียปาจิตตีย์.
นิทานต้นบัญญัติ   ฉัพพัคคีย์ (พวก ๖ ) ทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ ( ทอง เงิน หรือสิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนแทนเงินที่กำหนดให้ใช้ได้ทั่งไปในที่นั้น ๆ )  มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนว่าทำเหมือนเป็นคฤหัสถ์  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงบัญญัติสิกขาบท  ห้ามทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ  ทรงปรับอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์  แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.
อธิบาย    รูปิยะ  นั้น หมายถึงทองและเงิน  หรือของอื่น  อันใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยน.
ประโยชน์ของสิกขาบท  สิกขาบทนี้  มีประโยชน์ที่จะกันไม่ให้เอาทองและเงินที่เป็นนิสสัคคีย์  ในสิกขาบทก่อน  มาจ่ายซื่อกัปปิยบริขารและจ้างคนทำการ.
วิธีเสียสละ  การสละ  ท่านให้สละแก่สงฆ์เหมือนในสิกขาบทก่อนนั้น  และพึงเข้าใจว่าสิกขาบทที่ ๘,๙ นี้  ให้สละแก่สงฆ์เท่านั้น.
คำเสียสละว่าอย่างนี้  " อหํ  ภนฺเต  นานปฺปการกํ  รูปิยสํโวหารํ  สมาปชฺชิง  อิทํ  เม  อิมาหํ  สํฆสฺส  นิสสชฺชามิ "  แปลว่า  "  ข้าพเจ้าถึงการแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะมีประการต่าง ๆ ของนี้ของข้าพเจ้า  จะต้องสละ  ข้าพเจ้าขอสละของสิ่งนี้แก่สงฆ์ "
ที่จ่ายเป็นค่าแรงคนทำการไปแล้ว  สละไม่ได้ก็พึงแสดงแต่อาบัติเท่านั้น.
คำจบเงินทำบุญ
ทรัพย์ของข้าพเจ้า  ได้มาโดยบริสุทธิ์   ขอบูชาพระพุทธ  บูชาพระธรรม  บูชาพระสงฆ์   จิตใจจำนง  ตรงต่อพระนิพพาน  ขอให้ถึงเมืองแก้ว  ขอให้แคล้วบ่วงมาร  ขอให้พบพระศรีอาริย์  ในอนาคตกาลนั้น  เทอญ.

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

คำวัด ในวันนี้คือ กาสาวพัสตร์, กุลุปกะ-ชีต้น, เข้าสมาธิ


กาสาวพัสตร์  แปลว่า  ผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาดเป็นคำเรียกผ้าที่พระสงฆ์ใช่นุ่งห่ม  ผ้านุ่งห่มของพระสงฆ์ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง  สีแก้นขนุนหรือสีกรัก  ก็ถือว่าเป็นผ้ากาสาวพัสตร์ทั้งสิ้น
กาสาวพัสตร์  ถือว่าเป็นของสูง  เป็นเครื่องนุ่งห่มของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทานอนุญาตให้พระสาวกใช้ได้  จัดเป็นสัญลักษณ์ของ
พระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง
กาสาวพัสตร์   ในความหมายรวม ๆ ก็คือผ้าเหลืองซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา  เช่นแม่พูดกับลูกว่า
" ลูกเอ๋ย  บวชให้แม่ได้เห็นชายผ้าเหลืองสักพรรษานะลูก    
คำว่าผ้าเหลืองในที่นี้ก็คือผ้ากาสาวพัสตร์นั้นเอง
กุลุปกะ-ชีต้น  กุลุปกะ  แปลว่า  ผู้เข้าถึงสกุล
กุลุปกะ   เป็นคำเรียกพระภิกษุผู้ใกล้ชิดสนิทสนมกับครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลนั้น ๆ มีความคุ้นเคย  ไปมาหาสู่คนในครอบครัววงศ์ตระกูลเสมอ  ผู้คนในครอบครัวและวงศ์ตระกูลนั้นรู้จัก  ให้ความเครารพนับถือ  และอุปถัมภ์บำรุงด้วยดีโดยไม่รังเกียจ  เรียกเต็มว่า  พระกุลุปกะ  โบรารเรียกว่า  ชีต้น
พระกุลุปกะนั้นทำหน้าที่เป้นที่ปรึกษาวงศ์ตระกูลบ้าง  เป็นหลักใจของวงศ์ตระกูลบ้าง เป็นผูสอนธรรมประจำวงศ์ตระกูลบ้าง
ถ้าเป็นพระที่ใกล้ชิดกับราชสกุล  เรียกว่า  พระราชกุลุปกะ
เข้าสมาธิ  ใช้ในความหมายว่าการทำจิตให้นิ่งแน่วเหมือนเข้าฌาน  เป็นกิริยาของการทำกรรมฐานเพื่อให้จิตสงบด้วยการนั่ง  บางแห่งเรียกว่า นั่งเข้าที่
การเข้าสมาธิถือเป็นกิจสำคัญสำหรับผู้ที่บำเพ็ญเพียรทางจิตจนชำนาญแล้ว  เมื่อได้เข้าสมาธิจะได้รับความสุขสงบทางจิตอย่างลึกซึ้งเหมือนอยู่อีกโลกหนึ่งแห่งสันติ  เป็นการพักผ่อนทั้งกายและใจไปพร้อมกัน  ออกจากสมาธิแล้วร่างกายและจิตใจจะสดชื่อนแจ่มใสเหมือนได้ยาบำรุงขนานเอกที่เดียว
(พจนาตถ์  เพื่อการเรียนพุทธศาสน์เบื้องต้น  คำวัด  พระธรรมกิตติวงศ์ ทองดี สุรเตโช ป.ธ. ๙ ราขบัณฑิต)
ข้าวหมูทอดซอสกะหรี่
ส่วนประกอบหมูทอด
เนื้อหมูสันนอกแล่ชิ้นใหญ่      ไข่ไก่     แป้งมัน   เกล็ดขนมปัง
วิธีทำ
๑.  นำเนื้อหมูมาคลุกกับแป้งมันให้ทั่งทั้งสิ้น  แป้งไม่ต้องหนา  เอาแค่บาง ๆ พอ
๒.  เตรียมตอกไข่ไก่ใส่จาน  แล้วตีให้ไข่ขาวกับไข่แดงเข้ากัน  นำเกล็ดขนมปัง  ใส่จาน
๓.  นำมาชุบไข่ให้ทั่ว  แล้วนำไปคลุกเกล็ดขนมปัง  พักเอาไว้
๔.  นำกระทะใส่น้ำมันสำหรับทอดหมู  พอน้ำม้นร้อนจึงค่อยนำหมูลงทอด  ทอดจนหมูสุก  แป้งเหลืองกรอบ  แล้วตักขึ้นพักเอาไว้บนกรัดษาซับน้ำมัน
ส่วนประกอบซอสกะหรี่
ผงกะหรี่ หรือกะหรี่ก้อน  เนย  มันฝรั่ง  หอมหัวใหญ่  โยเกิร์ตรสธรรมชาติ  เกลือ  น้ำตาลทราย
วิธีทำ
๑.  นำเนยใส่หม้อ  ตั้งไฟอ่อน  ผัดเนยให้ละลาย  จากนั้นจึงค่อยใส่หอมหัวใหญ่  และมันฝรั่งลงไปผัด ผัดพอแค่พอหอมหัวใหญ่สุกใส
2. เติมน้ำลงไป เร่งไฟรอให้เดือด แล้วจึงค่อยใส่ผงกะหรี่  หรือกะหรี่ก้อนลงไป  ลดไฟลงจนเหลือไฟกลาง  แล้วเคี่ยวจนกว่าหอมหัวใหญ่และมันฝรั่งสุกจนนิ่ม
3. ปรุงรสด้วยเกลือ  และน้ำตาลทราย ชิมรสให้เค็ม ๆ หวาน ๆ แล้วจึงค่อยใส่โยเกิร์ตลงไปเคี่ยวต่อไปอีกสักครู่จนข้น
วิธีเสิร์ฟ
ตักข้าวสวยใส่จาน  หั่นหมูทอดเป็นชิ้นพอคำ  แล้วจึงค่อยตักซอสกะกรี่ราดลงไป  พร้อมเสิร์ฟ
(ผัดผงกะหรี่ ผัดน้ำพริกเผา ครบเครื่องเรื่องรสไทย ครัวไพลิน )

บาป, บุญ

บาป  แปลว่า กรรมที่ทำให้สัตว์ถึงทุคติ, กรรมอันเป็นเหตุให้ไปอบาย
บาป  คือความชั่ว, ความผิด, มัวหมอง, กรรมชั่ว, กรรมไม่ดี, เมื่อทำแล้วเป็นเหตุให้ผํทำได้รับความมัวหมอง ตกต่ำ ได้รับความเดือดร้อน  จนถึงเป็นเหตุให้ถึงทุคติภูมิเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับบุญ
บาป มีคำอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกัน เช่น อกุศล, กรรมลามก
การกระทำที่จัดเป็นบาป  ได้ปก่การทำอกุศลกรรมคือกรรมชั่ว  มีฆ่าสัตว์  ลักทรัพย์ เป็นต้น
บุญ  แปลว่า  สิ่งที่ชำระจิตสันดานให้หมดจด
บุญ  คือความ  ดี, ความถูกต้อง,ความสะอาด, กรรมดี,กรรมงาม, เมื่อทำแล้วเป็นเหตุให้ผู้ทำมีจิตใจสะบาย มีความสุข ความเจริญ ก้าวหน้า ความบริสุทธิ์ ความหมดจดผ่องใส จนเป็นเหตุให้ถึงสุคติภูมิ  และให้ถึงความสิ้นกิเลสได้  มีความหมายตรงกันข้ามกับ บาป
การกระทำที่จัดเป็นบุญ  ไดแก่การทำกุศลกรรมคือกรรมดี  คือ  ทาน  ศีล  ภาวนา
น้ำส้ม น้ำส้ม น้ำส้ม น้ำส้ม น้ำส้ม น้ำส้ม น้ำส้ม น้ำส้ม น้ำส้ม น้ำส้ม น้ำส้ม น้ำส้ม น้ำส้ม น้ำส้ม น้ำส้ม
การเตรียม
1. ส้มเขียวหวาน 2 ผล    ล้างเปลือกให้สะอาด  เพราะเวลาค้ันจะได้ไม่สกปรก
2. น้ำตาลทราย เล็กน้อย  ถ้าส้มหวานอยู่แล้วไม่ต้องใส่หรือใส่เล็กน้อยประมาณ 1 ช้อนชาก็พอ
3. เกลือป่น  เล็กน้อย 
4. น้ำแข็งทุบ  พอสมควร
วิธีทำ
1. นำส้มที่เตรียมไว้ผ่าครึ่งตามขวางของผล คั้นเอาเฉพาะน้ำ ไม่กดหรือบี้เปลือกขณะคั้น  จะทำให้ขม
2. เติมน้ำตาลทราย ชิมรสออกหวานเล็กน้อย และใส่เกลือนิดหน่อย  คนให้ละลาย
3. ใส่น้ำแข็งทุบละเอียดดื่มเย็น  หรือดื่มโดยไม่ใส่น้ำแข็งก็ได้  ได้วิตามินซีมากกว่า
น้ำส้มไม่ควรคั้นค้างไว้หลายวัน เพราะวิตามินซีจะสลายไปหมด
เมนู เด็กหอ อร่อย ไม่ง้อโรงอาหาร สไตล์เด็กหอ
บะหมี่กึ่งไฮโซ บะหมี่กึ่ง ไฮโซ บะหมี่กึ่ง ไฮโซ
ส่วนประกอบ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสใดก็ได้ 1 ห่อ  ไส้กรอก 7 Eleven  ผักต่าง ๆ ใน 7 Eleven  ซอสพริก ซอสมะเขือเทส มายองเนส มัสตาร์ด ตามชอบ
วิธีทำ  1 . เดินไป 7 Eleven หน้าปากซอยกันก่อน แล้วสั่งพนักงานว่า ฟุตลอง 1 อัน  รสใดก็ได้ตามชอบ ถ้่มีเงินก็สั้งฟุตลอง ถ้าเงินน้อยก็สั่งสโมกกี้ไบท์พอ
2.  เมื่อพนักงานเวฟไส้กรอกหั่นใส่ถุงมาให้  คราวนี้ก็ถึงเวลาไปเติมผักเติมซอสกัน  ซึ่งซอสนั้นก็มีอยู่ด้วกัน 4 ชนิด หลัก ๆ คือ ซอสพริก วอสมะเขือเทส มายองเนส และมัสตาร์ด  สำหรับผักที่มีไว้บริการก็จะมีแตงกวา หอมใหญ่ ผักกาดหอม มะเขือเทศ ชอบอันไหนก็ใส่อันนั้นแต่ถ้าเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำ ต้องเน้นที่ซอสพริก
3. พอกลับมาถึงหอพักแล้วก็จัดการต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป  โดยการต้มน้ำน้ำให้เดือด ระหว่างรอน้ำเดือดให้แกะบะหมี่ออกใส่ชาม ใส่ผัก ใส่ใส้กรอกลงไป  เติมเครื่องบะหมี่ที่มีอยูในซอง  พอน้ำเดือดจึงค่อยเทน้ำใส่ลงไป  ปิดฝาพักไว้ 3 นาที พร้อมเสิร์ฟ
(ไพลิน คิชเช่น )

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

การรักษาของสงฆ์

พระภิกษุผู้ได้รับมอบหมายให้เข้าอยู่อาศัยประจำกุฏิหลังใด  ห้องใด  ภายในกุฏินั้น  มีถาวรวัตถุของสงฆ์อยู่เท่าใด  นิยมรักษาถาวรวัตถุของสงฆืนั้น ๆ ให้คงมีอยู่  เท่าเดิม  หรือหามาเพิ่มให้มีมากขึ้น
ไม่นิยมนำถาวรวัตถุของสงฆ์นั้นเคลื่อนย้ายไปที่อื่น  ก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาส  หรือหัวหน้าหมู่คณะที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาส
นิยมบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุของสงฆ์นั้นที่ชำรุดอยู่ก่อนแล้ว  หรือเกิดชำรุดขึ้นในภายหลัง  ให้กลับมีสภาพดีอย่างเดิม  หรือดีกว่าเดิม
นิยมบอกขออนุญาตเจ้าอาวาสก่อนที่จะทำการก่อสร้างเพิ่มเติม  ขยายกุฏิที่อยู่นั้นทั้งภายในและภายนอก  ไม่นิยมทำก่อนแล้วจึงแจ้งให้ทราบภายหลัง
ไม่นิยมทำกุฏิที่อยู่อาศัยนั้นให้เกิดความเสียหาย  เช่น ตอกตะปูฝาผนังโดยไม่จำเป็น  หรือทำลายจิตรกรรมฝาผนังให้เสียหายเป็นต้น
เมื่อจะย้ายออกไปจากกุฏินั้น  นิยมไม่นำเคลื่อนย้ายเอาถาวรวัตถุของสงฆ์ไปเป็นสมบัติของตน  เพราะผิดพระวินัย  และไม่นิยมรื่อถอนถาวรวัตถุที่ตนก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นภายหลัง  เพราะการทำเช่นนั้นเป็นลักษณะของคนเห็นแก่ตัวไม่มีความเสียสละ  ไม่เห็นแก่ส่วนรวม  คนประเภทนี้เอาดีได้ยาก
การรักษาความสะอาด  พระภิกษุผู้ไดรับหมอบหมายให้อยู่กุฏิใด  นิยมไม่นิ่งดูดาย  หมั่นรักษากุฏินั้นทั้งภายในกุฏิ  ภายใต้กุฏิ  และบริเวณรอบนอกกุฏิ  ให้สะอาดหมดจดเรียบร้อยอยู่เสมอ
ไม่นิยมสะสมเชื้อเพลิงไว้ภายในกุฏิ  ทำให้สกปรกรุงรัง  คล้ายบ้านตาแก่  ยายแก่  เป้นการทำลายความเป้นระเบียบร้อยของส่วนรวม  และเป็นบ่อเกิดแห่งอัคคีภัยอีกด้วย
ภานในกุฏิที่อยู่อาศัย  นิยมจัดตั้งเสนาสนะและสมณบริขารเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ไว้เป็นสัดส่วน  เป้นพวก  เป้นหมู่  แบบหยิบก็ง่าย  หายก็รู้  ดูก็งามตา
ภายในห้องนอน  ไม่นิยมใช้เป้นโรงครัวสำหรับเก็บอาหาร  จำพวกเครื่องกระป๋อง  เพราะผิดวินัย
การบูรณะปฏิสังขรณ์  นิยมขวนขวายในการบูรณะปฏิสังขรณ์ในเมื่อกุฏิที่อยู่อาศัยนั้น  เกิดความชำรุดทรุดโทรม  ไม่นิยมนื่งดูดาย  โดยถือว่าธุระไม่ใช่  ไม่นิยมเป้นแต่ผู้อาศัยกุฏิอยู่ฝ่ายเดียว  ควรให้กุฏิได้อาศัยตนอยู่บ้าง
หากประสงค์จะปรับปรุงกุฏิที่อยู่อาศัยนั้นด้วยการกะเทาะปูนเก่าออกถือปูนใหม่ก็ดี  ด้วยการทาสีใหม่ก็ดี  นิยมบอกขออนุญาติ  เจ้าอาวาสเสียก่อนดำเนินการ
การบูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิที่อยู่อาศัย  นิยมรักษาทรวดทรงไว้ตามเดิม  ไม่นิยมเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเดิม  เพราะสถานที่วัดเป็นเรื่องของส่วนรวม  จะทำอะไรต้องได้รับความเห็นชอบของคนหลายฝ่ายด้วยกัน
การรักษาสุขภาพทางกาย  นิยมผลัดเปลี่ยนอริยาบถ  ๔  คือ นั่ง นอน เดิน ยืน  ในรอบ  ๒๔ ชั่วโมงของวันและคืนหนึ่ง ๆ  ให้เป็นไปพอสมดุลกันพอทัดเทียมกัน  จะเป็นเหตุทำให้สังขารร่างกายไม่ทรุดโทรมเร็ว ไม่แก่เร็ว ไม่เป้นบ่อเกิดแห่งโรคภัยไข้เจ็บและไม่ตายเร็ว  นิยมคอยระวังไม่นั่งรับแขกมากเกินไป  หรือนอนพักผ่อนมากเกินไป
เมื่อมีอายุล่วงกาลผ่านวันไปถึงปัจฉิมวัยแล้ว  จะทำกิจการใด ๆ  ที่ต้องใช้กำลังกาย  นิยมมีความกตัญญูต่อสังขารอยู่เสมอ  อย่าเข้าใจผิดคิดว่า  ร่างกายของเราวันนี้  ยังคงมีสมรรถภาพดีเหมือนเมื่อวานนี้
ทุกเวลาเช้า  นิยมออกกายบริหาร  ด้วยการเดินออกกำลังกาย เช่น ออกบิณฑบาต  เป็นต้น
นิยมเรื่องอาหารการบริโภค  สิ่งใดจะเกิดโทษแก่ร่างกายแม้จะมีรสอร่อยถูกปาก  ก็นิยมงดเว้นสิ่งนั้นเสีย  เห็นแก่สุขภาพของตัว
ไม่นิยมฉันภัตตาหารจนเกินความพอดี  เมื่อรู้สึกตัวว่า  อีกสัก  ๔-๕ คำจะอิ่มนิยมงดเสีย  แล้วฉันน้ำแทน  จะทำให้ร่างกายไม่ถูกถีนมิทธะเข้าครอบงำ  ไม่ง่วงเหงาหาวนอน  ร่างกายไม่อ่อนเพลีย
นิยมระวังการเข้าและการออกของอาหาร ถ้าเข้ามาก  แต่ออกน้อย  หรือถ้าเข้าน้อยแต่ออกมาก  นิยมรีบแก้ไขทันที  ขืนปล่อยไว้ชาตาใกล้จะถึงฆาต  ขืนประมาทไม่ได้แล้ว
การรักษาสุขภาพทางจิตใจ  นิยมหาโอกาสเจริญสมถภาวนา  หรือวิปัสสนาภาวนา  เพื่ออบรมจิตใจให้ปลอดโปร่งแช่มชื่น  และบรรเทาความโลภ  ความโกรธ และความหลงให้เบาบางลง  ตามโอกาสที่จะอำนวยให้ทำได้
นิยมหาเวลาว่างจากภารกิจการงาน  ออกไปจากวัดที่ต้องรับผิดชอบเสียบ้าง  เป็นครั้งคราว  ทุก ๑๕ วัน หรือทุกเดือน จะทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์
นิยมหางานอดิเรกที่ชอบทำบ้าง  เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนอารมณ์  และเพื่อลดความตึงเครียดอันเกิดจากภาระหน้าที่การงานที่ทำอยู่ประจำ
นิยมสร้างเมตตากรุณาธรรม  ความดี ความปรารถนาดี  ความปราณี เอื้อเฝื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น  เป็นธรรมประจำจิตใจ จะทำให้สุขภาพจิตของตนดีมากยิ่ง ๆขึ้น
นิยมลดอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในสัตว์และสังขารธรรมทั้งหลาย  ให้ลดเหลือน้อยลงไป  ตามวัยแห่งอายุสังขารที่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
วิธีการนุ่งสบง  นิยมนุ่งสบงเป็นปริมณฑล  คือชายข้างบนปิดสะดือ  แต่ไม่นิยมนุ่งสูงถึงกระโจมอก  ชายข้างล่างประมาณครึ่งแข้ง  แต่ไม่นิยมนุ่งต่ำ  ถึงกรอมส้นเท้า  และไม่นิยมนุ่งยกสูงขึ้นเลยหัวเข่า
ไม่นิยมนุ่งสบงใต้สะดือ  ปล่อยพุงป่องเป็นนักเลง  ไม่นิยมทำพกให้ใหญ่คล้ายคนลงพุง  หรือคล้ายหญิงมีครรภ์
นิยมนุ่งสบงให้ชายด้านหน้า  กับชายด้านหลังเสมอกันและนิยมใช้ผ้าสบงสีเดียวกับจีวรรวมถึงอังสะด้วย  ก็นิยมสีเดียวกันกับสบงจีวร
วิธีการห่มจีวร   นิยมห่มจีวรเป็นปริมณฑล  คือ ห่มลดไหล่  ชายจีวรข้างบนคลุมไหล่ซ้าย  เปิดไหล่ขวา  ถ้าห่มคลุม  ชายจีวรข้างบนปิดหลุมคอทั้งสอง  ชายข้างล่างต่ำกว่าชายสบง  แต่ไม่นิยมต่ำหรือกรอมส้นเท้า
นิยมห่มจีวรสีเดียวกับสบง  และนิยมห่มเรียบร้อย  ไม่รุ่มร่าม  ไม่เล้อยหน้า เลื้อยหลัง  หรือถลกสูงขึ้นมา  ไม่นิยมถลกจีวรขึ้นพาดบ่า  หรือยกขึ้นคลุมศรีษะ  ขณะนั่งหรือเดิน
ไม่นิยมห่มจีวรแบบจัดกลีบคล้ายกับกระโปรงสตรี  หรือห่มจีวรม้วนจนแน่นรัดตัวมากเกินไป  เป้นเหตุทำให้จีวรแตกตะเข็บขาดเร็วและไม่น่าเลื่อมใส
ถ้าห่มจีวรพาดผ้าสังฆาฏิ นิยมทั้งสบง จีวร และผ้าสังฆาฏิเป็นสีเดียวกันทั้งสามผืน
นิยมใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มสะอาดหมดจด  ไม่ด่าง ไม่ดำ ไม่สกปรก ไม่เหม็นสาบ และไม่หอมกรุ่นด้วยน้ำอบ น้ำปรุง เพราะผิดวิสัยของสมณะ
วิธีการอุ้มบาตร  นิยมอุ้มบาตรประคองด้วยมือทั้งสองให้บาตรอยู่ระดับท้องสูงกว่าประคตเอวขึ้นมา  แต่ไม่นิยมอุ้มชูสูงขึ้นมาจนถึงอก  และนิยมถือบาตรภายในจีวร  โดยดึงริมจีวรด้านขวามือมาปิดบาตร นำออกมาเฉพาะเมื่อจะรับบิณฑบาตรเท่านั้น
ขณะรับบิณฑบาตร  นิยมยืนตรง  ห่างจากผู้ใส่บาตรประมาณ ๑ ก้าว มือซ้ายรองรับบาตร  มือขวาแหวกริมจีวรออกและเปิดฝาบาตรแล้วประคองฝาบาตรเข้ากับข้างบาตร
วิธีการสะพายบาตร  นิยมสะพายให้บาตรห้อยอยู่ข้างตัว  ด้านขวา  มือขวาคอยประคองบาตรไว้ไม่ให้ส่ายไปส่ายมาขณะเดิน
ไม่นิยมไพล่บาตรมาข้างหน้า  เพราะจะทำให้เดินไม่สะดวก และไม่นิยมไพล่บาตรไปข้างหลัง เพราะจะทำให้คล้ายคนหลังโกง
ขณะรับบิณฑบาตร  นิยมยืนตรงห่างจากผู้ใส่บาตรประมาณ ๑ ก้าว มือซ้ายช่วยยกชายจีวรขึ้นแล้วจับสายโยกบาตรไว้  มือขวาเปิดฝาบาตรออกแล้วประคองฝาบาตรเข้ากับข้างบาตร
วิธีการรับบิณฑบาต  นิยมประคองบาตรด้วยมือทั้งสองยื่นออกไปเล็กน้อย ตาทอดมองดูในบาตร  สำรวมจิตพิจารณาด้วยธาตุปฏิกูลปัจจเวกขณปาฐะว่า ( ยถา ปจฺจยํ ปวตฺตมานํ ธาตุมตฺตเมเวตํ ยทิทํ ปิณฺฑปาโต   ฯเปฯ ) จนจบบท  ไม่ส่งใจไปอื่น  ไม่แสดงกิริยาอาการรีบร้อนจะจากไป
ไม่นิยมมองหน้าผู้ใส่บาตร  หรือชวนผูใส่บาตรสนทนาขณะที่กำลังบิณฑบาต  ถ้าผู้ใส่บาตรเตรียมดอกไม้ ธูปเทียน ไว้ถวายด้วย  เมื่อรับบิณฑบาตแล้ว  ผู้ใส่บาตรนั้น  ถ้าเป็นสุภาพสตรีนิยมปิดฝาบาตรแล้วยื่นบาตรเข้าไปรับ  ให้เขาวางถวายบนฝาบาตร ถ้าเป็นสุภาพบุรุษ นิยมรับด้วยมือโดยตรง
เมื่อรับบิณฑบาตเสร็จแล้ว  นิยมถอยหลังออกห่าง ๑ ก้าว แล้วยืนตรง ขณะที่ผู้ใส่บาตรยกมือไหว้ นิยมตั้งจิตอธิษฐานให้พรว่า " เอวํ  โหตุ  ขอจงสำเร็จตามที่ปรารถนาเถิด " หรืออธิษฐานว่า ขอจงมีความสุข ความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปเถิด ดังนี้เป็นต้น  แล้วจึงเดินจากไป
นิยมรับอาหารบิณฑบาตไปตามลำดับผู้รอคอยใส่บาตรและนิยมเข้ารับบิณฑบาตรตามลำดับของพระภิกษุสามเณรที่มาถึงก่อนและหลัง ไม่นิยมลัดคิวตัดหน้าพระภิกษุสามเณรอื่นที่มารออยู่ก่อน
ขณะเดินไปบิณฑบาตร  นิยมมีสมณสารูป สำรวมกิริยาเรียบร้อย  สำรวมกาย สำรวมตา สำรวมปาก ไม่เดินเร็ว หรือเชื่องช้าเกินไป ไม่เหลียวซ้ายแลขวา ล่อกแล่ก ไม่เที่ยวทักคนนี้คนนั้น  อันแสดงถึงความไม่สำรวม หรือไม่นิยมเดินพูดคุยกันระหว่างพระภิกษุสามเณรด้วยกัน
การพาดผ้าสังฆาฏิ ขณะไปในกิจนิมนต์ต่าง ๆ นิยมพับผ้าสังฆาฏิกึ่งกลางเป็นสองทบแล้ววางพาดไว้ที่ไหล่ซ้าย  เอาชายสังฆาฏิไว้ข้างหน้า  ประมาณให้ผ้าสังฆาฏิห้อยลงเสมอกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ขณะร่วมพิธีต่าง ๆ  ถ้าห่มจีวรจีบ  คาดประคตอก  นิยมพาดผ้าสังฆาฏิให้ชายผ้าสังฆาฏิเท่ากับชายจีบของจีวร  ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ถ้าห่มจีวรม้วนลูกบวบ  นิยมพาดผ้าสังฆาฏิให้ชายด้านหน้าและด้านหลังห้อยลงเท่ากัน
(ระเบียบปฏิบัติขอพระสงฆ์ โดยพระธรรมวโรดม บุญมา คุณสมฺปนฺโน ป.ธ. ๙ )
น้ำมะตูม
การเตรียม 
๑. มะตูมแห้ง  ๔-๕ ชิ้น  ล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งทิ้งไว้
๒. น้ำตาลทราย  พอสมควร
๓. เกลือป่น         เล็กน้อย
๔. น้ำสะอาด       ๒ ลิตร
วิธีทำ
๑. นำน้ำตั้งไฟจนเดือด  ใส่มะตูมแห้งที่เตรียมไว้ลงไป
๒. ตั้งทิ้งไว้สักครู่จนน้ำมะตูมออกเป็นสีน้ำตาล
๓. เติมน้ำตาลทราย และเกลือป่นเล็กน้อย ชิมรสหวานตามชอบ
๔. ใช้ดื่มในขณะที่ร้อนหรือใส่น้ำแข็งก็ได้ แต่ถ้าใส่น้ำแข็งให้ใส่น้ำตาลออกรสหวานมากสักหน่อย
( จากหนังสือเครื่องดื่มสมุนไพร รดา พรรณราย )

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

ข้าวยาขนานดีคู่คนไทย

โรคท้องอืด โดยใช้ข้าวสารและเกลือป่น  นำมาคั่วจนเป็นสีน้ำตาลไหม้  แล้วจึงนำมาต้มกับน้ำ 1-2 ถ้วยตวง จนเดือด  แล้วจึงนำมาพักให้อุ่น ๆ กรองเอาแต่น้ำมาดื่มแทนน้ำก็จะช่วยบรรเทาอาการท้องอืดได้
โรคลมพิษ  โดยใช้ข้าวสารครึ่งกำมือ  ใส่ครกตำให้พอละเอียด  ผสมน้ำเปล่าเท่ากับปริมาณข้าวสาร  แล้วคนให้เข้ากันนำมาทาในบริเวณที่เป็นลมพิาให้ทั่วก่อนนอน  ก็จะช่วยบรรเทาอาการลมพิษได้

คำวัด-เสนอคำว่า สามหาบ, สายสิญจน์, สำรับ

สามหาบ  หมายถึงอาหารคาวหวาน ๓ คู่ ถวายพระสงฆ์เมื่อเวลาเก็บอัฐิ
ที่มาของคำนี้คือ  ประเพณีการเก็บอัฐสมัยโบราณนิยมจัดอาหารคาวหวานอย่างละ ๓ ชุด  ใส่ภาชนะเช่นหม้อดินและกระทงใบตอง  ยกภาชนะนั้นวางบนกระจาดหรือตระกร้าแล้วใส่สาแหรกหาบไปยังที่เผาศพซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในป่า  โดยแบ่งเป็น ๓ ชุด ๆ ละหาบ  ผู้หาบนิยมเป็นผู้ชายและไม่นิยมหาบเดินตามกันไป  แต่จะแยกย้ายกันไปคนละทิศ  พร้อมทั้งส่งเสียงกู่ตะโกนเรียกกันคล้ายกับคนหลงทาง  แล้วมาพบกันที่เผาศพซึ่งมีญาติและพระ ๓ รูปรออยู่  เมื่อทำพิธีเก็บอัฐิเสร็จก็นำอาหารทั้งสามหาบมาถวายพระ ๓ รูป นั้น นี้เป็นความนิยมของแต่ละท้องถิ่น
ปัจจุบันนิยมทำเพียงนำอาหารคาวหวานใส่ปิ่นโต  ๓ ชุดไปถวายพระในที่เก็บอัฐิ  เป็นกิริยาว่าได้ทำสามหาบแล้ว  การทำเช่นนี้น่าจะเรียกว่า "สามหิ้ว " มากกว่า" สามหาบ"
สายสิญจน์  เป็นคำใช้เรียกเส้นด้ายสีขาวยาว ๆ ที่พระถือขณะประนมมือเจริญพระพุทธมนต์หรือที่วงรอบบ้านเรือนเพื่อให้เป็นสิริมงคลเวลาทำบุญที่บ้าน
ในเวลาทำบุญที่บ้านนิยมใช้สายสิญจน์วงรอบบ้านโดยเวียนขวาคือวนให้บ้านอยู่ทางขวามือแล้วโยงมาวนขวาที่ฐานพระพุทธรูปอีกรอบหนึ่งหรือสามรอบ  แล้วคลี่มาวางไว้บนพานซึ่วางอยู่ด้านขวามือของพระภิกษุที่เป็นประธานสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
ด้ายสายสิญจน์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ด้ายปริตร  คือด้ายสายสิญจน์ที่เกิดจากพุทธมนต์ที่พระท่านสวดสาธยายหรือเศกเป่าไว้  ถือกันว่าสามารถป้องกันอันตรายเช่นภูตผีปีศาจได้  และถือว่าเป็นด้ายมงคล  เช่น ด่ายที่จับเป็นวงกลมสองวงสำหรับสวมศรีษะคู่บ่าวสาวซึ่งเรียกว่า มงคลแฝด
สำรับ  สำรับโดยปกติใช้เรียกภาชนะสำหรับใส่กับข้าวคาวหวาน  ใช้เรียกเหมือนกันทั้งในบ้านและในวัด  สำรับคาว  สำรับหวาน
ในคำวัด  เรียกการยกสำรับออกจากหน้าพระเมื่อฉันเสร็จแล้วว่า ถอนสำรับ
สำรับอีกความหมายหนึ่ง  หมายถึงจำนวนพระ ๔ รูปที่สวดศพ  เรียกว่า พระ ๑ สำรับ  หากมีสวด ๘ รูป  ก็เรียกว่า  พระ ๒ สำรับ  และยังใช้เรียกคฤหัสถ์ที่เป็นนักสวดเช่นสวดมาลัยในงานศพสมัยโบราณด้วยว่า  นักสวด ๑ สำรับ
ถ้าเป็นงานศพของหลวง  ใช้พระพิธีธรรมสวด  ก็เรียกว่า  พระพิธีธรรม ๑ สำรับ
(  คำวัด  ของ พระธรรมกิตติวงศ์ ทองดี สุรเตโช ป.ธ. ๙. ราชบัณฑิต )
ยาแก้อาการช้ำใน ท่านให้เอาเม็ดถั่วเขียว  จำนวนมากพอสมควร  นำมาใส่หม้อดินต้มกับน้ำตาลทรายขาว  ใช้กินทั้งเนื้อและน้ำ  อาการช้ำในที่เกิดเพราะตกจากที่สูงหรือถูกระแทกด้วยของแข็ง  จะพลันหายไปอย่างน่าอัศจรรย์แล
ยาแก้อาการปวดหัวเข่า  ท่านให้เอา  ต้นผักเสี้ยนผีทั้งห้า  ( ถอนทั้งต้นตลอดถึงราก ) ล้างน้ำให้สะอาด ๑  ไพล ๑  การบูร ๑  ตัวยาทั้ง ๓ อย่างนี้เอาอย่างละพอสมควร นำมาตำให้ละเอียด  ผสมกับสุรา  คั้นเอาเฉพาะน้ำยา  ใช้ทาถูนวดบริเวณหัวเข่า  มีสรรพคุณแก้โรคปวดหัวเข่า  ได้ผลดีอย่างชงัดนักแล
(พระครูสมุทรวราภรณ์  วัดทรงธรรม  อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
ผัดเผ็ดหอยลาย
ส่วนประกอบ  หอยลาย ๒ ถ้วย   ใบโหระพา ๑ ถ้วย   น้ำปลา ๒ ช้อนโต๊ะ  น้ำมันพืช ๒ ช้อนโต๊ะ  พริกแกง ๒ ช้อนโต๊ะ  นมข้นจืด ๑/๒  น้ำตาลทราย ๑ ช้อนชา
วิธีทำ
๑.  นำกระทะตั้งไฟ  ใส่น้ำมันพืชลงไปนิดหน่อย  เปิดไฟกลาง  จากนั้นใส่พริกแกงลงไปผัดให้หอม
๒. ใส่หอยลายลงไปผัดให้หอยสุก  โดยสังเกตุว่าเปลือกหอยจะอ้าออกจากกัน
๓. จากนั้นจึงค่อยปรุงรสด้วยน้ำปลา  และน้ำตาล  ชิมรสตามชอบ
๔. เมื่อได้รสชาติที่ต้องการแล้ว  จึงค่อยเติมนมข้นจืดลงไป  คลุกเคล้าให้พริกแกงกับหอยลายเข้ากัน
๕. จากนั้นจึงค่อยใส่ใบโหระพาลงไป  ผัดพอโระพาสลดจึงค่อยดับไฟ  ตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ
( ผัดเผ็ด รสเด็ดคู่ครัวไทย  ครัวไพลิน )

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

ต่อจากตอนที่แล้ว

๒๒. ความมีเมตตากรุณา เป็นคุณธรรมอันประเสริฐ  ควรสั่งสม  การสงเคราเคราะห์อนุเคราะห์โดยทั่วไปโดยกระทำ  แต่อย่าให้เกินขอบเขต เด็กหญิง สตรี ต้องพิจารณาดูให้ดีก่อน  จึงให้ให้ความช่วยเหลืออย่าให้เกินพอดี  สัตว์เพศเมียจะเป็นสุนัขหรือสุกร ฯลฯ เป็นต้น  ไม่ควรเลี้ยงเป็นพิเศษ
๒๓. การเดินเวียนศพ  ต้องงดสวมรองเท้า ( แม้ที่พื้นจะร้อนหรือขรุขระ ) และอย่านำย่ามติดตัวไป  หาที่เก็บที่วางเสียให้เรียบร้อยยิ่งเป็นศพพระเถระผู้ใหญ่  ต้องระมัดระวังให้มาก  เพราะเป็นการถวายความเคารพและอาลัยในท่านผู้ล่วงลับ  ถ้าไม่มีด้ายโยงจับถือสมควรประสานมือเดิน
๒๔. การจะขึ้นเมรุ  มิว่ากรณีใด ๆ จะเป็นการบังสุกุล  การพระราชทานเพลิง  การปลงศพทั่วไปก็ตาม  ต้องงดสวมรองเท้าและจัดเครื่องนุ่งห่มให้เรียบร้อยก่อน  จึงค่อยเดินไปโดยประสานมือไม่แกว่งไกว  และเป็นจุดรวมสายตาของคนทั่วไป
๒๕. การถือพัดพิจารณาผ้า  สมควรจัดพัดกลางด้ามพัดด้วยมือซ้าย  เอียงใบพัดมาทางตน  มิใช่บังหน้าเหมือนอย่างอนุโมทนา  ยถา  สัพพี  เพื่อที่สายตาจักได้ทอดลงตรงผ้าที่ทอดไว้  พร้อมทั้งหงายมือขวา ๔ นิ้ว สอดเข้าไปใต้ผ้า  แล้วพิจารณา
๒๖. ผ้าบังสุกุลที่พิจารณาแล้ว  ต้องวางไว้บนข้อศอกพับมือซ้ายซึ่งถือพัดอยู่ด้วย  ส่วนมือขวาปล่อยธรรมดา  ไม่ต้องถืออะไร
๒๗. เพื่อรักษาพระวินัยและรักษาพระศาสนา  สังฆกรรมที่พระสงฆ์จะพึงกระทำเกี่ยวกับ  ( ๑ ) การอุปสมบท ( บวชนาค ) ( ๒ ) ลงอุโบสถสวดพระปาติโมกข์  ( ๓ ) ปวารณาในวันมหาปวารณา  ( ๔ ) รับผ้ากฐิน  ( ๕ ) สวดอัพภาณออกจากอาบัติ ( ๖ ) ถอนพื้นที่ผูกพัทธสีมา  สมควรมี่พระภิกษุผู้ร่วมสังฆกรรมจะปลงอาบัติเพื่อความบริสุทธิ์ของแต่ละรูป ๆ ก่อน เพราะท่านกำหนดพระภิกษุผู้จะเข้าร่วมสังฆกรรมต้องเป็นพระปกตัตตะจึงควร
( หนังสือระเบียบของพระสงฆ์ พระธรรมวโรดม โดยสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ฐานิสฺสรมหาเถร) ก.ท.ม.)
ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊ว  ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊ว
ส่วนประกอบ  เนื้อหมู  ๑  ถ้วย   ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ ๔ ขีด  ไข่ไก่ ๒ ฟอง  กระเทียม ๑ หัว  ผักคะน้า ๒ ต้น  น้ำมันพืช  ๓ ช้อนโต๊ะ  น้ำปลา ๑ ช้อนโต๊ะ  น้ำส้มสายชู ๑ ช้อนโต๊ะ  มะเขือเทศ ๕ ผล  ใบกะเพรา ๑/๒  น้ำตาลเล็กน้อย
วิธีทำ 
๑.  ยีเส้นก๋วยเตี๋ยวแล้วนำไป  คลุกกับซีอิ๊วดำให้ทั่ว
๒.  เนื้อหมูหั่นเป็นชิ้นพอคำ  คะน้าล้างให้สะอาดหั่นเฉียง
๓.  ตั้งกระทะใส่น้ำมัน  เจียวกระเทียมพอหอม  ใส่เนื้อหมู  ผัดพอสุก ใส่เส้นก๋วยเตี๋ยว  คะน้า ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลทราย ซึอิ๊วขาว
๔.  ตักใส่จาน  โรยด้วยพริกไทย
ยำ ไข่แมงดา     ยำ  ไข่แมงดา   ยำ  ไข่แมงดา
ส่วประกอบ  ไข่แมงดาทะเล  ๒ ขีด   หอมแดง ๗   ผักชี  พริกชีฟ้า  น้ำปลา  น้ำมะนาว  น้ำตาลทราย
วิธีทำ
๑. นำไข่แมงดาไปนึ่งให้สุก
๒. หอมแดงปลอกเปลือกซอยตามยาว  เด็ดผักชีเตรียมไว้
๓. พริกชี้ฟ้าหั่นฝอยตามยาว
๔. นำไข่แมงดา  หอมซอย  พริกชี้ฟ้า  เคล้าให้เข้ากัน  ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว  น้ำตาลทราย  น้ำปลา  คลุกเคล้าพอเข้ากัน  ชิมรสตามชอบใจ
๕. ตักใส่จาน  ควรรับประทานทันที

อาจาระที่ควรศึกษา

๑. การนุ่ง การห่ม ต้องให้เป็นปริมณฑล  คือมีความเรียบร้อยตามพระวินัย การนุ่งอันตรวาสก (สบง ) ต้องให้ปิดนาภี (สะดือ) ต่ำลงไปครึ่งแข้ง  หรือต่ำกว่าเข่า ๘ นิ้ว สูงกว่าสบงประมาณ ๔ นิ้ว ถ้าห่มม้วนลูกบวบต้องจัดชายผ้าให้เสมอกันจึงม้วนผ้า ไม่ควรรวบๆ ผ้าแล้วม้วน ชายผ้าจะแตก ห่มแล้วดูปุ้มป้ามไม่เรียบร้อย ไม่น่าดู
๒. การฉัน สมควรถวายข้าวพระพุทธเสียก่อน  เพื่อเป็นพุทธบูชา เป็นธรรมเนียมมีมาตั้งแต่สมัยลังกาวงศ์ มีเรื่องปรากฏในคัมภีร์สารัตถสังคหะ  แล้วพิจารณาตังขณิกปัจจเวกขณะ ( ปฏิสงฺขาโย โยนิโส ปิณฺฑปาตํ ปฏิเสวามิ ฯเปฯ ) ต้องศึกษาธรรมเนียมการฉันในเสขิยวัตรให้ถี่ถ้วน ในยุคปัจจุบันนี่นิยมใช้ช้อนกลาง ต้องใช้ช้อนกลางด้วย
๓. การรับประเคน  โดยทั่วไปควรรับสองมือ  เป็นการเพิ่มศรัทธาปสาทะแก่ผู้ถวาย เว้นแต่ของที่ถวายเป็นของเล็กไม่เหมาะที่จะรับสองมือ จึงควรรับมือเดียว ถ้าเป็นสุภาพสตรี ควรใช้ผ้ากราบรับต้องเตรียมผ้ากราบติดตัวไว้เสมอ
๔. การนั่ง จะนั่งในวัดก็ตาม ในบ้านก็ตาม ควรพยายามนั่งให้ตัวตรงไว้ งดงามดี
๕. การนั่งพับเพียบทุกกรณี ควนนั่งเก็บปลายเท้า
ไว้ข้างใน ให้หัวแม่เท้าม้วนเข้ามาใกล้กัน ต้องคอยระวังอย่าให้ปลายเท้ากางออกไป ไม่งดงาม
๖. การนั่งรับพระราชทานผ้ากฐิน  ต้องนั่งเข่าซ้ายทับปลายเท้าขวา  เรียกสั้นๆว่า ซ้ายทับขวา  เพราะจะช่วยเก็บปลายเท้าไม่ให้ยื่นออกไปข้างนอก  เมื่อทำพิธีสังฆกรรมสวดให้ผ้ากฐินจะไม่เห็นปลายเท้าในภายนอก งดงามดี
๗. หนวด เครา ต้องโกนทุกๆ ๓ วัน ถ้าปล่อยไว้เกิน ๓ วัน ดูไม่สมควร ทำให้หน้าตาเศร้าหมอง ในวันรับผ้าพระกฐินต้องโกนหนวดเครา ตัดเล็บ ให้สะอาดหมดจดด้วย
๘. สีจีวร ต้องเหมือนกันทุกรูป โดยเฉพาะเพื่อรักษาพระราชศรัทธา สมควรเป็นสีพระราชนิยม (เหลืองหม่น) และระวังอย่าให้มีกลิ่นเหม็นสาบ ราะเป็นกาเพรรบกวนผู้อื่น
๙. การนั่งประนมมือ ควรประนมให้นิ้วเสมอกัน และกระพุ่มมือเล็กน้อยให้มีลักษณะคล้ายดอกบัว วางมือในระหว่างอกพอดี  และระวังไว้ไม่ให้ลดต่ำลงไป
๑๐. การเจริญพระพุทธมนต์ หรือสวดพระพุทธมนต์ ควรนั่งตัวตรง  ทอดสายตาลงต่ำ ไม่เหลียวซ้ายแลขวา ส่ายหน้าไปมาตามความพอใจ หรือหงายหน้าทอดสายตาดูไกล
๑๑. ในการออกเสียงสวดมนต์ ต้องฟังเสียงหัวหน้าต้นเสียงใช้เสียงต่ำหรือเสียงสูง เร็วหรือช้า ถ้าต้นเสียงใช้เสียงสูงต้องสูงตาม ถ้าต่ำต้องต่ำตาม  ถ้าเร็วต้องเร็วตาม  ถ้าช้าต้องช้าตาม ต้องคอยระวังเสียงและจังหวะให้เสมอกัน ให้กลมกลืนกัน มิใช่ต่างรูปต่างว่า ไม่พร้อมกัน ไม่กลมกลืนกัน ผู้ฟังไม่สบายหู ไม่สบายใจ เกิดความรำคาญไม่ประสงค์จะฟัง เสื่อมศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใส
๑๒. การเจริญการสวดพระพุทธมนต์  คณะมหานิกาย กำหนดแบบสังโยคเป็นหลัก คือหยุดที่ตัวสะกด หรือที่ตัวซ้อน คือ อก อัก อุก อด อัด อิด อุด อบ อับ อิบ อุบ  แม้ในอักษรอื่นก็เหมือนกัน รัสสะสระ คือ อะ อิ อุ เสียงสั้น ต้องออกเสียงสั้น  ทีฆะสระ คือ อา อี อู เอ โอ เสียงยาวต้องออกเสียงยาว อัฑฒะสระ ออกเสียงกึ่งมาตรา เช่น ยสฺมา  ยสฺมึ  ตสฺมา ตสฺมึ  ออกเสียงสระอะ เพียงนิดหน่อย  อย่าออกเสียงเต็มตัว เช่น ยัดสะมา ยัดสะมิง ตัสะมา ตัดสะมิง  แม้ในที่อื่นก็เช่นกัน
    ข้อสำคัญ ต้องฟังกัน มีความรู้สึกว่าจะสวดให้พร้อมกันและพยายามให้พร้อมกันโดยไม่สวดเร็วนัก ไม่ช้านัก อยูในประเภทสายกลาง ๆ เป็นพอดี กลัวผิด กลัวผลาด กลัวจะไม่เพราะเป็นสำคัญ
๑๓. ขณะเจริญหรือสวดพระพุทธมนต์ ไม่ดื่มน้ำ ไม่หยิบโน่นฉวยนี่ ตั้งสมาธิจิตในการสวดการเจริญ เว้นไว้แต่จำเป็น เช่น ไอ จาม เป็นต้น แม้จะมีเหงื่อก็หากระดาษหรือผ้าซับให้แห้งโดยเร็ว ไม่อ้อยอิ่งยืดยาด
๑๔. กล้องถ่ายรูป กล้องส่องทางไกล มีประกาศคณะสงฆ์ห้ามไว้แล้ว  เครื่องถ่ายวีดีโอ บันทึกภาพ โทรศัพท์มือถือ ไม่ควรใช้ ไม่เหมาะสมแก่สมณสารูป  เพราะเป็นของคฤหัสถ์หรือนักธุรกิจเขาใช้กัน พระภิกษุสามเณรที่ดีไม่ควรมี ไม่ควรใช้
๑๕. โทรศัพท์มือถือ  ไม่เหมาะสมแก่ภิกษุสามเณร  บางรูปมีใช้ประจำตัวนำไปใช้ในบ้าน ในวงอาหาร หรือตามถนนหนทาง ทั้งในวัดและในบ้าน ไม่น่าดูไม่งดงาม เสียสมณสารูป
๑๖. แว่นดำ ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรสวม เว้นแต่ตาเจ็บหรือนายแพทย์สั่ง เพราะดูไม่เหมาะสมแก่พระภิกษุสามเณร เวลาปลงผมใหม่ๆ ยิ่งไม่น่าดูมาก
๑๗. ฟันปลอม สำหรับผูใส่ฟันส่วนใดส่วนหนึ่งก็ดี  หรือทั้งล่างบนก็ดี เมื่อฉันเสร็จแล้วคงต้องชำระให้สะอาด เพราะรำคาญแต่ไม่สมควรชำระในวงฉันหรือในที่ฉันหลายรูป เพราะอาจเป็นที่รำคาญตาของผู้อื่น
๑๘. การนั่งรถยนต์ร่วมกับสตรี ( สตรีหลายคน พรุภิกษุรูปเดียว ) การนั่งรถยนต์โดยสตรีเป็นผู้ขับ (หนึ่งต่อหนึ่ง) จะด้วยเหตุใดก็ตาม เป็นการไม่สมควร เป็นโลกวัชชะ มีพระบัญญัติห้ามไว้แล้ว  ในการที่พระภิกษุเดินทางร่วมกับนางภิกษุณี
๑๙. การขับรถยนต์ด้วยตนเอง มิว่ากรณีใด ๆ ไม่สมควรเป็นโลกวัชชะ เป็นกิริยาอาการของคฤหัสถ์ผิดพระวินัย ผิดกฏหมายบ้านเมือง พระสังฆาธิการกระทำย่อมมีโทษผิดจริยาพระสังฆาธิการอีกทางหนึ่ง
๒๐. การนั่ง การนอนในที่ลับตา ( ไม่มีคนเห็น ) ในที่ลับหู ( คนอื่นไม่ได้ยินเสียง ) กับสตรีไม่สมควร เป็นโลกวัชชะ มีพระบัญญัติไว้แล้วว่าเป็นอนิยต  พระสังฆาธิการประพฤติย่อมมีโทษทางจริยาพระสังฆาธิการอีกทางหนึ่ง
๒๑. อย่าเชื่อคนง่าย อย่าเห็นแก่ได้ ปัจจุบันนี้มีพวกมิจฉาชีพเป็นจำนวนมากมาในรูปแบบต่างๆ กัน ในรูปนักบุญก็มี ในรูปนักบาปก็มี เจ้าอาวาสหลายวัดหลายแห่งเสียเงิน (จำนวนแสน) เสียชื่อเสียง เสียความประพฤติ ( ต้องสึก ) เสียชีวิต (ถูกฆ่า) ก็มี จึงสมควรระวังไว้อย่าเชื่ีอคนง่ายอย่าเห็นแก่ได้ เพื่อไม่ให้เกิดเสียหายแก่วัดและพระศาสนา
( ต่อตอนหน้า)

วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

คำวัด

วันนี้เสนอคำว่า จำวัด
จำวัด  หมายถึงการนอนพักผ่อน  การนอนหลับของพระภิกษุสามเณร
จำวัด  ปกติใช้ในกรณีการนอนพักผ่อนในตอนกลางวัน  กรณีการนอนตอนกลางคืนตามปกติใช้ว่า "นอน" ธรรมดา  เช่นใช้ว่า
"เจ้าอาวาสกำลังจำวัด  อย่าไปรบกวนท่าน"  หมายความว่าท่านนอนพัพผ่อนอยู่
" เวลานี้ท่านนอนแล้ว  พรุ่งนี้ค่อยมาใหม่"  หมายความว่าท่านเข้านอนตามปกติแล้ว
ปัจจุบันมักใช้คำว่า "จำวัด" ในความหมายว่า " พักอยู่  ประจำอยู่ " เช่นต้องการทราบว่าพระพักอยู่ที่ไหนจึงถามว่า " ท่านจำวัดอยู่ที่ไหน" ซึ่งเป็นการใช้ที่ผิด  เพราะข้อความข้างต้นมีความหมายว่า " ท่านนอนอยู่ที่วัดไหน"
คำว่า  " ฉัน "
ฉัน  ในคำวัดใช้ใน  ๒  ความหมาย  คือ
๑.  ใช้แทนคำว่า กิน และ ดื่ม ของพระภิกษุสามเณร  เช่นใช้ว่า
-ฉันภัตตาหาร  ฉันเช้า  ฉันเพล
-ดื่มน้ำปานะ  ดื่มน้ำส้ม
๒.  ใช้แทนตัวเองเมื่อพระภิกษุสามเณรพูดกับชาวบ้านที่คุ้นเคยหรือที่ไม่เป็นทางการ  คือใช้แทนคำว่า  อาตมา  หรือ  อาตมาภาพ  ซึ่งเป็นภาษาเขียนและค่อนข้างเป็นทางการ  เช่นใช้ว่า
" วันนี้ฉันไม่ว่าง  ขอไปวันอื่นก็แล้วกัน "
" ฉันขอร้องโยมละ  ค่อย ๆ พูดกันก็ได้ "
ฉัน  ในความหมายหลังนี้  นัยว่ามาจากคำเต็มว่า  ดีฉัน  ซึ่งเป็นคำที่ผู้ชายใช้พูดแทนตัวเองในสมัยก่อน  ปัจจุบันคำว่า ดีฉัน  ไม่นิยมใช้กันแล้ว  ใช้ว่า  ฉัน  เฉย ๆ
(พจนาตถ์เพื่อการเรียนรู้พุทธศาสน์เบื้องต้น คำวัด พระธรรมกิตติวงศ์ ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ราชบัณฑิต)
ยำไข่เค็มกรอบ
ไข่เค็ม  ๔  ฟอง   แป้งทอดกรอบ  ๑/๒  ถ้วย   ผักชีซอย  ๒  ช้อนโต๊ะ  หอมแดงซอย  ๒  ช้อนโต๊ะ    พริกขี้หนูซอย  ๑  ช้อนโต๊ะ   น้ำมะนาว  ๑  ช้อนโต๊ะ    น้ำตาล  ๑  ช้อนชา
วิธีทำ
๑.  ปลอกไข่เค็ม
๒.  ผสมแป้งทอดกรอบกับน้ำเย็น  คนให้เข้ากัน นำไข่เค็มไปชุบแล้วนำไปทอดจนกรอบ
๓.  นำไขที่ชุบแป้งทอดแล้วมาผ่าออกเป็น ๔ ส่วน จัดใส่จาน
๔.  นำน้ำมะนาว น้ำตาลใส่ลงภาชนะสำหรับผสม คนให้เข้ากัน ชิมรสให้เปรี้ยวนำหวานตาม
๕.  จากนั้นจึงใส่หอมแดง  พริกขี้หนูซอย และใส่ผักชีซอย  คลุกผสมอีกครั้ง  แล้วราดลงบนไข่เค็ม เป็นอันเสร็จพร้อมเสิร์ฟ
ยำกุ้งแห้ง
กุ้งแห้ง  ๑  ถ้วย  ขิงซอย  ๑  ช้อนโต๊ะ   พริกขี้หนูซอย  ๑  ช้อนชา  หอมแดงซอย  ๑  ช้อนโต๊ะ   ต้นหอมซอย ๑  ช้อนโต๊ะ   น้ำมะนาว ๒ ช้อนโต๊ะ   น้ำตาลทราย  ๑  ช้อนชา
วิธีทำ
๑.  เตรียมภาชนะสำหรับผสม  ให้นำกุ้งแห้ง ขิงซอย  หอมแดงซอย  พริกขี้หนูซอย  ใส่ลงในภาชนะ  คลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน
๒.  ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว  และน้ำตาลทราย  ชิมรสให้เปรี้ยวนำหวานนิดหน่อย  ถ้าลองชิมพร้อมกุ้งแห้งก็จะได้รสชาติที่อร่อย  คลุกเคล้าให้เข้ากันอีกรอบ
๓.  จากนั้นโรยด้วยต้นหอม  พร้อมเสิร์ฟ
(คัมภีร์ ข้าวต้มกุ๊ย กินเหงื่อตก ยกซดอร่อย  ทำขายรวยเป็น ล้าน    ครัวไพลิน เรียบเรียง ไพลิน คิชเช่่น)

วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555

ข้าวมันไก่

ส่วนประกอบ
ไก่ทำแล้ว  ๑/๒ ตัว   ข้าวสาร(หอมมะลิ) ๒ ถ้วย   เกลือป่น  ๑ ช้อนชา    กระเทียมสับ ๑ หัว   น้ำต้มกระดูกไก่ ๒ ถ้วย   มันไก้สับ ๒ ช้อนโต๊ะ   แตงกวา ๒ ผล   ผักชีหั่นหยาบ
วิธีทำ
๑. นำหม้อใส่น้ำต้มไก่พอเดือด เบาไฟให้อ่อน เคี่ยวต่อไปเรื่อยๆ ประมาณ ๒๐ นาที เอาไก่ออกแขวน
๒. นำกระทะขึ้นตั้งบนเตา ใส่มันไก่ลงเจียว พอหอม ใส่ข้าวสารลงผัดด้วยกันและใส่เกลือป่น
๓. นำข้าวสารที่ผัดกับมันไก่และกระเทียมไปหุงในหม้อหุงข้าวกะให้พอดี ปิดฝาหม้อ
ส่วนประกอบน้ำจิ้ม
เต้าเจี้ยวสับละเอียด ๒ ช้อนโต๊ะ  พริกขี้หนูสับละเอียด ๑ช้อนโต๊ะ  ขิงแก่สับละเอียด ๑ ช้อนโต๊ะ  น้ำตาล ๑/๒ ช้อนโต๊ะ  น้ำส้มสายชู ๑/๒ ช้อนโต๊ะ 
วิธีทำ
นำส่วนผสมทั้งหมดผสมกันคนให้ทั่ว ปรุงรสตามชอบใจ
การจัดรับประทาน
ตักข้าวมันไก่ใส่จาน นำไก่มาสับเป็นชิ้น เอาเฉพาะเนื้อไก่วางลงบนข้าว หั่นแตงกวาวางไว้ด้านบนของจาน โรยหน้าด้วยผักชี ส่วนน้ำจิ้มข้ามมันไก่ตักใส่ถ้วยเล็กๆ รับประทานพร้อมกัน
ข้าวต้มปลาหมึก
ส่วนประกอบ  ข้าวสาร ๒ ถ้วย   ปลาหมึกสดตัวเล็ก ๔ ขีด  เนื้อหมู ๒ ขีด  กระเทียมเจียว ๑ ถ้วย  กระเทียม  พริกไทย  ต้นหอม ผักชี ตั่งฉ่าย  รากผักชี  พริกไทยป่น น้ำปลา
วิธีทำ
๑. ซาวข้าวสารล้างให้สะอาด นำไปหุงให้สุก
๒. ลอกหนังปลาหมึก ล้างให้สะอาด ใส่จานไว้
๓. เนื้อหมูล้าง สับให้ละเอียด
๔. โขลกรากผักชี กระเทียม พริกไทยให้ละเอียด นำไปคลุกเคล้ากับเนื้อหมูสับละเอียด ผสมน้ำปลาใส่ไปในตัวปลาหมึก
๕. นำหม้อใส่น้ำต้มให้เดือด ใส่ปลาหมึกยัดไส้ต้มให้สุก เติมน้ำปลา ตักข้าวที่หุงสุกแล้วใส่คนให้เข้ากัน เดือดแล้วยกลง
๖. ตักข้าวต้มใส่ชาม โรยต้นหอม ผักชี ตังฉ่าย กระเทียมเจียว พริกไทยป่น
ระเบียบปฏิบัติการถวายเทียนชนวนแก่พระเถระผู้ใหญ่
การเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้  พระภิษุหรือฆราวาส ผู้เป็นพิธีกร ทำหน้าที่ถวายเทียนชนวนแก่พระเถระผู้ใหญ่ ผู้เป็นประธานพิธีงานนั้น เบื้องต้นจะต้องเตรียมจัดหาอุปกรณ์เครื่องใช้ไว้ให้พรักพร้อม คือ
๑. เชิงเทียนขนาดกลาง ๑ ที่( ควรเป็นเชิงเทียนทองเหลืองเพราะติดเทียนได้มั่นคงดี)
๒. เทียนขี้ผึ้งขนาดใหญ่พอสมควร ๑ เล่ม (ควรหาเทียนที่มีใส้ใหญ๋ ๆ เพื่อไม่ดับง่าย)
๓. น้ำมันยาง หรือน้ำมันก๊าด หรือน้ำมันเบนซิน พร้อมทั้งสำลีสำหรับใช้เป็นชนวนติดไว้ที่ธูป และเทียนที่บูชา เพื่อสะดวกแก่การจุดไฟติดได้เร็ว
วิธีการถือเชิงเทียนชนวน  การถือเชิงเทียนชนวนถวายพระเถระผู้ใหญ่ ผู้เป็นประธานพิธีทั้งหลาย  นิยมถือด้วยมือขวา โดยหงายฝ่ามือนิ้วมือทั้ง ๔ นื้ว รองรับเชิงเทียน หังแม่มือจับอยู่เบื้องบนของเชิงเทียน  ไม่นิยมจับกึ่งกลางของเชิงเทียน เพราะทำให้ผู้ใหญ่รับเชิงเทียนไม่สะดวก หรือทำให้ผูใหญ่บางท่านต้องเสียภูมิ เพราะจับเชิงเทียนภายใต้มือของผู้ส่งให้ แสดงว่าไม่ทราบระเบียบ
วิธีการถวายเชิงเทียน   เมื่อถึงเวลาตามกำหนดแล้ว  พิธีกรจุดเทียนชนวนถือด้วยมือขวา ( มือซ้ายควรถือไม้ขีดไฟ ติดมือไปด้วย เมื่อเทียนชนวนดับจะได้จุดได้ทันท่วงที) เดินเข้าไปหาท่านโดยน้อมตัวลงเล็กน้อย หรือ  เมื่อพิธีกรณ์เริ่มจุดเทียนชนวน พระเถระผู้เป็นประธานพิธีท่านเห็นแล้วลุกจากที่นั่ง เดินไปที่โต๊ะหมู่บูชาเอง ก็เดินตามหลังท่านไป  โดยเดินตามไปทางด้านซ้ายมือของท่าน  เมื่อท่านหยุดยืน  หรือนั่งคุกเข่าที่หน้าบูชาแล้ว พิธีกรนั่งคุกเข่า หรือนั่งชันเข่า ทาวด้านซ้ายมือของท่าน ยื่นมือขวาส่งเทียนชนวนถวายท่าน ส่วนมือซ้ายห้อยอยู่ข้างตัว  เมื่อถวายเทียนชนวนแล้ว  นิยมถอยหลังออกมาให้ห่างจากท่านพอสมควร  เพื่อไม่ขัดขวางทางการถ่ายรูปของช่างภาพ  โดยถอยออกมานั่งคุกเข่า  หรือนั่งชันเข่าตามควรแก่กรณี
วิธีการรับเทียนชนวนจากพระเถระผู้ใหญ่   เมื่อท่านจุดเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว  พิธีกรพึงเข้าไปทางด้านซ้ายมือของท่าน  นั่งคุกเข่า  หรือนั่งชันเข่าอย่างใดอย่างหนึ่ง  คือถ้าท่านนั่งจุด  ก็นั่งคุกเข่ารับเทียนชนวน  ถ้าท่านยืนจุดก็นั่งชันเข่ารับเทียนชนวน   การรับเทียนชนวนจากมือของพระเถระผู้ใหญ่นั้น  นิยมยื่นมือขวาแบมือเข้าไปรองรับเชิงเทียนจากท่าน  เมื่อรับแล้วก็ถอยหลังห่างออกไปเล็กน้อย  แล้วเดินกลับไปได้
ข้อควรสังวรระวัง    อย่าจับเชิงเทียนชนวนเหนือมือพระเถระผู้ใหญ่ที่ท่านจับอยู่  ถือว่าเป็นการแสดงความไม่เคารพท่าน     ขณะส่งเชิงเทียนชนวนถวาย  อย่าถือกึ่งกลางเชิงเทียนชนวนส่งให้ท่าน  เพราะทำให้ท่านรับเชิงเทียนชนวนไม่สะดวก    ต้องเตรียมไม้ขีดไฟ  เป็นต้น  ติดมือไปด้วย  สำหรับจุดได้ทันทีเมื่อเทียนชนวนดับ   ต้องกำหนดดูทิศทางของลมที่พัดมา  โดยเฉพาะคือทิศทางลมที่เกิดจากลมพัด  จะทำให้เทียนชนวนดับ  หรือจะทำให้การจุด  เครื่องสักการะบูชาไม่ติด   ถ้าเป็นงานมงคลมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ถึงมงคลสูตร ( อเสวนา ) พิธีกรจะต้องจุดเทียนชนวนเข้าไปถวายพระเถระผู้ใหญ่ ผู้เป็นประธานพิธีอีกครั้งหนึ่ง  โดยมีวิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว
(จากหนังสือ ระเบียบปฏิบัติของพระสงฆ์ไทย  พระธรรมวโรดม บุญมา คุณสมฺปนฺโน ป.ธ. ๙ )
 

วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

ภิกษุบอกอาบัติชั่งหยาบของภิษุอื่นแก่อนุปสัมปัน (ผุ้มิใช่ภืกษุ) ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมมติ (ได้รับหมอบหมาย).

นิทานต้นบัญญัติ
ภิกษุฉัพพัคีย์ ทะเลาะกับพระอุปนันทะ ศากยบุตร เลยแกล้งประจานพระอุปนันทะกับพวกอบาสกที่กำลังเลี้ยงพระว่าพระอุปนันทะต้องอาบัติสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑  พระผู้มีพระภาคทรงทราบ  จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน (ผุ้มิได้เป็นภิกษุหรือภิกษุณี) ต้องปาจิตตีย์  เว้นไว้แต่ได้รับสมมติ.
อธิบาย   ลักษณะแห่งอาบัติชั่วหยาบ
อาบัติชั่วหยาบนั้น  ในคัมภีร์วิภังค์ (หนังสือจำแนกความอธิบายความแห่งสิกขาบทให้ชัดเจน) แก้ว่า ปาราชิก ๔  สังฆาทิเสส ๑๓.
ความมุ่หมายแห่งสิกขาบท
ทรงบัญญัติไว้  เพื่อจะห้ามไม่ให้ภิกษุเอาความเสียหายของกันไปประจาน
ลักษณะแห่งอาบัตฺ
ภิกษุผู้ได้รับสมมติ (ได้รับหมอบหมายให้บอก) นั้น กำหนดอาบัติก็มี กำหนดสกุลก็มี ไม่กำหนดก็มี ได้รับสมมติอย่างใด  ต้องบอกอย่างนั้น ทำนอกเหนือไปต้องปาจิตตีย์เหมือนกัน  บอกอาบัติไม่ชั่วหยาบ เป็นทุกกฏ.
ก๋วยเตี๋ยว  ราดหน้า  ก๋วยเตี๋ยว  ราดหน้า  ก๋วยเตี๋ยว  ราดหน้า   ก๋วยเตี๋ยว  ราดหน้า  ก๋วยเตี๋ยว   ราดหน้า
ส่วนประกอบ     ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่  ๕ ขีด     ผักคะน้า  ๓  ขีด    เนื้อหมู  ๓  ขีด  น้ำมันพืช  ๓  ช้อนโต๊ะ  กระเทียม  ๒  หัว   เต้าเจี้ยวดำ  ๑ ช้อนโต๊ะ    ซีอิ๊วดำ ๑  ช้อนโต๊ะ    น้ำปลา  ๒  ช้อนโต๊ะ    น้ำตาล  ๑  ช้อนโต๊ะ    แป้งมัน  ๑  ช้ินโต๊ะ   พริกชี้ฟ้า  ๕  เม็ด     น้ำส้มสายชู  ๒  ช้อนโต๊ะ  พริกไทยป่น
วิธีทำ
๑.  ล้างเนื้อหมูให้สะอาด  หั่นเป็นชิ้นพอพอคำ
๒.  ล้างผักคะน้าแล้วหั่นเป็นท่อนๆ แยกก้านไว้
๓.  แป้งมันละลายน้ำพอสมควร
๔.  นำกระทะขึ้นตั้งบนเตา  ใส่น้ำมันพืชเล็กน้อย  นำเส้นก๋วยเตี๋ยว  ลงผัด   ใส่ซีอิ๊วดำผัดให้ทั่ว  ตักขึ้นใส่จานพักไว้
๕.  นำกระทะขึ้นตั้งบนเตา  ใส่น้ำมันพืชเล็กน้อย  ใส่กระเทียมเจียวพอหอม  ใส่เต้าเจียวดำ  ใส่เนื้อหมูลงผัด  พอสุกใส่ผักคะน้า  ใส่เฉพาะก้านลงผัดก่อนแล้วใส่ใบตาม  สักครู่ใส่แป้งมันลงไปคนให้เข้ากัน  ปรุงรสด้วยน้ำปลา  น้ำตาล  พอเดือดยกลง
๖.  หั่นพริกชี้ฟ้าเป็นวงกลมเล็กๆ  ผสมกับน้ำส้มสายชู
๗.  ตักราดใส่จานเส้นก๋วยเตี๋ยวที่เตรียมไว้  โรยพริกไทยป่น
๘.  ปรุงรสด้วยน้ำตาล  น้ำปลา  พริกน้ำส้มดองตามชอบ  รัปประทานร้อนๆ
(ตำรับเด็ด  อาหารจานด่วน  ของนายเปรี้ยวหวาน )  bigcat  นำมาตีแผ่

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

ด่าภิกษุ ต้องปาจิตตีย์

นิทานต้นบัญญัติ
ภิกษุฉัพพัคคีย์  ทะเลาะกับภิกษุผู้มีศีลอันเป็นที่รักอื่น ๆ  แล้วด่า  แช่ง  ด้วยคำด่า ๑๐ ประการ  คือ  ถ้อยคำที่พาดพิงถึง  ชาติ (กำเนิด), ชื่อ, โคตร, การงาน, ศิลปะ, อาพาธ, เพศ, กิเลส, อาบัติ, และคำด่าที่เลว  พระผู้มรพระภาคทรงทราบจึงทรงบัญญัติสิกขาบท  ปรับอาบัติปาจิตตีย์  แก่ภิกษุผู้ด่ภิกษุอื่น.
อธิบาย ลักษณะคำด่า
โอมสวาท(คำด่า) นั้น  คือคำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจ  พร้อมด้วยจิตปรารถนาจะให้เขาเจ็บใจ  และวัตถุสำหรับอ้างขึ้นกล่าวเสียดแทงนั้น  คือ  ชาติได้แก่ชั้นหรือกำเนิดของตน ๑  ชื่อ ๑  โคตรคือแซ่ ๑  การงาน ๑  ศิลปะ ๑  โรค ๑  รูปพรรณสันฐาน ๑  กิเลส ๑   อาบัติ ๑  คำสบประมาทอย่างอื่นอีก ๑  รวมเป็น ๑๐ นี้  เรียกว่าอักโกสวัตถุ  แปลว่าเรื่องสำหรับด่า
กิริยาเสียดแทง
๑.  แกล้งพูดยกย่องด้วนเรื่องที่เกินความจริงกระทบถึงชาติเป็นต้นเรียกว่าพูดแดกดันบ้าง  พูดประชดบ้าง (กล่าวกระทบกระแทกหรือประชดเพราะความไม่พอใจ)
๒. พูดกดให้เลวลง (ใช้ถ้อยคำว่าคนอื่นด้วยคำหยาบช้าเลวทราม) เรียกว่าด่า.
ทุพภาสิตาบัติ
ไม่ได้เพ่งความเจ็บใจหรือความอัปยศ  พูดล้อเล่น  แต่กระทบวัตถุ (เรื่อง) มีชาติกำเนิด, ชาติตระกูล, เป็นต้น  กับอุปสัมบันก็ตาม  พูดเจาะตัวก็ตาม  พูดเปรยๆ ก็ตาม  เป็นทุพภาษิตเหมือนกัน
ลักษณะแห่งอาบัติ
อาบัติในสิกขาบทนี้  เป็นสจิตตกะเหมือนกัน  เพราะฉะนั้น  ถ้ามุ่งอรรถมุ่งธรรมมุ่งสั่งสอน  แม้กล่าวถึงชาติกำเนิดเป็นต้น  ไม่เป็นอาบัติ.
อาหารจานด่วน  ข้าวผัดสามสหาย
ส่วนประกอบ   
ข้าวสวย  ๒  ถ้วย      น้ำมันพืช  ๒  ช้อนโต๊ะ      หอมใหญ่   ๑  หัว    เนื้อหมูหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ  ๑  ขีด    ฟักทองดิบหั่นเล็กๆ  ๕๐  กรัม   ถั่วฝักยาวหั่นยาว  ๔  ฝัก    มะเขือเทศหั่นเล็กๆ  ๕๐  กรัม  ถั่วแดงต้มสุก  ๕๐  กรัม  ถั่วเขียวต้มสุก  ๕๐  กรัม   น้ำปลา  ๒  ช้อนโต๊ะ   น้ำตาล  ๑  ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
๑.   นำกระทะขึ้นตั้งบนเตา  ใส่น้ำมันพืช  หอมใหญ่ผัดพอสุก  ใส่เนื้อหมูลงผัดต่อ  ใส่ข้าวสวย  ถั่วแดงต้ม  ถั่วเขียวต้ม  ถั่วฝักยาว  ฟักทอง  มะเขือเทศ  ผัดให้เข้ากันปรุงรสด้วยน้ำปลาน้ำตาลสุกแล้วยกลง
๒.  ตักใส่จานรับประทานได้เลย.

วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

ข้วผัดต้มยำทะเล

ส่วนประกอบ
๑. ข้าวสวย ๑ ถ้วย
๒. กุ้ง ๓ ตัว
๓. น้ำพริกเผา ๒ ช้อนโต๊ะ
๔. ใบมะดรูดฉีก ๒ ใบ
๕. น้ำมะนาว ๑ ช้อนโต๊ะ
๖. น้ำตาลทราย ๑ ช้อนชา
๗. ข่าหั่นแว่น ๔ แว่น
๘. ปลาหมึก ๔ ชิ้น
๙. หอยแมลงภู่ ๑๐ ตัว
๑๐ ตะไคร้หั่นทุบ ๓ ท่อน
๑๑ น้ำปลา ๑ ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
๑. นำกระทะตั้งไฟอ่อน  ใส่น้ำพริกเผาลงไปผัด  แล้วจึงค่อยใส่หอย  ปลาหมึก  และกุ้ง  ลงไปผัดให้สุก
๒. จากนั้นจึงใส่ตะไคร้หั่นทุบ  ใบมะกรูดฉีก  ข่าหั่นแว่นลงไปผัด  ถ้าแห้งเกินไปอาจจะเติมน้ำลงไปนิดหน่อย
๓. ผัดจนเครื่องทะเลสุก  จึงค่อยใส่ข้าวลงไปผัด
๔. ผัดข้าวให้พอแห้งแล้วจึงค่อยปรุงรสด้วยน้ำปลา  น้ำตาล  น้ำมะนาว  ชิมรสให้เปรี้ยวนำ  เค็ม  หวาน  กำลังดี
๕. ผัดต่ออีกสักพักจนข้าวแห้งดี  แล้วจึงค่อยตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ
คำถวายสังทาน(สามัญ)
อิมานิ   มะยัง  ภันเต   ภัตตานิ  สะปะริวารานิ  ภิกขุสังฆัสสะ   โอโณชะยามะ  สาธุ  โน  ภันเต   ภิกขุสังโฆ   อิมานิ  ภัตตานิ  สะปะริวารานิ   ปะฏิคคัณหาตุ   อัมหากัง   ทีฆะรัตตัง   หิตายะ  สุขายะ   
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ   ข้าพเจ้าทั้งหลาย   ขอน้อมถวายภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย   เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนานเทอญ. 

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ประทุษร้ายสกุล

ภิกษุประทุษร้ายสกุล คือประจบคฤหัสถ์ สงฆ์ไล่เสียจากวัด กลับว่าติเตียนสงฆ์ ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละต้องสังฆาทิเสส.  
นิทานต้นบัญญัติ เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถึ ครั้งนั้น ภิกษุเลว ๆ ที่ชื่อว่าเป็นพวก พระอัสสชิ และ ปุนัพพสุกะ เป็นภิกษุเจ้าถิ่น อยู่ในชนบท ชื่อว่า กิฏาคิริ เป็นพระอลัชชี ภิกษุเหล่านั้นประพฤติอนาจารมีประการต่่างๆ เช่นการประจบคฤหัสถ์ ทำสิ่งต่างๆ ให้เขา เล่นซนต่างๆ      มีภิกษุรูปหนึ่ง จำพรรษาในแคว้นกาสี ผ่นมาพัก ณ ชนบทนั้น  เพื่อจะเดินทางไปกรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค  ภิกษุนั้นเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านด้วยอาการสำรวม  แต่มนูษย์ทั้งหลายไม่ชอบ เพราะไม่แสดงอาการประจบประแจง  เหมือนภิกษุพวกอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จึงไม่ถวายอาหาร  แต่อุบาสกผู้หนึ่ง( เป็นผู้เข้าใจพระธรรมวินัยถูกต้อง ) เห็นเข้าจึงนิมนต์ภิกษุรูปนั้นไปฉันที่บ้านของตน  สั่งความให้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ภิกษุพวกอัสสชิและพระปนัพพสุกะ ประพฤติตนไม่สมควรต่างๆ     ความทราบถึงพระพุทธเจ้า ทรงตำหนิ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท มีใจความว่า ภิกษุประทุษร้ายสกุล (ประจบคฤหัสถ์ ทอดตนลงให้เขาใช้ ) มีความประพฤติเลวทราม เป็นที่รู้เห็นทั่วไป ภิกษุทั้งหลายพึงว่่ากล่าวและขับเสียจากที่นั้น ถ้าเธอกลับว่าติเตียน ภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศ (เป็นการสงฆ์ ) ให้เธอละเลิกเสีย ถ้าสวดครบ ๓ ครั้ง ยังดื้อดึง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
อธิบาย ประทุษร้ายสกุล คำนี้ว่า ประทุษร้ายสกุล  นี้  หมายความว่า  เป็นผูประจบเขาด้วยกิริยาทำตนอย่างคฤหัสถ์  ยอมตนให้เขาใช้สอย  หรือด้วยอาการเอาเปรียบโดยเชิงใก้สิ่งของเล็กน้อยด้วยหวังได้มาก ทำอย่างนี้เรียกว่าประทุษร้ายสกุล เพราะทำให้เขาเสียศรัทธาเลื่อมใสอันเป็นมูลเหตุแห่งกุศลสมบัติ.    วินัยมุข เล่ม ๑ ฉบับมาตรฐาน