วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อัดกรอบพระ, ผัดเผ็ดเป็ดพะโล้

ควรเป้นผู้มีอัธยาศัยดี เพื่อที่ลูกค้ามีความประทับใจ
วัสดุอุปรณ์ที่ต้องใช้
-ตะกร้าพลาสติก 1 ใบ   -พลาสติกใสหนา 4-8 แผ่น   -ตัวหนีบ 10 ตัว   -มอเตอร์ 1 ตัว   -กระดาษทรายละเอียด 1-2 โหล   -ดินขัดมันพลาสติก  1-2ก้อน   -สายไฟ  1 ม้วน   -แปรงปัดฝุ่น   -พู่กัน   -โต๊ะเก้าอี้   -แอลกอฮอล์    -ไฟแช็กแก๊ส   -ตะใบใหญ่   -น้ำยาเชื่อมพลาสติก   -เลื่อยฉลุ   -คัตเตอร์   -ตะใบเล็ก
วิธีทำ
1.   ขั้นแรกเลยให้เรานำพระที่ต้องการจะอัดกรอบวางไว้บนไม้อัด
2.  จากนั้นก็นำเอาดินสอมาขีดรอบๆ ขอบพระที่เราต้องการจะอัดกรอบ  โดยให้รอยดินสอใหญ่กว่าองค์พระเล็กน้อย
3.   จากนั้นก็ให้ใช้เลื่อยฉลุตัดตามแนวที่ขีดดินสอเอาไว้แล้วทิ้งเอาไว้ก่อน
4.   ขั้นต่อมาให้เรานำพลาสติกหนามาตัด  โดยให้มีขนาดใหญ่กว่าองค์พระพอสมควร
5.   นำพลาสติกที่ตัดเอาไว้ไปลนบนตะเกียงแอลกอฮอล์
6    เมื่อพลาสติกอ่อนตัวก็ให้นำไปหุ้มองค์พระในขณะที่พลาสติกยังร้อนอยู่
7.   ใช้ปากเป่าลมเพื่อให้พลาสติกเย็นลงและแข็งตัวได้อย่างรวดเร็ว
8.   ทำเช่นเดิม  เหมือนข้อ 4-7 เป็นการหุ้มพลาสติก 2 ชั้น
9.   นำตัวหนีบไปติดรอบขอบพลาสติกที่หุ้มองค์พระ
10. ใส่น้ำยาลงไป  ทิ้งเอาไว้ให้แห้ง
11. เมื่อแห้งแล้วก็ตัดขอบพลาสติกที่เหลือออก  เพื่อให้มีขนาดพอดีกัน  โดยเหลือที่เอาไว้สำหรับเจาะรู
12. นำขอบพลาสติกที่ตัดไปกรอบกับหินขัดเพื่อให้สวยงามยิ่งขึ้น
13. ใส่น้ำยาขัดบนแปรงที่ติดอยู่กับมอเตอร์  แล้วขัดให้สวยงามและไม่มีคม
14. จากนั้นก็นำองค์พระที่อัดกรอบเรียบร้อยแล้วมาใส่ลงไปในช่องว่างนี้เพื่อล็อกให้องคืพระไม่ไปไหน
15. เอาสว่านเจาะรูพลาสติกที่อัดกรอบเอาไว้  จากนั้นก็นำห่วงมาคล้องเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
ผัดเผ็ดเป็ดพะโล้ผัดเผ็ดเป็ดพะโล้ผัดเผ็ดเป็ดพะโล้ผัดเผ็ดเป็ดพะโล้
ส่วนประกอบ
เนื้อเป็ดพะโล้ 1 ถ้วย               พริกแกง  2  ช้อนโต๊ะ
พริกชี้ฟ้าซอย 2 ช้อนโต๊ะ         พริกไทยอ่อน 2 ช่อ
กระชายซอยเส้น  2 ช้อนโต๊ะ    ใบมะกรูดฉีก  4 ใบ
ใบโหระพา  1 ถ้วย                  น้ำปลา  2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา            น้ำมันพืช  2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. นำกระทะตั้งไฟ  ใส่น้ำมันพืชลงไปนิดหน่อย  เปิดไฟกลาง  จากนั้นใส่พริกแกงลงไปผัดให้หอม  แล้วเติมน้ำเปล่าลงไปนิดหน่อย
2. จากนั้นจึงค่อยใส่เนื้อเป็ดลงไป  ผัดคลุกเคล้าให้เข้ากับพริกแกงให้ทั่ว  ปรุงรสด้วยน้ำปลา  และน้ำตาลทราย
3. เมื่อชิมรสได้ที่แล้วจึงค่อยใส่พริกไทยอ่อน  กระชาย  ลงไปผัดให้หอม  จากนั้นจึงค่อยใส่พริกชี้ฟ้า  และใบโหระพา  ผัดพอสลดแล้วใส่ใบมะกรูดฉีก  แล้วจึงค่อยดับไฟตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ
สีกา กา กา มา มา จะ จะ ทำ ทำ อย่าง อย่าง ไร ไร ไร

ในกรณีที่มีสีกามาหาที่กุฏี  พระใหม่พึงระวังให้มาก  อย่าไปนั่งอยู่กับสีกาสองต่อสองในที่ลับหูลับตา  คนเขาจะครหานินทาเอาได้  และอีกทั้งยังเป็นการผิดวินัยของสงฆ์อีกด้วย
ถ้าจำเป้นจะต้องคุยก็พึงให้ออกมาคุยในที่เปิดเผย  อาจจะเผยอาจจะเป็นที่นอกชานกุฏีหรือในที่โล่งแจ้ง  และควรจะหาผู้ชายมานั่งเป็นเพื่อนด้วย
อนึ่ง  เวลาที่สีกามาหาพระที่วัดนั้นก็ควรจะแต่งกายให้สุภาพรัดกุม  อย่าแต่งตัวแบบชะเวิบชะวาบเข้ามาหาพระ  เพราะนอกจากจะเป้นการไม่สมควรแล้วยังจะเป้นบาปอีกด้วย  เพราะทำใจพระเกิดกำเริบ ( เกิดราคะ ) เมื่อได้เห็น
ฝา่ยพระเองก็พึงสำรวมตาเอาไว้ให้ดี  ไม่มองได้ก็อย่าไปมอง  เพราะถ้าขืนไปมองมากๆแล้ว  ก็จะทำอันตรายแก่จิตใจเอาได้  คือทำให้จิตใจเกิดกำเริบด้วยกามราคะ  ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายสำหรับพระใหม่อย่างที่สุด ( หรือแม้พระเก่าก็เช่นกัน ) ฯ

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กรอบรูปวิทยาศาสตร์,ก๋วยเตี๋ยวไก่มะระ

เป็นธุรกิจอย่างหนึ่งที่ทำกำไรให้กับผู้ที่ทำจำนวนมาก  ซึ่งในบางครั้งก็ไม่จำเป็นจะต้องเปิดร้านอะไร เพียงแต่เรามีช่องทาง  และรับทำเป็นรายได้เสริมเล็กๆ น้อยๆ ได้เช่นกัน รวมทั้งก็มีต้นทุนไม่แพง และรายได้ต่อชิ้นก็มากอีกด้วย
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
- น้ำยาเรซิ่นเคลือบรูป หรือโพลีเอ
- สเตอร์ซิ่นเบอรื KC-288
- ฮาร์ดเดนเนอร์ หรือฮาร์ด
- แผ่นฟิิล์มไมล่า
- กรอบไม้ ตามความเหมาะสม
- ลูกกลิ้งยาง ใช้ขนาดประมาณ 8 นิ้ว
- ไม้อัดทำกรอบรูป ตามขนาดรูป
- เส้นทอง หรือเส้นเงิน
- น้ำยากันเช์้อรา
- ถ้วยพลาสติกสำหรับใส่เรซิ่น
- ไม้กวน
- หลอดหยด สำหรับหยดตัวทำแข็ง
- คัตเตอร์
- ตาชั่ง
- กระดาษทรายเบอร์ 300
- กระดาษลวดลายสวยงาม
- เทปกาว
- ขาตั้งรูป
- สีน้ำมัน
- ทินเนอร์
- แปลงทาสี
วิธีทำ
1. ขั้นแรกให้เรานำภาพมาทาบบนไม้อัด  แล้วตัดไม้อัดตามขนาดของภาพ โดยตัดให้ไม้อัดใหญ่กว่าขอบภาพประมาณ 1-2 นิ้ว
2. ขีดเครื่องหมายบนไม้อัดที่มีภาพอยู่ โดยจัดให้อยู่กึ่งกลางจากน้ันก็ทากาวแล้วแปะภาพลงไป ทิ้งไว้ให้แห้ง
3. นำกระดาษสีสวยๆ ที่ต้องการมาตัดให้เท่ากับความกว้างของขอบที่เหลือเอาไว้ แล้วนำมาแปะลงบนขอบไม้อัด
4. นำเส้นสีทอง หรือเงินที่เตรียมเอาไว้มาติดไว้ระหว่างภาพและละลาย
5. ทิ้งให้กาวแห้งจนสนิท ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง
6. จากนั้นก็นำกรอบรูปที่แห้งแล้วมาวางบนกล่องกระดาษ
7. นำเรซิ่นไปใส่ในถ้วยพลาสติก  จากนั้นก็หยดน้ำยาทำแข็งลงไป 1 ต่อ 10 ส่วนของปริมาณเรซิ่น  จากนั้นก็ผสมให้เข้ากัน  แล้วเทเรซิ่นลงบนภาพกลางภาพ
8. นำกรอบแผ่นฟิล์มไมล่าวางบนเรซิ่นที่เทลงไป  แล้วใช้ลูกยางไล่ให้เรซิ่นกระจายตัวเท่ากัน  โดยไล่ฟองอากาศออกไปให้หมดไป  จากนั้นก็ปล่อยเอาไว้ 2 ชั่วโมง  ห้าขยับเด็ดขาดรอจนแห้งก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
ก๋วยเตี๋ยวไก่มะระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระ
ส่วนประกอบ
เส้นก๋วยเตี๋ยวตามชอบ เช่น เส้นเล็ก เส้นใหญ่ เส้นหมี่ หรือบะหมี่ สะโพกไก่ 4 ชิ้น อาจจะใส่เครื่องในไก่ ตีนไก่ หรือข้อไก่ด้วยก็ได้ มะระ ถั่วงอก หรือผักอื่นๆ  เช่นยอดตำลึง ผักคะน้า กะหลึ่าปลี เป็นต้น ผักชีซอย ต้นหอม น้ำมันกระเทียมเจียว
เครื่องปรุงน้ำซุปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปป
ข่าแก่ 1 หัว   ขิง 1 หัว    เครื่องพะโล้ 1 ห่อ   น้ำตาลกรวด 1/2 ถ้วย    เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ   ซีอิ๊วดำ 1 ช้อนโต๊ะ   ใบเตย 1 มัด   กระเทียมสด 3 หัว   รากผักชี 5 ราก   พริกไทยเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ น้ำซุปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปป
1.  หม้อที่ใช้เบอรืประมาร 28 เอาน้ำใส่ลงไปในหม้อประมาณ 1 ส่วน 3 ของหม้อ
2. หั่นข่าและขิงเป็นแว่นๆ ประมาณอย่างละ 5 แว่น ใส่ลงไปในหม้อ  และตามด้วยใบเตย
3. ใส่น้ำตาลกรวด เกลือ และซีอิ๊วดำ
4. จากนั้นจึงนำกระเทียม รากผักชี พริกไทย มาโขลกให้เข้ากันแล้วใส่ลงไปในหม้อ  เปิดไฟกลางรอน้ำเดือด
5. นำมะระผ่าครึ่งด้านยาว  แล้วเอาเมล็ดออก  หั่นตามขวางยาวประมาณ 1 นิ้ว
6. เมื่อน้ำเดือดจัดแล้วค่อยนำมะระลงไปต้ม  ต้มประมาณ 10 นาที  มะระจะเริ่มสุก
7. จากนั้นจึงค่อยใส่ไก่ลงไปตอนน้ำเดือดๆ ต้มไก่ประมาณ 30 นาที
8. เมื่อไก่สุกดีแล้วจึงค่อยชิมรส  ให้รสชาติออกเค็มๆ หวานๆ หอมเครื่องเทศ ตุ๋นต่อไปจนกว่าจะเปลื่อยนุ่ม
วิธทำก๋วยเตี๋ยวไก่มะระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระระ
1. นำน้ำใส่หม้อพอประมาณ ตั้งไฟรอให้น้ำเดือดจัด
2. นำเส้นก๋วยเตี๋ยวใส่ลงไปในตะกร้อ  แล้วจุ่มลงไปในน้ำที่เดือดเขย่าประมาณ 2-3 ครั้ง แล้วจึงเทใส่ชาม
3. คลุกด้วยน้ำมันกระเทียมเจียว  เพื่อไม่ให้เส้นจับกันเป็นก้อน
4. นำผักใส่ตะกร้อ  แล้วลวกผักแต่พอสลด  จากนั้นจึงค่อยเทใส่ชาม
5. ตักเนื้อไก่ และมะระลงในชาม แล้วค่อยใส่น้ำซุป
6. โรยด้วยต้นหอม ผักชีซอย พร้อมเสิร์ฟ
อาการที่ภิกษุจะพึงปฏิบัติในสตรีภาพ
ครั้นแล้ว  พระอานนท์จึงทูลถามข้อที่ภิกษุจะพึงปฏิบัติในสตรีภาพ ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้ตร้สตอบว่า   อานนท์   เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติในสตรีภาพอย่างนี้ คือ
๑ .  การไม่มองดูเสียเลย จัดเป็นการดี ( ไม่มองดู )
๒ .  หากจำเป็นต้องมอง  การไม่พูดจาด้วย  เป็นข้อปฏิบัติที่สมควร ( ไม่พูดด้วย )
๓ . หากจำเป็นต้องพูดด้วย  ก็สำรวมระวังตั้งสติไว้ให้มั่นคง  อย่าให่แปรปรวนด้วยอำนาจราคะความกำหนัด ( สัจจปติฏฐาน )

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บะหมี่กึ่งปลาพิโรธ,ไข่เจียวบะหมี่กึ่ง

ส่วนประกอบ
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำ 1 ห่อ
ปลากระป๋อง 1 กระป๋อง
ผักต่างๆ ตามชอบ( ถ้ามี )
วิธีทำ
1. ต้มน้ำให้เดือด ระหว่างรอน้ำเดือดให้แกะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใส่ชาม  พร้อมทั้งใส่เครื่องปรุงลงไปให้หมด
2. เปิดปลากระป๋องแล้วใส่ปลากระป๋องลงไปปริมาณตามชอบ
3. เติมผักต่างๆ ที่พอหาได้  เพื่อเพิ่มกากใยให้อาหาร  แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องก้ได้  แต่ถ้าเป็นใบกระเพราจะอร่อยมาก
4. เมื่อน้ำเดือดจึงค่อยเทน้ำลงไปในชามบะหมี่กึ่ง  นำฝาปิดชามทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที  พร้อมรับประทาน
ส่วนประกอบ
เส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ลวกแล้ว 1 ห่อ
เครื่องปรุงบะหมี่สำเร็จรูป 1 ชุด
ไข่ไก่ 2 ฟอง
เนื้อสัตว์ เช่น หมูสับ ไส้กรอก (ถ้ามี)
วิธีทำ
1. นำเส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ลวกแล้วมาคลุกกับเครื่องปรุงให้เขากัน
2. ตอกไข่ใส่ลงไป ถ้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ห่อ ใช้ไข่ 2 ฟอง
3. เติมเนื้อสัตว์ลงไป เช่น ไส้กรอก หมูสับ ลูกชิ้น หมูย่าง แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่  แล้วคนส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน
4. นำน้ำมันใส่ลงไปในกระทะให้พอสำหรับทอด  ตั้งไฟกลาง รอจนน้ำมันร้อนจัดแล้วเทไข่ลงไปทอด ทอดจนไข่สุกเหลืองทั้งสองข้างตักใส่จาน  พร้อมเสิร์ฟ
คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด
ยาคู แปลกันมาว่า  ข้าวต้ม เป็นอาหารเหลวอย่างหนึ่งที่ภิกษุดื่มก่อนไปบิณฑบาต  คล้ายเป็นอาหารสำหรับรองท้อง  และท่านใช้กิริยาว่า " ดื่ม " มิใช่ " ฉัน " เหมือนอาหารทั่วไป  แสดงว่ายาคูเป็นอาหารเหลวมาก ใช้ดื่มได้เหมือนน้ำ
ยาตู  ท่านว่าเมื่อดื่มแล้วจะได้ประโยชน์หรืออานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. บรรเทาความหิว
๒. บรรเทาความกระหาย
๓. ทำให้ลมเดินคล่อง
๔. ชำระล้างลำไส้
๕. ช่วยย่อยอาหารทียังไม่ย่อย
ปานะ แปลว่า น้ำดื่ม, เครื่องดื่ม ในคำวัดหมายถึงน้ำที่ควรดื่ม  ได้แก่น้ำที่คั้นจากผลไม้สำหรับถวายพระ  พระดื่มได้แม้ในเวลาวิกาล เรียกน้ำเช่นนั้นว่า  น้ำปานะ
น้ำปานะที่ท่านกำหนดไว้มี ๘ ชนิด เรียกว่า อัฐบาน หรือ น้ำอัฐบาน ( น้ำปานะ ๘ ) คือ น้ำมะม่วง น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์ หรือน้ำองุ่น น้ำเหง้าบัว น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
น้ำปานะและเครื่องดื่มต่างๆ ที่มิใช่ของมึนเมาและไม่มีธัญชาติผสมอยู่ด้วย เช่นน้ำพุทรา น้ำแห้ว น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำอัดลมต่างชนิด อนุโลมเข้าในน้ำปานะนี้ด้วย

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ผัดเผ็ดปลาดุก, น้ำผึ้งผสมมะนาว

ส่วนประกอบ
ปลาดุกสับชิ้นทอด 2 ตัว       พริกแกง 1 ช้อนโต๊ะ
พริกไทยอ่อน 3 ช่อ               กระชายเส้น 1/2 ถ้วย
ใบมะกรูดฉีก 3 ใบ                ใบกะเพราทอดกรอบ 1 ถ้วย
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ               น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
วิธีทำ
1. นำกระทะตั้งไฟ  ใส่น้ำมันพืชลงไปนิดหน่อย  ใส่พริกแกงลงไปผัดให้หอม  เติมน้ำเปล่าลงไปนิดหน่อย  จากนั้นจึงใส่ปลาดุกทอดลงไปผัดให้เข้ากับพริกแกง
2. จากนั้นจึงปรุงรสด้วยน้ำปลา  และน้ำตาลทราย  ชิมรสให้เค็มนำหวานนิดๆ แล้วจึงค่อยใส่กระชาย  พริกไทยอ่อน  ใบมะกรูด  ลงไปผัด
3. เมื่อผัดจนทุกอย่างเข้ากันดีแล้ว  จึงค่อยโรยด้วยใบกระเพราทอดกรอบแล้วคลุกอีกหนึ่งรอบ  จากนั้นค่อยดับไฟ  ตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ
น้ำผึ้งผสมมะนาว
การเตรียม
1. น้ำผึ้งแท้  1 ช้อนโต๊ะ
2. มะนาว     1 ซีก
3. เกลือป่น   เล็กน้อย
4. น้ำสะอาด 1 แก้ว
วิธีทำ
1. ต้มน้ำให้เดือด  ทิ้งไว้ให้อุ่นใส่แก้ว
2. ตักน้ำผึ้งแท้ใส่แก้วน้ำอุ่น  คนให้ละลาย
3. บีบมะนาวครั้งละนืด  ชิมไม่ให้รสออกเปรี้ยวเกินไป
4. เติมเกลือป่นเล็กน้อย
5. ดื่มขณะอุ่นๆ และชงดื่มครั้งต่อตรั้ง  ไม่ควรชงเก็บไว้มากๆ  เพราะจะทำให้ไม่ได้วิตามินเต็มที่
การบวชสมบูรณ์แบบ
คือในความหมายหรือหลักทั่วไปที่จะกล่าวต่อไปนี้
๑. การบวชคือ  การออกไปค้น  ออกไปแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล  นี่ยืมพระดำรัสของพระพุทธเจ้ามากล่าว  เมื่อพระพุทธเจ้า  จะออกบวชท่านได้เล่าเรื่องไว้ว่า ท่านรู้สึกว่าอยู่กันในโลกนี้  อยู่อย่างไม่รู้จักสิ่งที่มีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย  แล้วก็หลงอยู่ในสิ่งที่มีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย  ทำให้มีชีวิตฆราวาสนี้มันคับแคบ เต็มไปด้วยธุลี คือสิ่งสกปรก  ถ้าอย่างไรก็ออกจากเรือนนี้  ออกไปบวชเพื่อแสวงหาอะไรเป็นกุศล
ฉะนั้น  การบวชก็คือการออกไปค้น  ไปแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล  นี่มันเป็นความรู้สึกของคนที่รู้สึกว่า  อยู่ในบ้านเรือนนี้มันอยู่ในท่ามกลางแห่งความโง่  แห่งความหลง
ทุกๆ อย่างที่มีอยู่ในบ้านเรือนนี้มันเป็นอกุศล  เพราะว่ามันอยู่ด้วยความโง่  อยู่ด้วยความหลง  จึงออกไปบวชเพื่อจะแสวงหาอะไรเป็นกุศล  นี้เป็นพระดำรัสของพระพุทธเจ้า
๒.  การบวชคือ  การออกไปอยู่อย่างต่ำต้อยอย่างไม่มีทรัพย์สมบัติอะไร  การบวชทุกอย่าง  ไม่ว่าจะเป็นในพระพุทธศาสนาหรือนอกพุทธศาสนาก็ตามล้วนแต่มีความเป็นอยู่ที่ต่ำต้อยคือระดับขอทาน
การอยู่อย่างนั้นมีความจำเป็นมาก  สำหรับการประพฤติพรหมจรรย์จะบรรลุนิพพาน  คืออยู่อย่างต่ำต้อย  ไม่ยกหูชูหาง  นี่มันก็ดีมากอยู่แล้ว  ถ้าไม่คิดจะอยู่อย่างต่ำต้อย  มันก็คิดจะยกหูชูหาง  จะต้องอยูอย่างไม่มีทรัพย์สมบัติ  มันจึงไม่มีการสะสม  ถ้าอยู่อย่างยกหูชูหางและสะสมทรัพย์สมบัติ  มันก็ไม่เป็นการบวชเลย  ไม่ต้องมีใครมาบอก มาด่า มาว่า มันไม่เป็นของมันเอง  เพราะว่าการบวชนั้นมีหลักเกณฑ์อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น
๓.  การบวชคือการฝึกฝนการบังคับตน  บังคับอินทรีย์  บังคับจิต  บังคับความรู้สึก  ต้องมีการเสียสละของรัก  ของชอบใจ ขั้นสุดยอดในโลกนี้
๔.  การบวชคือความสะดวกในการที่จะเดินทางออกไปนอกโลก  เดินทางออกไปนอกโลกนี้  หมายถึงเดินด้วยจิตใจ  ให้จิตใจวิวัฒนาการขึ้นไปในการที่จะอยู่เหนือการครอบงำของโลก  ออกไปนอกโลกก็หมายความว่า  มันมีจิตใจชนิดที่โลกนี้ทำอะไรไม่ได้  นี่คือการบรรลุคุณธรรมที่สูงขึ้นไปในทางจิตใจ  ตัวอยู่ในโลกแต่ใจอยู่นอกโลก  ปัญหาใดๆ ในโลกนี้ไม่ครอบงำบุคคลนั้นไม่ทำบุคคลนั้นให้ลำบาก
๕.  การบวชคือโอกาสแห่งการได้สิ่งสูงสุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ  คือได้รับความรอดแห่งจิตใจ  ได้รับอมตธรรมคือความไม่ตายแห่งจิตใจ
๖.  การบวชคือ " การอยู่บนหัวคนทุกคน " บวชแล้วก็ถูกสมทบเข้าไปในหมู่พระอริยเจ้า  หมู่พระอริยสงฆ์  เป็นที่เคารพบูชาของสัตว์โลก  ฉะนั้น  การบวชคือการอยู่บนหัวคนทุกคนมันจะยากจนเข็ญใจอะไรมา  พอบวชแล้วทุกคนเขาก็ไหว้  เมื่อยังไม่บวช  ไม่มีใครไหว้เลย  พอบวชแล้วทุกคนเขาไหว้  เจ้าใหญ่นายโต  พระราชามหากษัตริย์  ก็ยอมไหว้  นี่ดูทีว่า  การบวชนี้มันทำให้ไปอยู่บนหัวคนทุกคน  เพราะว่าไปสมทบเข้ากับหมู่สงฆ์หมู่พระอริยเจ้า
มีอะไรดีสำหรับจะอยู่บนหัวคนทุกคน? มันก็มีการบวชจริง  เรียนจริง  ปฏิบัติจริง  ได้ผลจริง  คือเป็นนักบวชจริงแล้วสั่งสอนคนอื่นต่อไปจริง  เท่านั้นแหละ  มันจึงจะมีอะไรดี  ชนิดที่ว่าอยู่บนหัวคนทุกคน, ถ้าไม่อย่างนั้นมันก็เป็นคนหลอกลวง  เป็นคนปล้น  เป้นคนขโมย  อยู่ด้วยความขโมยอย่างยิ่งก็คืออย่างนี้
๗.  การบวชคือการทำประโยชน์ผู้อื่นอย่างมหาศาลหรือสูงสุด
ในพระพุทธศาสนาต้องการให้บำเพ็ญทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น  ผู้บวชเมื่อทำประโยชน์ของตนเสร็จแล้ว  ก็มุ่งหวังที่จะทำประโยชน์ผู้อื่น  จนให้หมดเวลา  หมดเรี่ยว  หมดแรง  หมดความสามารถ  ประโยชน์มหาศาลสูงสุด  คือ
(ก) การเป็นผู้นำในทางวิญญาณให้แก่สัตว์โลก
(ข) ผู้บวชสามารถสืบอายุพระศาสนาไว้ให้คงมีอยู่ในโลก
(ค) การบวชมีโอกาสที่จะทำประโยชน์ผู้อื่นอย่างกุศลสาธารณะ
(ง) การบวชเป็นการดึงบุพพการี  ญาติวงศ์พงศาให้เข้ามาผูกพันอยู่กับศาสนา
๘.  การบวชเป็นการอยู่ในเพศสูงสุด  ทำไมไม่มองให้เป็นของดี  ของวิเศษกันบ้าง  แล้วยินดีที่จะอยู่ในสมณเพสตลอดไป  หรือให้มันนานสักหน่อย  เดี๋ยวนี้บวชกันเพียงเดือนเดียว  มันก็ร้อนเป็นไฟ  มันจะสึก  บางที ๗ วันก็สึก  หรือที่ยังทนอยู่ได้นี่ก็เร่าร้อนเหมือนกับจีวรนั้นมันทำด้วยไฟ  นี่ก็เพราะมองไม่เห็นว่า  การบวชนั้นเป็นเพศอันสูงสุด  คือเพศสำหรับไว้ซึ่งพระอรหันต์  สำหรับทรงไว้ซึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้า  และสำหรับทรงไว้ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ถ้าเรามองเห็นว่า  การบวชเป็นการอยู่ในเพศอันสูงสุด  ก็คงจะพอใจ
( หนังสือ ข้อแนะนำสำหรับพระบวชใหม่ คณาจารย์แห่งโรงพิมพ์เลี่ยงเชียง )

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สูตรส้มตำไทย,ใส่ปู, ปลาร้า

สูตรส้มตำไทย
- โขลกพริกขี้หนู  และกระเทียมให้แหลก
- เด็ดถั่วฝักยาวสั้น ๆ ใส่ครก  โขลกเบา ๆ พอให้บุบ
- ใส่กุ้งแห้ง  และถั่วลิสง  โขลก ๆ ตำ ๆ ให้แหลกมากสักหน่อย
- ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ  น้ำปลาดี  มะนาว
- เคล้า ๆ ให้เข้ากัน  หั่นมะเขือเทศใส่  โขลกเบา ๆ
- เติมมะละกอ  โขลก ๆ เคล้า ๆ อีกนิดเดียวจึงชิมรสดูให้ออกหวานเปรี้ยวเด่น  จึงจะอร่อยสมกับรสชาติของตำไทย
สูตรส้มตำไทยใส่ปู
- ให้เด็ดปูเค็มใส่ครกโขลกเบา ๆ ในขั้นตอนที่ใส่กุ้งแห้งกับถั่วลิสง
- ถ้าจะใส่ผงชูรสให้ใส่เล็กน้อยในขั้นตอนปรุงรสน้ำปลาน้ำตาล
สูตรส้มตำปลาร้า
- พริกขี้หนู 8-10 เม็ด  กระเทียม 6-7 กลีบโขลกให้แหลก
- หั่นมะเขือเทศใส่ 2-3 ลูก  ฝานมะกอกใส่ 3-4 แว่นบาง ๆ โขลกให้ทั่ว ๆ
- ใส่มะละกอสับ  เติมน้ำปลาดี  น้ำปลาร้าต้มสุก  และตัวปลาร้า  บีบมะนาว  ใส่เปลือกมะนาวลงครกด้วยสัก 2-3 ซีก  โขลกให้ทั่ว ๆ ชิมรสดูให้ออกเผ็ด ๆ เค็ม ๆ
- ส้มตำไม่ว่าตำไทยหรือตำปุ  อาจใส่แครอตสับผสมลงไปด้วยก็ได้
- เส้นมะละกอต้องสดและกรอบ
- ไม่ควรสับมะละกอเป็นเส้นเล็กมากจนเป็นฝอย
- ใช้น้ำมะนาวแท้ จะได้รสอร่อยกว่าน้ำมะนาวเทียมที่ผสมขายเป็นขวด ๆ
น้ำรากบัวสด
การเตรียม
1. รากบัวสด 1 ราก นำมาล้างให้สะอาดและฝานเฉียง ๆ เป็นชิ้นใหญ่พอสมควรประมาณ 7-20 ชิ้น
2 . น้ำตาลทรายแดง พอสมควร
3. เกลือป่น  เล็กน้อย หรือ 1 หยิบมือ
4. น้ำสะอาด 1 ลิตร
วิธีทำ
1. นำรากบัวสดและน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ใส่หม้อตั้งไฟ  ตั้งไฟปานกลาง  เคี่ยวไปเรื่อย ๆ ประมาณครึ่งถึง  1 ชั่วโมง
2. เมื่อตั้งไฟได้เวลาตามต้องการแล้ว  น้ำต้มรากบัวสดจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ ให้เติมน้ำตาลทรายแดง  แล้วตั้งไฟต่อไปสักครู่  เติมเกลือ  แล้วชิมรสหวานตามชอบ  โดยมีรสเค็มแซมนิดหน่อย
3. ปิดไฟ  รับประทานตอนอุ่น ๆ หรือใส่ตู้เย็นรับประทานเย็น ๆ ก็ได้
ส่วนรากบัวที่ต้มนั้นสามารถรับประทานได้ด้วย
วิธีรักษาบาตร
บาตรเมื่อฉันแล้วต้องรักษาให้สะอาด  เช็ดให้แห้งห้ามไม่ให้เอาบาตรไปผึ่งแดดทั้ง ๆที่ยังมีน้ำชุ่มอยู่  เช็ดให้หมาดแล้วเอาไปผึ่งแดดได้  แต่ห้ามไม่ให้ผึ่งแดดจนร้อน  ไม่ให้วางบาตรไว้บนที่สูงหมิ่นเหม่ต่อการตกได้ง่าย  ไม่ให้อ้มบาตร  เปิดประตู ปิดประตู  และวางบาตรไว้บนของแข็งที่จะประทุษร้ายบาตรบุบสลาย  นี้เป็นวิธีรักษาบาตร
บาตรที่เป็นบริขาร  เวลาที่เรากลับมาจากพระอุโบสถแล้ว  พระอาจารย์ท่านจะสอนให้เอามือลูบ  แล้วเปล่งคำอธิษฐานว่า " อิมํ  ปตฺตํ  อธิฏฺฐามิ " ๓ ครั้ง  แปลว่า " ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรนี้ " เมื่ออธิษฐานแล้ว  ก็จัดเป็นบาตรครอง  บาตรคลองนี้  ถ้าใช้บาตรอยู่ในมือ  ห้ามไม่ให้เปิดปิดหน้าต่างประตู  เช่นอุ้มบาตรในมือหนึ่งอีกมือหนึ่งไปทำกิจอย่างอื่น  เช่นนี้ก็ห้ามเหมือนกัน  ห้ามไม่ให้เอาบาตรวางบนกระดานไม้เรียบ  คือกระดานที่เขาวางหัวยื่นรอดออกไป  หรือแม้ว่าบนม้าเล็ก ๆ ที่บาตรอาจจะกลิ้งตกลงไปได้ง่าย  ดังที่กล่าวมานี้เป็นวิธีรักษาบาตร ฯ

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปลาหมึกผัดพริกเกลือ ปลาหมึกผัดพริกเกลือ ปลาหมึกผัดพริกเกลือ

ส่วนประกอบ
ปลาหมึก  ๒ ตัว  แป้งทอดกรอบ  ๑/๒  ถ้วย
รากผักชีสับ  ๓ ราก กระเทียมสับ  ๑ ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูสับ  ๑ ช้อนโต๊ะ เกลือ  ๑/๒ ช้อนชา
น้ำตาลทราย ๑ ช้อนชา  พริกไทย ๑/๒ ช้อนชา
วิธีทำ
1. นำปลาหมึกมาล้างทำความสะอาดแล้วหั่นให้เป็นแว่น  นำผ้าหรือกระดาษมาซับน้ำให้หมาด
2. ให้นำแป้งทอดกรอบมาปรุงรสด้วยเกลือ  และใส่พริกไทยนิดหน่อย  จากนั้นจึงค่อยนำปลาหมึกที่เตรียมเอาไว้ลงไปคลุกผงแป้งให้ทั่ว
3. นำน้ำมันใส่ลงกระทะสำหรับทอด  ทอดพอให้ปลาหมึกสุกเหลืองพอดี  จึงตักขึ้นพักเอาไว้
4. เตรียมกระทะสำหรับผัด  ใส่น้ำมันลงไปในกระทะประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ตั้งไฟกลาง  แล้วจึงค่อยใส่รากผักชี กระเทียม  พริกขี้หนูสับลงไปผัด  ผัดให้หอม  จากนั้นจึงปรุงรสด้วยเกลือ และน้ำตาลทราย  คลุกเคล้าให้เข้ากัน
5. เมื่อตลุกเคล้าเครื่องปรุงจนได้ที่แล้วจึงใส่ปลาหมึกที่ทอดแล้วลงไปคลุก  ให้คลุกเร็ว ๆ แล้วจึงตักขึ้นใส่จาน
น้ำมะละกอปั่น น้ำ น้ำ มะ มะ ละ ละ กอ กอ ปั่น ปั่น
การเตรียม การ การ เตรียม เตรียม การ การ เตรียม เตรียม
1. มะละกอสุก 1/2 ชิ้น (ตามยาวของลูก ) หรือ 1/2 ถ้วยตวง
2. น้ำเชื่อม พอสมควร
3. เกลือป่น เล็กน้อย
4. น้ำแข็งทุบ 1 แก้ว
5. นมสด พอสมควร
วิธีทำ วิ วิ ธี ธี ทำ ทำ
1. นำน้ำแข็งใส่เครื่องปั่นพร้อมกับมะละกอที่หั่นเตรียมไว้  ใส่น้ำเชื่อม 1 ช้อนโต๊ะ ก่อน ชิมรสถ้าไม่หวานถูกใจจึงใส่เพิ่มลงไป  ใส่เกลือป่นเล็กน้อย  ปั่นจนเป็นเนื้อเดียวกัน
2. เทใส่แก้ว  เติมนมสดเล็กน้อย  หรือจะเติมในขณะปั่นก็ได้  ควรทำดื่มครั้งต่อครั้ง  เพื่อคุณค่าทางอาหารที่ดี
คำ คำ คำ คำ คำ คำ วัด วัด วัด วัด วัด คำวัด คำวัด คำวัด
สะ สะ สะ เนอ เนอ เนอ เสนอ เสนอ เสนอ เสนอ เสนอ
" สมมติสงฆ์  "
สมมติสงฆ์  หมายถึงพระสงฆ์ที่เป็นสงฆ์โดยสมมติ  คือโดยวิธีการประชุมตกลงยอมรับร่วมกันว่าเป็นสงฆ์  หรือหมายถึงพระสงฆ์ที่สมมติว่าเป็นผู้แทนของพระอริยสงฆ์
สมมติสงฆ์  ใช้เรียกพระสงฆ์ที่อุปสมบทในสมัยปัจจุบัน  ซึ่งเป็นสงฆ์โดยผ่านสังฆกรรมที่เรียกว่าอุปสมบทกรรมแล้ว  โดยมีผู้เสนอคือพระอุปัชฌาย์  มีผู้สวดประกาศข้อเสนอคือพระคู่สวดและมีผู้รับรองยอมรับตามข้อเสนอคือพระอันดับถูกต้องตามพระธรรมวินัย
พระสงฆ์ที่เป็นสมมติสงฆ์เมื่อบรรลุมรรคผลขั้นใดขั้นหนึ่งแล้วก็เป็นอริยสงฆ์โดยอัตโนมัติ

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อติเรกบาตร

บาตรนอกจากบาตรอธิษฐาน เรียกว่าอติเรกบาตร อติเเรกบาตรนั้น ภิกษุเก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง ถ้าให้ล่วง ๑๐ วันไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
นิทานต้นบัญญัติ    ภิกษุฉัพพัคคีย์ สะสมบาตรไว้เป็นอันมาก  ถูกมนุษย์ติเตียนว่า  เป็นพ่อค้าบาตร  พระผู้มีพระภาคทรงทราบ  จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า  ภิกษุเก็บบาตรอติเรก ( คือที่เกิน ๑ ลูก ซึ่งเกินจำเป็นสำหรับใช้เป็นประจำ ) ไว้เกิน ๑๐ วัน ต้องนิสสัคคิย์ปาจิตตีย์.
อธิบาย   บาตรนั้น  เป็นของทำด้วยดินเผาบ้าง  ด้วยเหล็กบ้าง  มีขนาดเล็ก กลาง ใหญ่  เป็นของทรงอนุญาตให้เป็นบริขาร (ของใช้สอย ) ของภิกษุเฉพาะใบเดียว  บาตรอันภิกษุตั้งไว้เป็นบริขารอย่างนี้  เรียกบาตรอธิษฐาน
ลักษณะแห่งอาบัติ    ภิกษุไม่เสียสละบาตรที่เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ใช้สอย ต้องทุกกฏ
คำเสียสละแก่บุคคลว่าอย่างนี้ " อะยัง เม ภันเต ปัตโต ทะสาหาติกกันโต นิสสัคคิโย, อิมาหัง  อายัสมะโต  นิสสัชชามิ"
แปลว่า " บาตรใบนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๑๐ วัน จะต้องสละ ข้าพเจ้าขอสละบาตรใบนี้แก่ท่าน"
คำคืน ว่าดังนี้ " อิมัง  ปัตตัง  อายัสมะโต  ทัมมิ"
แปลว่า " ข้าพเจ้าคืนบาตรใบนี้ให้แก่ท่าน "
ภิกษุเสพเมถุน( ร่วมประเวณี, ร่วมสังวาส) ต้องปาราชิก.
ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้  ได้ราคา ๕ มาสก ต้องปาราชิก.
ภิกษุแกล้ง (จงใจ ) ฆ่ามนุษย์ให้ตาย ต้องปาราชิก.
ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรม ( คือธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ) ที่ไม่มีในตน ต้องปาราชิก.
สรุปอาบัติปาราชิก
๑. ภิกษุล่วงละเมิดข้อใดข้อหนึ่งแล้ว  ย่อมไม่ได้เพื่อจะอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลายอีก  เหมือนในกาลที่ยังไม่ล่วงละเมิด  เป็นปาราชิกหาสังวาสมิได้
๒. แม้จะอุปสมบทอีก  ก็ไม่เป็นภิกษุโดยชอบด้วยพระวินัยตลอดชาติ
๓. อาบัติปาราชิกนี้  เป็นอเตกิจฉา  แก้ไขไม่ได้  เป็นอนวเสส  หาส่วนเหลือมิได้  เป็นมูลเฉท  คือตัดรากเง่า ( ห้ามมรรค ผล นิพพาน แต่ไม่ห้ามสวรรค์ )
น้ำกล้วยหอมปั่น น้ำกล้วยหอมปั่น น้ำกล้วยหอมปั่น น้ำกล้วยหอมปั่น น้ำกล้วยหอมปั่น น้ำกล้วย
การเตรียม
๑. กล้วยหอม ๑ ผล
๒. น้ำเชื่อม พอสมควร
๓. นมสด พอสมควร
๔. เกลือป่น เล็กน้อย
๕. น้ำแข้งทุบ พอสมควร
วิธีทำ
๑. ปอกเปลือกกล้วยหอมและหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เตรียมไว้
๒. นำน้ำแข็งทุบใส่เครื่องปั่น  จากนั้นใส่กล้วยหอม น้ำเชื่อมนมสด ( หรือจะใส่ตอนหลังปั่นเสร็จก็ได้ ) และเกลือป่นเล็กน้อย  ปั่นทั้งหมดให้ละเอียด
๓. เทใส่แก้วดื่มได้ทันที

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เมนูง่าย ๆ สไตล์เด็กหอ

บะหมี่กึ่งผัดไข่
ส่วนประกอบ     บะหมี่กึีสำเร็จนรูปรสหมู 1 ห่อ    ไข่ไก่ 1 ฟอง  หมูย่าง 1 ไม้  ผักต่าง ๆ ตามชอบ  เช่น กะหล่ำปลี   ข้าวโพดอ่อน  มะเขือเทศ  ซีอิ๊วขาว  ซอสพริก   น้ำตาลทราย
วิธีทำ
1 . นำน้ำใส่หม้อสำหรับลวกเส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป  เมื่อน้ำเดือดจึงค่อยนำเส้นบะหมี่ลงไปลวกให้สุก  เมื่อสุกแล้วตักขึ้นคลุกน้ำมันพืชนิดหน่อย
2 . นำน้ำมันใส่ลงในกระทะนิดหน่อย  ตั้งไฟกลางรอจนน้ำมันร้อนใส่หมูย่างลงไปผัดให้พอหอม
3 . เขี่ยหมูไว้ข้างกระทะ  แล้วตอกไข่ใส่ลงไป  ตีให้ไข่ขาวผสมกับไข่แดง  ค่อย ๆ พลิกไข่ให้สุกทีละด้าน  เมื่อไข่สุกแล้วจึงค่อยผัดรวมกับหมุ
4 . ใส่เส้นบะหมี่ที่ลวกแล้วลงไปผัดคลุกเคล้าให้ทั่ว  ปรุงรสด้วย ซีอิ๊วขาว  ซอสพริก  และน้ำตาลทราย  ชิมรสให้เค็มนำ  เปรี้ยวเผ้ดหวานนิดหน่อย
5 . ใส่ผักต่าง ๆ ลงไปผัดให้สุก  คลุกเคล้าให้เข้ากัน  ตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ
น้ำแครอท น้ำแครอท น้ำแครอท น้ำแครอท น้ำแครอท น้ำแครอท น้ำแครอท
การเตรียม
1 แครอท 2 ถ้วยตวง นำมาปอกเปลือก ล้างให้สะอาด หั่นเป็นแว่นตามขวาง
2 น้ำตาลทรายพอสมควร
3 เกลือป่นเล็กน้อย
4 น้ำสะอาด 3 ลิตร
วิธีทำ
1 นำแครอทที่เตรียมไว้ใส่น้ำต้มจนเดือดสักครู่  ลองหยิบแครอทออกมาดูให้แครอทสุกและนิ่ม  ตักออกทิ้งไว้ให้เย็น
2 นำแครอทมาตำหรือปั่นให้ละเอียด  แล้วใส่ไปในน้ำที่ต้มในครั้งแรก
3 ใส่น้ำตาลทรายพอประมาณ  เกลือป่นเล็กน้อย  รอจนเดือดสักครู่  ชิมรสไม่ต้องหวานมาก  ปิดไฟทิ้งไว้ให้เย็น
4 กรองกากออกด้วยผ้าขาวบาง
5 กรอกน้ำแครอทสีส้มสวยใส่ขวดแช่ตู้เย็น  เก็บไว้กินได้หลายวัน  หรือจะทำรสออกหวานเพื่อใส่น้ำแข็งเวลาดื่มก็ได้
ไม่ควรทำครั้งละมาก ๆ เพราะน้ำแครอทเก็บไว้ได้ประมาร 4-5 วัน
คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด คำวัด
เสนอคำว่า เสนอคำว่า เสนอคำว่า เสนอคำว่า เสนอคำว่า เสนอคำว่า
ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า ผ้าป่า
คือผ้าทีผู้ถวายนำไปวางผาดไว้บนกิ่งไม้เพื่อให้พระชักเอาไปเอง  โดยไม่กล่าวคำถวายหรือประเคนเหมือนถวายของทั่วไป  ที่ชื่อว่าผ้าป่าเพราะถือคติโบราณ  คือสมัยพุทธกาลผ้าหายาก  พระภิกษุต้องแสวงหาผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามป่าช้าบ้าง  ตามทางเดินในป่าบ้าง  มาทำจีวรนุ่งห่ม  คนใจบุญสมัยนั้นจึงนำผ้าไปแขวนไว้ตามต้นไม้ข้างทางที่พระเดินผ่าน  ทำนองว่าทิ้งแล้ว  พระไปพบเข้าจึงหยิบไปทำจีวรโดยถือว่าเป็นผ้าไม่มีเจ้าของ  ผ้าชนิดนั้นเลยเรียกกันว่า ผ้าป่า
กิริยาที่พระหยิบไปใช้แบบนั้น  เรียกว่า ชักผ้าป่า
ทอดผ้าป่า  คือกิริยาที่ถวายผ้าแบบนั้น และนิยมจัดของใช้เป็นบริวารผ้าป่าเหมือนบริวารกฐินด้วย

วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทำบุญตักบาตร

เรื่องของการทำบุญตักบาตรพระนั้นตามธรรมเนียมที่ถูกต้อง  ที่ทำแล้วได้บุญกุศลจริง ๆ ก็คือ  การเลือกสรรอาหารหรือการดูแลอาหารที่ดีสักหน่อย  ตามคำในพระไตรปิฏกที่เคยมีกล่าวไว้ถึงเรื่องการตักบาตรว่า  ถ้าเรากิรอย่างไรเราก็ใส่อย่างนั้น  หรือเรากินอย่างไรตักบาตรพระให้ดีกว่านั้น  มิใช่ว่าเรากินอย่างไรแล้วทำบุญทำทานในสิ่งที่แย่กว่าที่เรากินอยู่หรือเป็นอยู่
ควรจะจัดเตรียมดูแลเรื่องอาหารให้ดี  ถ้าทำอาหารเองที่บ้านก็ต้องเลือกคัดสรรผักที่สะอาดสวยงามไม่ใช่ผักเก่า ๆ เหี่ยว ๆ เลือกเนื้อสัตว์ที่ดี  ไม่ใช่เนื้อสัตว์ที่ใกล้หมดอายุแล้ว  ปรุงอาหารด้วยความสะอาด  ปรุงอาหารให้สุกและร้อน ๆ จัดเตรียมให้เรียบร้อยทั้งของหวานและคาว  ควรมีผลไม้หรือขนมหวานด้วย  แต่ถ้าไม่สะดวกในการทำกับข้าวเอง  การที่จะออกไปซื้อที่ตลาดก็สะดวกดี  แต่ควรจะเลือกอาหารด้วย  ไม่ใช่เห็นเขาเตรียมใส่ถาดให้เราอย่างไร  เราก็ซื้อใส่บาตรไปอย่างนั้น  การเลือกสรรสักนิดก็เป็นการทำบุญอันประณีต  ผลบุญที่ได้ย่อมประณีตไปด้วย  อย่าถือเอาแต่ความง่ายและความสะดวกเป็นสำคัญเลย
แม่ค้าที่ทำอาหารสำหรับตักบาตรเจ้านั้นก็มีความพิถีพิถัน  รู้จักที่จะเปลี่ยนกับข้าว  เปลี่ยนเมนูต่าง ๆ ในแต่ละวัน  แต่บางเจ้าก็เอาง่ายเข้าว่าเช่น  ถ้ามีกับข้าวเมนูนี้ก็มีอยู่ทุกวัน  ลองคิดดูสิว่าเป็นตัวเรา  เรายังจะเบื่อกับข้าวซ้ำ ๆ พระท่านก็ต้องเบื่อเช่นกัน  พยายามเลือกสรรอาหารเมนูใหม่ ๆ กับข้าวที่น่ากินไปถวาย  และทำบุญพระสงฆ์บ้าง  ทีตัวเรายังเลือกกินได้แต่ไฉนเวลาตักบาตรจึงหยิบอะไรก็ได้ตักบาตรให้พระท่านไปเช่นนั้น  ที่จริงแล้วการทำบุญน่าจะประณีตกว่าการเลือกสรรของให้ตนเองด้วยซ้ำ
อย่าลืมเรื่องของดอกไม้ธูปเทียนควรจะมีถวาย
เรื่องของการถวายน้ำเปล่านี่ก็เป็นเรื่องสำคัญ  บางคนคิดว่าหากตักบาตรแล้วไม่ถวายน้ำเปล่าสักหนึ่งขวด  จะเป็นเรื่องผิดบาปกลัวว่าเราตายไปแล้วจะต้องเป็นวิญญานหิวโหยกระหายน้ำ  ที่จริงแล้วการถวายน้ำพระสงฆ์นั้นก็เป็นสิ่งที่ควร  แต่การถวายน้ำคนละขวด ๆ นั้นพระท่านก็จะเป็นภาระตต้องหิ้วน้ำอันหนักอึ้งกลับวัดเป็นสิบ ๆขวด  เพราะพระสงฆ์บางรูปไม่ได้มีลูกศิษย์ลูกหาคอยเดินหิ้วของให้ตามหลัง  ดังนั้นเราควรจะพิจารณาให้ดี  ถ้าเราตักบาตรนอกบ้าน  ตักบาตรที่ตลาดยามเช้าไม่จำเป็นจะต้องถวายน้ำขวดท่านทุกครั้ง  ถ้าพระสงฆ์บางรูปท่านมารูปเดียว  จะต้องหิ้วน้ำขวดเป็นสิบ ๆ ขวดกลับวัดก็คงลำบากกระไรอยู่  อย่าคิดแต่ว่าจะห่วงแต่บุญกุศลที่ตนจะได้  เราต้องทำบุญเพื่อให้ได้กุศลด้วยจิตอันบริสุทธิ์  และมิคาดหวังผลบุญอย่างนั้นถึงจะได้กุศล  อย่าคิดแต่ว่าจะต้องตักบาตรด้วยน้ำ  ถ้าไม่ใส่แล้วเดี๋ยวเราจะเป็นวิญญานที่อดน้ำ  นั้นแสดงว่าเราทำบุญด้วยการเห็นแก่ตัว  เพราะคิดถึงแต่ตัวเราเป้นสำคัญ  ทำบุญอย่างนี้ย่อมไม่ได้มหากุศลกลับคืนมาแน่แท้  แต่จะไ้บุญแค่ความอิ่มเอิบใจ  ได้ความพองฟูในหัวใจเท่านั้น  สรุปแล้วเรื่องของน้ำนี่สามารถถวายน้ำได้แต่ขอให้ดูความเหมาะสมบางสถานการณ์เป็นสำคัญ  ถ้าพระสงฆ์ท่านเดินมาคนเดียวไม่มีลูกศิษย์ก็ไม่จำเป็นต้องใส่น้ำขวดด้วยทุกครั้ง  นอกจากเรื่องของการถวายน้ำเปล่าเป้นขวด ๆแล้ว  เราสามารถที่จะลองไปหาซื้อน้ำผลไม้หรือนมกล่องถวายตักบาตรให้ท่านบ้างก็ได้
ส่วนเรื่องการปฏิบัติตนในขณะตักบาตร  ถ้าสามารถสะดวกก็ให้ถอดรองเท้าแล้วเหยียบบนรองเท้าของเราก็ได้ถ้าพื้นตรงนั้นมันสกปรกมาก  แต่บางคนสวมถุงเท้ารองเท้าเรียบร้อย  ในกรณีผุ้ชายที่เตรียมจะไปทำงานหรือบางคนอาจจะใส่ถุงเท้ารองเท้าผ้าใบ  ถ้าไม่สะดวกจะถอดก็ไม่เป็นไร  ถ้าสะดวกจะถอดก็สามารถจะถอดรองเท้าแล้วยืนด้วยเท้าเปล่าเหยียบบนรองเท้าของเราอีกทีหนึ่งก็ได้
การจะตักบาตรให้ถูกธรรมเนียมพิธีของไทยแต่โบราณนั้นจะต้องกล่าวคาถาคำตักบาตรพระในใจไปด้วย
พระคาถาขณะตักบาตรพระ
" อิทัง  ทานัง  สีละวัน  ตานัง  ภิกขุนัง  นิยาเทมิ  สุทินนัง  วะตะ  เม  ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง  นิพานะปัจจโย  โหตุ "
คำแปล   ข้าพเจ้า  ขอน้อมถวายของตักบาตรเหล่านี้  แด่พระสงฆ์  ผู้มีศีลทั้งหลาย  ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้  จงเป็นปัจจัย  ให้ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ
เมื่อตักบาตรแล้วกลับมาที่บ้านให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล  ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรหรือญาติที่ล่วงลับไปแล้ว  เพื่อเป็นการแบ่งปันอุทิศส่วนกุศลด้วยไม่ใช่เก็บบุญไว้เป็นของตนไว้เพียงผุ้เดียว
แลธรรมเนียมการตักบาตรพระนั้นควรจะใส่บ่อย ๆ เป็นประจำสม่ำเสมอ  บางคนสะดวกที่จะตักบาตรพระทุกเช้าได้ก็เป็นบุญกุศลอันดีแก่ตนหรืออาจจะเลือกตักบาตรเฉพาะทุกวันพระ  หรือทุกวันเกิดตน  เช่น เกิดวันจันทร์ ก็ตักบาตรทุกวันจันทร์ก็ได้  หรือไม่ต้องถือวาระโอกาสใด  สะดวกเมื่อไรก็ตักบาตรอาทิตย์ละ ๓-๔ ครั้งได้จะยิ่งเป็นการสั่งสมบุญกุศลที่ดี
คำถวายดอกไม้ธูปเทียนเพื่อบูชา
อิมานิ  มะยัง  ภันเต  ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ  ระตะนัตตะยัสเสวะ  อะภิปูเชมะ  อัมหากัง  ระตะนัตยัสสะ  ปูชา  ทีฆะรัตตัง  หิตะสุขาวะหา  โหตุ  อาสะวักขะยัปปัตติยา
คำแปล
ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลายผู้เจริญข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาธูปเทียนและดอกไม้อันประเสริฐเหล่านี้  แก่พระรัตนตรัย  กิริยาที่บูชาแก่พระรัตนตรัยนี้จงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนาน  จงเป้นไปเพื่อให้ถึงซึ่งพระนิพพาน  เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะกิเลส  เทอญ ฯ
บุญ  คือเครื่องชำระล้างจิตใจให้สะอาด  เกิดจากการกระทำความดี  หากผู้ใดปรารถนาที่จะได้บุญแล้วละก็  จักต้องเร่งสร้างบุญ  สร้างกุศลเสียตั้งแต่ตอนนี้  เพื่อกักเก็บเป้นเสบียงแห่งความดี  เป็นเกราะป้องกันเหตุเภทภัยให้แคล้วคลาด
ข้าวผัดสับปะรด ข้าวผัดสับปะรด ข้าวผัดสับปะรด
ส่วนประกอบ
ข้าวสวย ๑ ถ้วย           สับปะรด ๑/๒ ถ้วย     หมูสับ ๑/๒      ลูกเกด ๑ ช้อนโต๊ะ   ต้นหอมซอย ๒ ช้อนโต๊ะ  ซีอิ๊วขาว  ๒ ช้อนโต๊ะ  น้ำตาลทราย  ๑ ช้อนชา   น้ำมันพืช    ซอสหอย ๑ ช้อนโต๊ะ   เมล็ดมะม่วงหิมพานต์  หรือถั่วชนิดต่าง ๆ ๒ ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
๑.  นำกระทะตั้งไฟใส่น้ำมันลงไป  พอร้อนแล้วจึงค่อยใส่หมูสับลงไป ผัดให้หมูสุก
๒.  พอหมูสุกจึงค่อยปรุงรสด้วยซอสหอย  ซีอิ๊วขาว  น้ำตาลทรายขาว  ผัดอีกครั้งให้เข้ากัน  ชิมรสให้ออกเค็มหวาน
๓.  เมื่อผัดหมูได้ที่แล้วจึงค่อยใส่ข้าวสวยลงไปผัด  คลุกเคล้าให้ข้าวเข้ากับหมูสับที่ผัดเอาไว้
๔.  จากนั้นจึงใส่สับปะรด  ลูกเกด  เมล็ดมะม่วง  หรือถั่วชนิดต่าง ๆ
๕.  ผัดสักพักจนข้าวแห้ง  ชิมรสอีกหนึ่งครั้งว่าอ่อนเค็ม หรืออ่อนหวาน
๖.  เมื่อชิมรสได้ที่แล้วให้โรยด้วยต้นหอมซอย  คลุกเคล้าให้เข้ากันตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ
น้ำเปล่า ๆ ใส่น้ำยาอุทัยตราหมอมี ใส่น้ำแข็ง หอมเย็นชื่นใจ คลายร้อน ผ่อนกระหาย

วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑

พูดปด  ต้องปาจิตตีย์.   
นิทานต้นบัญญัติ    พระหัตถกะ  ศากยบุตร  สนทนากับพวกเดียรถีย์ปฏิเสธแล้วกลับบ้าน  รับแล้วกลับปฏิเสธ  กล้าพูดปดทั้ง ๆ รู้  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทปรับอาบัติปาจิตตีย์  แก่ภิกษุผู้พูดปดทั้ง ๆ รู้.
อธิบาย    ลักษณะพูดปด
สัมปชานมุสาวาท ( พูดปด ) นั้น   คือรู้ตัวอยู่กล่าวเท็จ  พึงรู้โดยลักษณะอย่างนี้  เรื่องเป็นอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง  แต่ผู้พูดจงใจจะพูดให้คลาดจากความจริง  พูดหรือแสดงอาการอย่างอื่นด้วยเจตนานั้นให้ผู้ฟังเข้าใจเป็นอย่างอื่นจากความจริง  แสดงเพียงกายประโยค  เช่น  เขียนหนังสือ  ก็เข้าในลักษณะนี้.
ลักษณะแห่งอาบัติ
อาบัติในสิกขาบทนี้ เป้นสจิตตกะ ( มีเจตนา ) คือ ตั้งใจพูดเท็จ  จึงจะเป็นอาบัติ  ไม่ตั้งใจพูดเท็จ  ไม่เป็นอาบัติ  รับคำของเขาด้วยจิตบริสุทธิ์แล้ว  ภายหลังไม่ได้ทำตามรับนั้น  เรียกปฏิสสวะ ( ฝืนคำที่รับปากเขาไว้ ) ปรับทุกกฏ.
ข้าวหมูทอดซอสกะหรี่ข้าวหมูทอดซอสกะหรี่
ส่วนประกอบหมูทอด
เนื้อหมูสันนอกแล่ชิ้นใหญ่      ไข่ไก่     แป้งมัน    เกล็ดขนมปังป่น
วิธีทำ
๑.   นำเนื้อหมูมาคลุกกับแป้งมันให้ทั่วทั้งชิ้น  แป้งไม่ต้องหนา  เอาแค่บาง ๆ พอ
๒.   เตรียมตอกไข่ใส่จาน  แล้วตีให้ไข่ขาวกับไข่แดงเข้ากัน  นำเกล็ดขนมปังใส่จาน
๓.   นำหมูมาชุบไข่ให้ทั่ว  แล้วนำไปคลุกเกล็ดขนมปัง  พักเอาไว้
๔.   นำกระทะใส่น้ำมันสำหรับทอดหมู  พอน้ำมันร้อนจึงค่อยนำหมูลงทอด  ทอดจนหมูสุก   แป้งเหลืองกรอบ  แล้วตักขึ้นพักเอาไว้  บนกระดาษซับน้ำมัน
ส่วนประกอบซอสกะหรี่
ผงกะหรี่หรือกะหรี่ก้อน    เนย    มันฝรั่ง   หอมหัวใหญ่    โยเกิร์ตรสธรรมชาติ    เกลือ   น้ำตาลทราย
วิธีทำ
๑.  นำเนยใส่หม้อ  ตั้งไฟอ่อน  ผัดเนยให้ละลาย   จากนั้นจึงค่อยใส่หอมหัวใหญ่   และมันฝรั่งลงไปผัด   ผัดแค่พอหอมหัวใหญ่สุกใส
๒.  เติมน้ำลงไป   เร่งไฟรอให้เดือด  แล้วจึงค่อยใส่ผงกะหรี่  หรือกะหรี่ก้อนลงไป  ลดไฟลงจนเหลือไฟกลาง   แล้วเคี่ยวจนกว่าหอมหัวใหญ่และมันฝรั่งสุกจนนิ่ม
๓.   ปรุงรสด้วยเกลือ  และน้ำตาลทราย  ชิมรสให้เค็ม ๆ หวาน ๆ แล้วจึงค่อยใส่โยเกิร์ตลงไปเคี่ยวต่ออีกสักครู่จนข้น
วิธีเสิร์ฟ
ตักข้าวสวยใส่จาน  หั่นหมูทอดเป็นชิ้นพอคำ  แล้วจึงค่อยตักซอสกะหรี่ราดลงไป  พร้อมเสิร์ฟ

วันนี้มี คำวัด ดังนี้

บุคลิกทาน   หมายถึงทานที่ถวายจำเพาะเจาะจงผู้รับ  ได้แก่  ทานที่ผู้ถวายมุ่งถวายภิกษุรูปนั้นรูปนี้โดยเฉพาะ
บุคลิกทาน   เรียกเต็มว่า  ปาฏิบุคลิกทาน เรียกสั้น ๆว่า บุคลิก ก็มี  เช่นพูดว่า
"  กระผมขอถวายของพระวัดนี้  ๙  ที่  ขอถวายบุคลิก  ๒  ที่คือเจ้าอาวาสกับพระเลขา "
บุคลิกทาน  ใช้คู่กับ  สังฆทาน  คือทานที่ถวายไม่จำเพาะเจาะจงผู้รับ
สังฆทาน
" วันนี้ฉันไปถวายสังฆทานที่วัดมา  ขอแบ่งบุญให้เธอด้วยนะ "
สังฆทาน  ในคำพูดข้างต้นหมายถึงทานที่ตั้งใจถวายแก้สงฆ์หรือผู้แทนของสงฆ์  ไม่จำเพาะเจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง  หากถวายโดยเจาะจงเรียกว่า  บุคลิกทาน 
ท่านว่าสังฆทานมีอานิสงส์มากกว่าบุคลิกทาน  เพราะผู้ถวายมีจิตใจที่กว้างขวาง  ไม่คับแคบไม่เจาะจงว่าจะเป็นภิกษุรูปใด  เป็นการแสดงถึงความตั้งใจจะถวายด้วยศรัทธาอันเป็นสาธารณะ
การทำบุญเลี้ยงพระในงานต่าง ๆ การไปทำบุญตักบาตรที่วัด  การใส่บาตรพระที่เดินบิณฑบาต  หากไม่เจาะจงพระ  นับว่าเป็นสังฆทานทั้งสิ้น
น้ำลำใยน้ำลำใยน้ำลำใยน้ำลำใยน้ำลำใยน้ำลำใย
การเตรียม   ๑. ลำใยแห้ง ๑ ขีด   ๒. น้ำตาลทราย พอสมควร   ๓. น้ำสะอาด
วิธีทำ     ๑. ต้มน้ำใส่หม้อจนเดือดสักครู่     ๒. ใส่ลำใยแห้งลงไป  พอเดือดคนให้ลำใยไม่เกาะกัน      ๓. เติมน้ำตาลทราย  คนให้ละลาย  ยกลงทิ้งไว้ให้เย็น     ๔. เทใส่ภาชนะใหม่เพราะก้นหม้อจะมีตะกอนของน้ำน้ำตาลทรายและเศษลำใยเล็กไม่น่าดื่ม     ๕. เวลาใส่น้ำแข็งทุบละเอียด  หรือใส่ขวดเก็บไว้ในตู้เย็นได้หลายวัน

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พุทธกิจ

พุทธกิจ   หมายถึงกิจวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญประจำวัน  มี ๕  อย่าง  คือ
๑.  เวลาเช้า  เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์
๒.  เวลาเย็น ทรงแสดงธรรม
๓.  เวลาค่ำ   ทรงประทานโอวาทแก่พระภิกษุ
๔.  เวลาเที่ยงคืน  ทรงตอบปัญหาเทวดา
๕.  เวลาเช้ามืด     ทรงตรวจดูสัตวืโลกที่ควรเสด็จไปโปรด
พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจ  ๕  ประการนี้เป็นกิจวัตรประจำวันมิได้ว่างเว้น  ตลอด  ๔๕ พรรษา
รสร้อนแรงแกงใต้รสร้อนแรงแกงใต้รสร้อนแรง
คั่วกลิ้งหมูคั่วกลิ้งหมูคั่วกลิ้งหมูคั่วกลิ้งหมู
ส่วนประกอบ
หมูหั่นชิ้น  ๒  ถ้วย     พริกแกงเผ็ด  ๒  ช้อนโต๊ะ     ขมิ้นซอย  ๑  ช้อนโต๊ะ   กะปิ   ๑/๒  ช้อนโต๊ะ   ตะไคร้ซอย  ๑ ช้อนโต๊ะ   ใบมะกรูดซอย  ๑  ช้อนโต๊ะ  น้ำปลา  ๑  ช้อนโต๊ะ   น้ำตาล  ๑  ช้อนชา
วิธีทำ
๑.  เตรียมพริกแกง  โดยการนำพริกแกงเผ็ด  ขมิ้นซอย  กะปิ  ไปโขลกให้เข้ากัน  พักเอาไว้
๒. นำกระทะตั้งไฟ  ใส่น้ำลงไปนิดหน่อย  จากนั้นจึงค่อยใส่พริกแกงที่เตรียมไว้ลงไปผัดให้หอม
๓. เมื่อพริกแกงเริ่มหอมแล้วจึงค่อยใส่หมูลงไปผัด  ผัดไปจนกว่าหมูจะสุก
๔. เมื่อหมูสุกดีจึงค่อยปรุงรสด้วยน้ำปลา  และน้ำตาลทรายนิดหน่อยชิมให้มีรสชาติเค็มนำ  และผัดต่อไปจนกว่าจะแห้ง
๕. เมื่อหมุและเครื่องแกงเริ่มแห้งจึงค่อยใส่ตะไคร้ซอย  และใบมะกรูดซอยลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน  จึงพร้อมเสิร์ฟ
เวลาเสิร์ฟควรเสิร์ฟพร้อมกับผักสด  เช่นแตงกวา  ถั่วฝักยาว  เพื่อช่วยลดความเผ็ด
น้ำเก๊กฮวยน้ำเก๊กฮวยน้ำเก๊กฮวยน้ำเก๊กฮวย
การเตรียม
๑.  ดอกเก๊กฮวยแห้ง  ๓  หยิบมือ
๒. ใส่ดอกเก๊กฮวยแห้งลงไปต้มสักครู่  จนได้น้ำสีเหลืองอ่อน ๐
๓. ใส่น้ำตาลทรายแดง  พอละลายยกลง  จะได้มีน้ำสีเข้มขึ้น  จากนั้นกรองเอาเศษผงและดอกเก๊กฮวยออกด้วยผ้าขาวบาง  จะได้น้ำใสสีเหลืองสวย
๔. ดื่มในขณะอุ่น ๐ หลังรับประทานอาหารก็ได้  หรือมส่ขวดแช่ตู้เย็น  ดื่มในยามกระหายหรืออ่อนเพลีย  ช่วยให้รู้สึกสดชื่นทันที

คำวัด เสนอคำว่า วัฏฏะ-วัฏสังสาร

วัฏฏะ  แปลว่า  วงกลม,  การหมุนเวียนไปเป็นวงกลม  ใช้หมายถึงการหมุนเวียนไปด้วยอำนาจกิเลส  กรรม  และวิบาก  คือเมื่อยังมีกิเลสก็เป็นเหตุให้ทำกรรม  เมื่อทำกรรมก็ต้องได้รับวิบากคือผลกรรม  เมื่อเสวยวิบากอยู่ก็เกิดกิเลสอีก  เมื่อเกิดกิเลสก็ทำกรรมอีก  หมุนเวียนเป็นวงจรอย่างนี้เรื่อยไป  เรียกวงจรนี้ว่า  วัฏจักร
การหมุนเวียนไปอย่างนี้ทำให้เจ้าของกิเลสกรรม  วิบากนั้ันต้องเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จบ  เรียกการเวียนว่ายตายเกิดอย่างนี้ว่า  วัฏสงสาร  หรือ  สังสารวัฏ
การเวียนว่ายตายเกิดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ร่ำไป  เรียกทุกข์เพราะวัฏฏะอย่างนี้ว่า  วัฏทุกข์
การตัดกิเลสได้เด็ดขาดเป็นการตัดวงจรของวัฏฏะได้เด็ดขาด  ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก
แกงเหลืองปลา
ส่วนประกอบ       
เนื้อปลา  ๒  ถ้วย
กะปิเผา  ๑  ช้อนโต๊ะ
ขมิ้น       ๑  ช้อนโต๊ะ
พริกแกงส้ม    ๑  ช้อนโต๊ะ
หน่อไม้เปล้ยว ๒ ถ้วย
น้ำปลา           ๔ ช้อนโต๊ะ
น้ำมะขามเปียก ๒ ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว         ๑  ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลปึก        ๑ ช้อนชา
วิธีทำ
๑.  นำพริกแกงส้ม  กะปิ  ขมิ้น  โขลกเข้าด้วยกันจนเป็นเนื้อเดียวกัน
๒.  นำน้ำใส่หม้อประมาณ ๑/๓  ของหม้อ  จากนั้นจึงละลายพริกแกงที่ได้เตรียมเอาไว้  และตั้งไฟรอให้เดือด
๓.  เมื่อน้ำเดือดจัดจึงค่อยใส่เนื้อปลาลงไปต้ม  รอให้เดือดอีกหนึ่งครั้ง
๔.  เมื่อน้ำเดือดจึงค่อยใส่หน่อไม้ดองลงไป  พร้อมทั้งเริ่มทำการปรุงรสด้วนน้ำมะขามเปียก  น้ำมะนาว  น้ำปลา  และน้ำตาลปึก  ชิมรสให้เปรี้ยวนำ  เค็มตาม  หวานนิดหน่อย
๕.  ต้มต่อไปอีกประมาร  ๑๐  นาที  เพื่อให้น้ำแกงเข้มข้น  จากนั้นดับไฟแล้วจึงตักเสิร์ฟ
น้ำชามะนาว
การเตรียม
๑.  ผงชาสำเร็จรูป ใส่ผงชาในถุงผ้าสำหรับชงประมาณ ๓ ช้อนโต๊ะ โดยชงกับน้ำเดือด
๒. น้ำตาลทราย พอสมควร แล้วแต่ชอบ
๓. มะนาว
ฝามนเป็นชิ้นบาง ๆ ตามขวางผล ใช้ประมาร ๒ ชิ้น
วิธีทำ
๑. ชงชาสำเร็จรูปที่เตรียมไว้กับน้ำต้มเดือดใหม่ ๆ ให้ได้ประมาร ๑ แก้ว ความเข้มข้นพอสมควร
๒. ใส่น้ำตาลทราย คนให้ละลาย ชิมรสออกหวานตามชอบ
๓. บีบมะนาวลงไป ๑ ชิ้น หรือจะใช้มะนาวที่ฝานเตรียมไว้ใส่ลงไปเลยก็ได้
จะได้รสหอมของมะนาว และหวานสดชื่นของน้ำชา ถ้าต้องการนำมาใส่น้ำแข้งทุบละเอียด ให้ชงรสออกหวานสักหน่อย
  

โภชนปฏิสังยุต

ความประพฤติที่เหมาะสมเนื่องด้วยการฉันภัตตาหาร
ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า" เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ" "เมื่อรับบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร" เราจักรับแกงพอสมควรแก่้าวสุก" " เราจักรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร" " เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ" " เมื่อฉันบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร" " เราจักฉันไม่ขุดข้าวสุกให้แหว่ง" " เราจักฉันแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก" " เราจักฉันไม่ขยุ้มข้าวสุกแต่ยอดลงไป" " เราจักไม่กลบแกงหรือกับข้าวด้วยข้าวสุกเพราะอยากจะได้มาก" " เราไม่เจ็บไข้ จักไม่ขอแกงหรือข้าวด้วยข้าวสุกเพื่อประโยชนืแก่ตนมาฉัน" " เราจักไม่ดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ" ดราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก" " เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม" " เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก เราจักไม่อ้าปากไว้ท่า" " เมื่อฉันอยู่ เราจักไม่เอานิ้วมือสอดเข้าปาก" " เมื่อข้าวอยู่ในปาก เราจักพูด" "เราจักไม่โยนคำข้าวเข้าปาก" " เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว" " เราจักไม่ฉันไม่กะพุ้งแก้มให้ตุ่ย" "เราจักไม่ฉันพลาง สะบัดมือพลาง" "เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าวให้ตกลงในบาตร หรือในที่นั้น ๆ" " เราจักไม่ฉันแลบลิ้น" " เราจักไม่ฉันดังจับ ๆ" เราจักไม่ฉันดังซุด ๆ" "เราจักไม่ฉันเลียมือ " " เราจักไม่ฉันขอดบาตร" " เราจักไม่ฉันเลีนริมฝีปาก" " เราจักไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ" " เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน"

วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เส้นเล็กเส้นใหญ่และไม่มีเส้น" ก๋วยเตี๋ยว"

ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ
ส่วนประกอบ  เส้นใหญ่ / ผักบุ้งลวก / ลูกชิ้นปลา / ลูกชิ้นปลาทอด ( แฮ่กึ๊น ) / ปลาหมึกกรอบ / เต้าหู้ทอด / เลือดหมูต้ม / ดห็ดหูหนูขาว / ต้นหอม / ผักชีซอย / น้ำมันกระเทียมเจียว
ซอสเย็นตาโฟปลอดสารพิษ
ส่วนประกอบ เต้าหู้ยี้แดงพร้อมน้ำประมาณ 5-7 ก้อน
ซอสมะเขือเทศ 1/4ถ้วย      เนื้อและน้ำกระเทียมดอง 1/2    พริกชี้ฟ้าแดงเอาเมล็ดออก 5 เม็ด     น้ำส้มสายชู 1/4 ถ้วย    น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำซอสเย็นตาโฟ
1. นำเต้าหู้ยี้  ซอสมะเขือเทศ  เนื้อกระเทียมดอง   พริกชี้ฟ้าแกะเมล็ด  น้ำส้มสายชู  น้ำเปล่า  และน้ำตาลทราย  มาใส่ลงในเครื่องปั่นอาหาร  ปั่นจนทุกอย่างละเอียดเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
2. นำส่วนผสมที่ปั่นละเอียดดีแล้วเทลงในหม้อ  ตั้งไฟอ่อนเคี่ยวจนเดือด  ชิมรสให้เค็มนำ  เปรี้ยวตาม  หวานนิดหน่อย  หอมกระเทียม กลมกล่อม  ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วตักใส่ขวดโหล  สามารถเก็บไว้ใช่ได้นาน
วิธีทำ
1. ลวกลูกชิ้นปลา  ลูกชิ้นปลาทอด ( แฮกึ๊น ) ปลาหมึกกรอบ เลือดหมูต้ม  เห็ดหูหนูขาว  และเต้าหู้ทอดเตรียมเอาไว้
2. ลวกเส้นและผักบุงใส่ชาม  จากนั้นจึงค่อยใส่เครื่องต่าง ๆ ที่ลวกแล้วลงไป
3. ใส่น้ำมันซอสกระเทียมเจียว  โรยด้วยต้นหอม  ผักชีซอย  และใส่น้ำมันซอสเย็นตาโฟ
4. เติมน้ำซุปแค่พอท่วมเส้น  พร้อมเสิร์ฟ
น้ำชาจีน น้ำชาจีน น้ำชาจีน น้ำชาจีน น้ำชาจีน
การเตรียม การเตรียม การเตรียม การเตรียม
1.  ใบชาจีน   2 ช้อนโต๊ะ
2.  น้ำสะอาด  1-1 1/2 ลิตร
วิธีทำ วิธีทำ วิธีทำ วิธีทำ วิธีทำ วิธีทำ วิธีทำ วิธีทำ
1. ต้มน้ำให้เดือดสักครู่  ยกลงจากเตา
2. ใส่ใบชาจีนลงไปแช่ทิ้งไว้สักครู่  ใบชาจะทำให้น้ำเป็นสีน้ำตาลออ่น  ถ้าชอบแก่ ๆ รสเข้มข้นให้แช่ทิ้งไว้นานสักหน่อย
3.  กรองใบชาทิ้ง  ใส่ภาชนะไว้ดื่มนาน ๆ
4.  ใช่ดื่มในขณะร้อนหรือเย็นก็ได้
5.  ถ้าชอบดื่มร้อนและดื่มบ่อย  ให้ห่อใบชาด้วยผ้าขาวบาง  เย็บปิดด้วยด้าย  หรือใส่กรวยกรองใบชา  แช่ทิ้งไว้ในกาน้ำเลย รินดื่มครั้งต่อครั้ง  ถ้าเย็นอุ่นไฟให้ร้อน  หากสีของน้ำอ่อนลง  ทิ้งใบชาและเปลี่ยนใบชาใหม่ได้
.--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภิกษุดื่มน้ำเมา   ต้องปาจิตตีย์
นิทานต้นบัญญัติ        พระสาคตะ ปราบนาค ( งูใหญ่ ) ของพวกชฏิลได้  ชาวบ้านดีใจปรึกษากันว่าจะถวายอะไรดีที่หาได้ยาก  ภิกษุฉัพพัคคีย์   แนะให้ถวายเหล้าใส  สีแดงดั่งเท้านกพิราบ  ชาวบ้านจึงเตรียมเหล้าแดงไว้และถวายให้พระสาคตะดื่ม  พระสาคตะเมานอนอยู่ที่ประตูเมือง  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้าภิกษุดื่มสุรา ( น้ำเมาที่กลั่น ) และเมรัย ( น้ำเมาที่หมักหรือดอง ) ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.
อธิบาย    ลักษณะน้ำเมา
๑. เมรัย  ได้แก่น้ำอันมีรสหวานทุกอย่างที่เป็นเอง  เช่นน้ำตาลแดง  แต่เมื่อล่วงเวลาแล้ว  รสหวานนั้นกลายเป้นรสเมา
๒. สุรา   ได้แก่เมรัยที่เขากลั่นสกัด  เพื่อให้รสเมาแรงขึ้น
ลักษณะแห่งอาบัติ    อาบัติในสิกขาบทนี้  เป็นอจิตตกะ ( คือไม่มีเจตนา  สำคัญว่ามิใช่น้ำเมาดื่มเข้าไป  ก็คงเป็นอาบัติ ) เพราะไม่มีคำบ่งเจตนา  ไม่เหมือนสิกขาบทของสามเณรและของคฤหัสถ์.
ข้อยกเว้น
๑. ของที่มิใช่เป็นน้ำเมา  แต่มีสี  กลิ่น  รส  ดุจน้ำเมา  เช่นยาดอง บางอย่าง  ไม่เป็นวัตถุแห่งอาบัติ
๒. น้ำเมาทีเจือในแกงในเนื้อหรือในของอืน เพื่อชูรสหรือกันเสีย  ไม่ถึงกับเป็นเหตุเมา  ชื่อว่าเป็นอัพโพหาริก ( ไม่ต้องพูดถึงคือ  บอกไม่ได้ว่ามี, มีแต่ไม่ปรากก ) ฉันหรือดื่มของเช่นนั้นไม่เป็นอาบัติ.


เส้นใหญ่ก๋วยเตี๋ยวเเย็นตาโฟ

ส่วนประกอบ   เส้นใหญ่  ผักบุ้ง  ลูกชิ้นปลา  ลูกชิ้นปลาทอด(แฮ่กึ๊น)  ปลาหมึกกรอบ  เต้าหู้ทอด  เลือดหมูต้ม  เห็ดหูหนูขาว     ต้นหอม  ผักชีซอย  น้ำมันกระเทียมเจียว
ซอสเย็นตาโฟปลอดสารพิษ
ส่วนประกอบ   เต้าหู้ยี้แดงพร้อมน้ำประมาณ  ๕-๗  ก้อน     ซอสมะเขือเทศ  ๑/๔ ถ้วย    เนื้อและน้ำกระเทียมดอง ๑/๒ ถ้วย   พริกชี้ฟ้าแดงเอาเมล็ดออก ๕ เมล็ด   น้ำส้มสายชู ๑/๔ ถ้วย  น้ำเปล่า ๑/๔ ถ้วย   น้ำตาล ๑ ช้อนโต๊ะ
วิธีทำซอสเย็นตาโฟ   
๑.  นำเต้าหู้ยี้  ซอสมะเขือเทศ  เนื้อกระเทียมดอง  พริกชี้ฟ้าแกะเมล็ด  น้ำส้มสายชู  น้ำเปล่า  และน้ำตาลทราย  มาใส่ลงในเครื่องปั่นอาหาร  ปั่นจนทุกอย่างละเอียดเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
๒.  นำส่วนผสมที่ปั่นละเอียดดีแล้วเทลงในหม้อ  ตั้งไฟอ่อนเคี่ยวจนเดือด  ชิมรสให้เค็มนำ  เปรี้ยวตาม  หวานนิดหน่อย  หอมกระเทียมกลมกล่อม  ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วตักใส่ขวดโหล  สามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน
วิธีทำ
๑.  ลวกลูกชิ้นปลา  ลูกชิ้นปลาทอด (แฮ่กึ๊น ) ปลาหมึกกรอบ  เลืดอหมูต้ม  เห็ดหูหนูขาว  และทอดเต้าหูทอดเตรียมไว้
๒. ลวกเส้นและผักบุ้งใส่ชาม  จากนั้นจึงค่อยใส่เครื่องต่าง ๆ ที่ลวกลงไป
๓. ใส่น้ำมันกระเทียมเจียว  โรยด้วยต้นหอม  ผักชีซอย  และใส่น้ำซอสเย็นตาโฟ
๔. เติมน้ำซุปแค่พอท่วมเส้น  พร้อมเสิร์ฟ
น้ำชาจีน
การเตรียม
๑.  ใบชาจีน  ๒ ช้อนโต๊ะ
๒.  น้ำสะอาด   ๑- ๑  ๑/๒  ลิตร
วิธีทำ
๑.  ต้มน้ำให้เดือดสักครู่  ยกลงจากเตา
๒.  ใส่ใบชาจีนลงไปแช่ทิ้งไว้สักครู่  ใบชาจะทำให้น้ำเป็นสีน้ำตาลอ่อน  ถ้าชอบแก่ ๆ  รสเข้มข้นทิ้งไว้นานกว่าสักหน่อย
๓.  กรองใบชาทิ้ง  ใส่ภาชนะไว้ดื่มนาน ๆ
๔.  ใช้ดื่มในขณะร้อนหรือเย็นก็ได้
ถ้าชอบดื่มร้อนและดื่มบ่อย  ให้ห่อใบชาด้วยผ้าขาวบาง  เย็บปิดด้าย  หรือใส่กรวยกรองใบชา  แช่ทิ้งไว้ในกาน้ำเลย  รินดื่มครั้งต่อครั้ง  ถ้าเย็นอุ่นไฟให้ร้อน  หากสีของน้ำอ่อนลง  ทิ้งใบชาและเปลี่ยนใบชาใหม่ได้
ภิกษุดื่มน้ำเมา  ต้องปาจิตตีย์
นิทานต้นบัญญัติ      พระสาคตะ  ปราบนาค ( งูใหญ่ )  ของพวกชฏิลได้  ชาวบ้านดีใจปรึกษากันว่าจะถวายอะไรดีที่หาได้ยาก  ฉัพพัคคีย์  แนะให้ถวายเหล้าใส  สีแดงดั่งสีเท้านกพิราบ  ชาวบ้านจึงเตรียมเหล้าแดงไว้และถวายให้พระสาคตะดื่ม  พระสาคตะเมานอนอยู่ที่ประตูเมือง  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุดื่มสุรา ( น้ำเมาที่กลั่น ) และเมรัย ( น้ำเมาที่หมักหรือดอง ) ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด
อธิบาย   ลักษณะน้ำเมา
๑.  เมรัย  ได้แก่น้ำอันมีรสหวานทุกอย่างที่เป็นเอง  เช่น  น้ำตาล  แต่เมื่อล่วงเวลาแล้ว  รสหวานนั้นกลายเป็นรสเมา
๒.  สุรา  ได้แก่เมรัยที่เขากลั่นสกัด  เพื่อให้รสเมาแรงขึ้น
ลักษณะแห่งอาบัติ
อาบัติในสิกขาบทนี้  เป้นอจิตตกะ ( คือไม่มีเจตนา สำคัญว่ามิใช่น้ำเมาดื่มเข้าไป  ก็คงเป็นอาบัติ) เพราะไม่มีคำบ่งเจตนา ไม่เหมือนสิกขาบทของสามเณรและของคฤหัสถ์.
ข้อยกเว้น
๑. ของที่มิใช่เป็นน้ำเมา  แต่มีสี กลิ่น รส  ดุจน้ำเมา  เช่นยาดองของบางอย่าง  ไม่เป็นวัตถุแห่งอาบัติ
๒. น้ำเมาที่เจือในแกงในเนื้อหรือในของอื่น  เพื่อชูรสหรือกันเสีย  ไม่ถึงกับเป็นเหตุเมา  ชื่อว่าอัพโพหาริก (ไม่ต้องพูดถึงคือ  บอกไม่ได้ว่ามี, มีแต่ไม่ปรากฏ ) ฉันหรือดื่มของเช่นนั้นไม่เป็นอาบัติ